Executive Summary
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนก.ย. 57 ปีงปม. 57 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 228.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.3
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 57 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 26.5 พันล้านบาท
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน ก.ย.57 หดตัวที่ร้อยละ -35.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัวร้อยละ -18.5
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม ภายในประเทศ ในเดือน ก.ย. 57 หดตัวที่ร้อยละ -13.2
- การส่งออกในเดือน ก.ย. 57 กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีก ครั้งที่ร้อยละ 3.2 ในขณะที่การนำเข้า กลับมาขยายตัวเป็นบวกในอัตราเร่งที่ร้อยละ 14.4
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 57 หดตัว ในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัว ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไต้หวัน ไตรมาสที่ ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวญ ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Oct : Headline Inflation (%yoy) 1.7 1.8
- จากราคาพืชผักผลไม้ที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นและมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการตรึงราคาอาหารเจ ประกอบกับมาตรการดูแลค่าครองชีพของ คสช. ส่งผลให้ราคาในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารปรับตัวลดลง และทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนก.ย. 57 ปีงปม. 57 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 228.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.3 โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 212.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 174.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.4 (2) รายจ่ายลงทุน 38.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของสบน. 23.3 พันล้านบาท เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 9.1 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 8.7 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 8.1 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 16.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม. 57 ทั้งปีงปม. เบิกจ่ายได้ 2,246.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 89.0 ของวงเงินงปม.
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 57 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 26.5 พันล้านบาทและเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 93.3 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายรับจากการชดใช้เงินคงคลังจำนวน 13.4 พันล้านบาท และส่วนเพิ่ม (premium) จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสุทธิจำนวน 5.7 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจำนวน 119.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังของปีงบประมาณ 57 งบประมาณขาดดุลจำนวน -390.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 30.7 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -359.3 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 57 อยู่ที่ 495.7 พันล้านบาท
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน ก.ย.57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -35.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -41.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมีการเร่งซื้อขายในช่วงที่ผ่านมา จากปัจจัยบวกของนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลในปี 56 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในภาคการเกษตร ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ยังคงทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลให้ประชาชนชะลอการบริโภคสินค้าออกไปก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -45.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ 38,827 คัน หรือหดตัวร้อยละ -18.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.2 และเมื่อพิจารณาในรายไตรมาสพบว่าในไตรมาสที่ 3 มีการหดตัวร้อยละ -20.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ตามการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศเนื่องจากมีการเร่งการลงทุนไปแล้วในปีก่อน ประกอบกับผู้ประกอบการรอความชัดเจนของนโยบายภาครัฐ ทำให้ผู้ประกอบการมีการชะลอการลงทุนออกไปก่อน ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวที่ร้อยละ -30.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศ ในเดือน ก.ย. 57 หดตัวที่ร้อยละ -13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.7 เมื่อหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -7.7 เมื่อพิจารณาในรายไตรมาสพบว่ามีการหดตัวร้อยละ -10.5 ในไตรมาสที่ 3 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การลงทุนของภาคเอกชนที่ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวในปี 57
- การส่งออกในเดือน ก.ย. 57 มีมูลค่า 19,912.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 3.2 จากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -7.4 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 จากการขยายตัวดีเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.3 ตามการขยายตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ร้อยละ 2.00 และ 4.6 ตามลำดับ และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวดีเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 6.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.1 ในขณะที่ สินค้าเกษตรกรรมขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 รวมถึงยานยนต์ที่หดตัวร้อยละ -12.1 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกหดตัวร้อยละ -0.4 และปริมาณการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนของปี 57 หดตัว ที่ร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- การนำเข้าในเดือน ก.ย. 57 มีมูลค่า 21,711.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวเป็นบวกในอัตราเร่งครั้งแรกหลังจาก หดตัวต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 14 เดือนที่ร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -14.2 จากการขยายตัวเร่งขึ้นในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุนที่ขยายตัวเร่งขึ้น ในระดับสูงที่ร้อยละ 21.8 และ 17.