Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในปีงบประมาณ 57 ได้จำนวน 2,073.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.1 จากปีก่อน
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยเดือน ก.ย.57 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.86 ล้านคน หดตัวร้อยละ -7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนก.ย. 57 หดตัวร้อยละ -3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ที่หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -9.6
- ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ก.ย. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกจีน เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 57 กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.2
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เดือน ส.ค. 57 (ตัวเลขonปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -1.9 จากเดือนก่อนหน้า
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป เดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Sep : TISI (Index) 89.0 88.7
- เนื่องจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งคาดว่าจะสามารถผลักดันนโยบายและมาตรการที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกจากนี้ พบว่ายอดขอรับส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่าเงินลงทุนในเดือน ก.ย. 57 สูงถึง 176,300 ล้านบาท (สูงสุดในรอบปี) สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เริ่มส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยเดือน ก.ย.57 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.86 ล้านคน หรือหดตัวร้อยละ -7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (mo-m SA) โดยเป็นนักท่องเที่ยวในกลุ่มเอเชียใต้ และแอฟริกาใต้ที่กลับมาขยายตัว ขณะที่นักท่องเที่ยวในกลุ่มอื่นๆ ยังคงหดตัว โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อาเซียน และยุโรป ทั้งนี้ ไตรมาสที่ 3/57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.85 ล้านคน ยังคงหดตัวร้อยละ -10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (q-o-q SA) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศเพิ่มขึ้น
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในปีงบประมาณ 57 ได้จำนวน 2,073.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.1 จากปีก่อน และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 201.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ -8.8 โดยมีรายการสำคัญดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -4.5 จากปีก่อน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -3.8 จากปีก่อน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -6.0 จากปีก่อน ตามการปรับลดอัตราภาษี และ (2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 จากปีก่อน สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และภาษีจากการนำเข้าจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -3.5 จากปีก่อน ตามมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -4.4 จากปีก่อน ทั้งนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี งปม. 57 (ต.ค. 56 - ส.ค. 57) ได้จำนวน 1,881.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.3 จากปีก่อน
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนก.ย.57 มีมูลค่า 55.61 พันล้านบาท หรือขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.9 ตามการกลับมาขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่ร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -8.2 สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.1 เท่ากับเดือนก่อน ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกปี 57 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.ย. 57 กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกของปี 57 ที่ร้อยละ 16.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -13.6 (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 19.8 จากเดือนก่อนหน้า) เป็นผลมาจากการเร่งจัดทำภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ก่อนที่จะมีมาตรการภาษีใหม่ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ ภาษีมรดก และภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 57 สอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติในการก่อสร้างรวมในเดือน ส.ค. 57 (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน) ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -20.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนก.ย. 57 หดตัวร้อยละ -3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.2 ตามการลดลงของผลผลิตข้าว ที่ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปี ทำให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 สอดคล้องกับผลผลิตข้าวโพดและยางพาราที่ผลผลิตหดตัวลง เนื่องจากมีการเร่งเก็บเกี่ยวไปแล้วในช่วงก่อนหน้า และฝนตกชุกหนาแน่นในเขตภาคใต้ทำให้เกษตรกรกรีดยางพาราไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะไก่เนื้อ จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีรายงานสถานการณ์โรคระบาด ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนก.ย. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.5ตามราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากอุปทานทั้งในประเทศและตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุปสงค์ค่อนข้างทรงตัว สอดคล้องกับราคาข้าวเปลือกที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ตามอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตหลักอย่างเวียดนามและอินเดีย อย่างไรก็ดี ราคาผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 5.5 ตามอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ก.ย. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.7 (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -2.5 จากเดือนก่อนหน้า)บ่งชี้ถึงการลงทุนในการก่อสร้างยังคงชะลอตัวในปี 57 เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุดที่ยังคงชะลอลง เช่นเดียวกับอุปทานที่ชะลอตัว สอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติในการก่อสร้างรวมในเดือน ส.ค. 57 (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน) ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -20.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 57 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 89.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 88.7 เนื่องจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งคาดว่าจะสามารถผลักดันนโยบายและมาตรการที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกจากนี้ พบว่ายอดขอรับส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่าเงินลงทุนในเดือน ก.ย. 57 สูงถึง 176,300 ล้านบาท (สูงสุดในรอบปี) สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เริ่มส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หากขจัดผลทางฤดูกาล พบว่าหดตัวร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อน โดยเป็นผลจากยอดขายรถยนต์ (สัดส่วนร้อยละ 21.6 ของยอดค้าปลีก) ที่หดตัวร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อน ทั้งนี้ยอดค้าปลีกที่หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนจากเดือนก่อน ทำให้ตลาดกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเข้าซื้อสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ ทำให้ ณ วันที่ 15 ต.ค. 57 (ตามเวลาสหรัฐฯ) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีลดลง 5.2 bps มาที่ร้อยละ 2.092 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 4 เดือน ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนเนื่องจากการผลิตสินค้าขั้นกลางประเภทที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นสำคัญ
