Executive Summary
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 57 ค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 2.27 ล้านล้านบาท
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,650.1พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.5 ของ GDP
- อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย. 57 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราว่างงานสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 57 ลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี 2 เดือน ที่ร้อยละ 5.9 ของกำลังแรงงานรวม
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีน เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 53.5 จุด
- ยอดค้าปลีกสหภาพยุโรป เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ยอดค้าปลีกอินโดนีเซีย ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 21.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการสหราชอาณาจักร เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 58.7 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมฮ่องกง เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดยรวมอินเดีย เดือน ส.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 51.8 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Sep : API (%yoy) 1.5 2.1
- ตามการลดลงของข้าวนาปรัง ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปี อย่างไรก็ดี ผลผลิตยางพารา คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 57 ค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 2.27 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่อและเงินฝากในเดือนดังกล่าวยังคงขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 5.9 และ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงินมีการระดมทุนผ่านผลิตภัณฑ์เงินฝากเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 57 โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน จากความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีกว่าช่วงครึ่งแรกของปี กอปรกับนโยบายสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่ส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,650.1 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 3.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.5 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงสุทธิ 5.1 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 20.0 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายตามสัญญาเงินกู้มากกว่าชำระคืนจำนวน 16.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 97.2 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.6 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- การจ้างงานเดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ 38.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 2.3 แสนคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาขาที่ปรับเพิ่มขึ้นมาจากการจ้างงานภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และการจ้างงานภาคเกษรตรที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรก ในขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมยังคงส่งสัญญานลดลงตามการชะลอตัวของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้การจ้างงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 ยังคงหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.6 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.10 แสนคน
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย.57 มีจำนวน 153,889 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.4 โดยยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคและยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม. หดตัวร้อยละ -2.2 และร้อยละ -5.0 ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.1 และร้อยละ -9.7 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่ค่อนข้างต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี จากการที่ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ยังหดตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรยังคงหดตัวลงเช่นกัน และส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -16.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน ก.ย. 57 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ตามการลดลงของข้าวนาปรัง ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปี อย่างไรก็ดี ผลผลิตยางพารา คาดว่าจะ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
Global Economic Indicators: This Week
ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 ขาดดุล 40.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าจากการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการนำเข้า โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนที่ขยายตัวชะลอลง และหากพิจารณารายสินค้าพบว่า การส่งออกหมวดรถยนต์และส่วนประกอบ และอาหารและเครื่องดื่มชะลอลง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.6 จากการนำเข้าน้ำมันดิบที่หดตัวเร่งขึ้น และการนำเข้ารถยนต์และส่วนประกอบ อาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ย. 57 เพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง โดยเป็นผลหลักมาจากการจ้างงานในภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นถึง 236,000 ตำแหน่ง จากตำแหน่งงานในภาคบริการธุรกิจ ค้าปลีก และ บริการสุขภาพเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ทำให้อัตราว่างงาน เดือน ก.ย. 57 ลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี 2 เดือน ที่ร้อยละ 5.9 ของกำลังแรงงานรวม โดยอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานอยู่ที่ร้อยละ 62.7 ของประชากรกลุ่มกำลังแรงงาน ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 ปรับลดลงมาที่ระดับ 58.6 จุด จากระดับ 59.6 จุดในเดือนก่อน จากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ดัชนีราคา และดัชนียอดคงค้างที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 53.5 จุด ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 54.1 จุดในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนภาคบริการของจีนที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะมีสัญญาณแผ่วลงเล็กน้อย
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนโดยกลับมาขยายตัวร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า(ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 52.0 จุด โดยปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ต่อเนื่อง สะท้อนภาคการผลิตที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.4 จุด จากระดับ 53.1 ในเดือนก่อน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 58.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 60.5 จุด ในเดือนก่อน แต่ยังคงถือว่าอยู่ในระดับสูง สะท้อนภาคบริการของสหราชอาณาจักรที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน จากการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 21.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากยอดขายอุปกรณ์สื่อสารที่ขยายตัวร้อยละ 43.7 เป็นสำคัญ
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากการส่งออกไปยังคู่ค้าสำคัญทุกประเทศยกเว้นจีน ที่ขยายตัวเร่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปสิงคโปร์และญี่ปุ่นที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.5 และ 10.3 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.7 จากการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งที่ขยายตัวร้อยละ9.9 โดยสรุป ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 เกินดุล 3.9 พันล้านริงกิต
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.4 อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่คิดเป็นร้อยละ 41.6 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 10.0 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.9 จากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 7.4 เป็นสำคัญ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 49.6 จุด ในเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนการผลิตภาคอุตสาหกรรมของฮ่องกงที่อยู่ในสภาวะซบเซาติดต่อกันตั้งแต่ต้นปี
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดยรวม เดือน ส.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 51.8 จุด เนื่องจากการผลิตในภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคบริการที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สอดคล้องกับดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ย. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 51.6 จุด จากระดับ 50.6 ในเดือนก่อน เนื่องจากดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจและดันชีผลผลิตสินค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญโดยเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจในภาคโทรคมนาคมและไปรษณีย์เพิ่มขึ้นมาก
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 9.6 ในเดือนก่อนซึ่งได้รับอานิสงส์จากการส่งออกชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 57 มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 14.1 ในเดือนก่อน แต่ยังคงถือว่าขยายตัวได้ในอัตราสูง ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 57 มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.7 จากไตรมาสก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อน ดุลการค้า เดือน ก.ย. 57 เกินดุล 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน โดยเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเป็นสำคัญ
- ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์และกลับมาปิดที่ 1,560.61 จุด ในวันที่ 9 ต.ค. 57 ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 47,251 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนรายย่อย ทั้งนี้ ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวล จากผลการประชุม FOMC เมื่อเดือน ก.ย. 57 ที่เผยแพร่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้มว่า Fed จะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วๆ นี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 9 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 1,039.9 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 เดือนขึ้นไป ปรับลดลง 0 - 9 bps เป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury จากการคลายความกังวลดังกล่าว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 9 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 857.5 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทคงที่ โดย ณ วันที่ 9 ต.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.02 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักและในภูมิภาค ยกเว้นค่าเงินวอนเกาหลีที่อ่อนค่าลงเล็กน้อย ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.15 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 9 ต.ค. 57 ปิดที่ 1,223.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,206.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th