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 9.4 ในเดือนก่อนหน้า และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 19 เดือน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำ โดยการส่งออกไปฮ่องกงและไต้หวันขยายตัวสูงเท่ากันถึงร้อยละ 34.0 มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 57 กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและน้ำมันดิบที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญ โดยมูลค่าการนำเข้าที่กลับมาขยายตัวในอัตราสูงส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 57 เกินดุลมูลค่า 30.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 49.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้า ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อนหน้า และลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 53 จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่ขยายตัวชะลอลงเป็นสำคัญ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -1.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการผลิตสินค้าที่ลดลงเกือบทุกหมวด เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ เป็นต้น
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากการลดลงในหมวดสินค้าทุนเป็นสำคัญ มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 57 หดตัวที่ร้อยละ -4.4 ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 เกินดุล 9.2 พันล้านยูโร ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค. 57 ที่ร้อยละ 0.4 สะท้อนความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดที่ยังคงมีอยู่สูงต่อเนื่อง
อัตราว่างงาน เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวมทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 1.3 แสนคน เพิ่มขึ้นจาก 1.0 แสนคนในเดือนก่อนหน้า
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวเท่ากับไตรมาสที่ 2 ปี 57 ทั้งนี้ ภาคการก่อสร้างขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.4 จากการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ลดปริมาณลงอย่างมาก ส่วนภาคการผลิตขยายตัวชะลอลงร้อยละ 1.4 โดยอุตสาหกรรมที่ยังเป็นแรงสนับสนุนหลักในไตรมาสนี้ คือ อุตสาหกรรมการผลิตสาขา ชีวการแพทย์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ภาคบริการขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.9 จากธุรกิจบริการด้านการเงินและประกันภัยเป็นสำคัญ ส่วนยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากยอดขายเฟอร์นิเจอร์ที่หดตัวร้อยละ -10.4 ส่วนมูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 57 หดตัวร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกน้ำมันที่หดตัวร้อยละ -14.2 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 57 หดตัวร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -8.7 จากการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งที่หดตัวร้อยละ -12.0 โดยสรุป ดุลการค้า เดือน ก.ย. 57 เกินดุล 5.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวในระดับต่ำต่อเนื่องร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากสินค้าอุตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยละ 75 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวม) หดตัวเร่งขึ้นร้อยละ -1.4 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาอาหารและราคาพลังงานที่ขยายตัวชะลอลงมาที่ร้อยละ 1.3 และ 3.5 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากสินค้าวิศวกรรม (สาธารณูปโภค เคมีภัณฑ์ ไฟฟ้า และเครื่องจักรกล) ที่ขยายตัวร้อยละ 20.2 เป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 26.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 2 ปี 8 เดือน เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลนวราตรี (เทศกาลแห่งการบูชาและการเต้นรำ) และเทศกาลดุชเชห์รา (เทศกาลฉลองชัยชนะของความดีต่อความชั่วร้ายของศาสนาฮินดู) รวมถึงเป็นช่วงที่นิยมจัดงานแต่งงานของชาวอินเดียด้วย ทำให้การนำเข้าทองคำและแร่โลหะ (สัดส่วนร้อยละ 8.7 และ 1.9 ของการนำเข้ารวมเดือน ก.ย. 57) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 449.7 และ 105.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ การนำเข้าที่ขยายตัวในระดับสูง ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 57 ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี เป็นผลจากราคาสินค้าในหลายหมวดที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ และหมวดสินค้าและบริการเบ็ดเตล็ดที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อัตราว่างงาน เดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 6.2 ในเดือนก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้นประมาณ 2.0 ล้านคน
- ดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์และในวันที่ 16 ต.ค. 57 ปิดลด ลงถึง 21.3 จุดที่ 1,526.15 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 39,189.25 ล้านบาท โดยมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ดัชนีฯ ปรับลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคการบริโภคเอกชนออกมาสวนทางกับการคาดการณ์ของตลาด และกรีซอาจหยุดรับความช่วยเหลือ Bailout เร็วกว่าที่กำหนดทั้งที่เศรษฐกิจกรีซยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 5,402.1 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีขึ้นไปปรับลดลง 4 - 16 bps เป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury จากความกังวลดังกล่าว ทำให้นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนไปยังพันธบัตรที่มีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 1,347.8 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 16 ต.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.24 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลริงกิตมาเลเซีย และดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.42 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 16 ต.ค. 57 ปิดที่ 1,239.38 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,228.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th