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ หดตัวร้อยละ -10.2 และ -21.2 ตามลำดับ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวดีเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 11.2 ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -1.6 และปริมาณการนำเข้าขยายตัวในระดับสูงที่ ร้อยละ 16.3 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าในช่วง 9 เดือนของปี 57 หดตัวที่ร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และจากการที่มูลค่าการส่งออก ต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ก.ย. 57 ขาดดุล -1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 57 หดตัว ในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ยานยนต์ และปิโตรเลียมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากภาวะอิ่มตัวของตลาดภายในประเทศ ประกอบกับปัจจัยฐานสูง ในส่วนของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม หดตัวจากการปิดเพื่อซ่อมบำรุงโรงกลั่นของบริษัท Thai Oil สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่อดัชนีฯ ในเดือนนี้ คือ อุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ ที่ได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงระบบทีวีเป็นระบบดิจิตอล นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นที่ขยายตัวได้ คือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องแต่งกายเป็นต้น
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 57 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากราคาพืชผักผลไม้ที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นและมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการตรึงราคาอาหารเจ ประกอบกับมาตรการดูแลค่าครองชีพของ คสช. ส่งผลให้ราคาในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารปรับตัวลดลง และทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (หรือร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ต่อปี) แม้ว่าจะขยายตัวชะลอลงตามการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แต่ขยายตัวมากกว่าการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสก่อนขยายตัวในระดับสูง ที่ประชุม FOMC เมื่อวันที 28-29 ต.ค. 57 มีมติยุติมาตรการ QE ดังที่ตลาดคาดการณ์ พร้อมทั้งมีประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม ด้านการบริโภคภาคเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 94.5 จุด ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากดัชนีการคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจในระยะต่อไปของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นมากมาที่ระดับ 95.0 จุด จากระดับ 86.4 จุดในเดือนก่อน ตามภาคการจ้างงานและบรรยากาศภาคธุรกิจในปัจจุบันที่ดีขึ้น ราคาบ้าน เดือน ส.ค. 57 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เนื่องจากราคาบ้านในทุกภูมิภาคที่ปรับเพิ่มขึ้น ยกเว้นเพียงภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออก ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ 4.67 แสนหลัง ต่อปี ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี 2 เดือน โดยเป็นผลจากยอดขายบ้านในภาคใต้ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ราคาและยอดขายบ้านใหม่ที่เพิ่มขึ้น บ่งชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและยานยนต์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.7 (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการผลิตสินค้าหมวดเครื่องใช้สำนักงานและชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารสดยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราว่างงาน เดือน ก.ย. 57 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม จากร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) อยู่ที่ระดับ -11.1 จุดเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนสะท้อนความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานของภูมิภาคยูโรโซน
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลจากทั้ง 4 ภาคส่วนอุปทาน ได้แก่ อุตสาหกรรม บริการ ก่อสร้าง และเกษตร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 57 ปรับลดลงมาอยู่ที่ -2.0 ลดต่ำกว่าดัชนีในเดือน ก.ย. 57 ที่อยู่ที่ -1.0 จากแนวโน้มเศรษฐกิจ สหราชอาณาจักรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจยูโรโซนที่อ่อนแอ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 กลับมาหดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง สื่อสิ่งพิมพ์ ยาและเวชภัณฑ์ ที่หดตัวเป็นสำคัญ อัตราว่างงาน ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวม
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 จากราคาสินค้าในทุกหมวดที่ขยายตัวชะลงต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 13.0 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานสูง มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 17.2 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานสูง ทำให้ดุลการค้า เดือน ต.ค. 57 ขาดดุล 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 57 ขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ 5.0 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงเป็นสำคัญ ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้ให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่หดตัวร้อยละ -2.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนกลับมาขยายตัวได้ โดยผลผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนขยายตัวดีที่ร้อยละ 3.6 และ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าขั้นกลางโดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แม้ในอัตราชะลอลงจาก -2.5 ในเดือนก่อนหน้า เป็นร้อยละ -0.2 ในเดือนนี้
GDP ไตรมาสที่ ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์โดย ณ วันที่ 30 ต.ค. 57 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,565.35 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 47,411.13 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ จากการคลายความกังวลต่อภาวะเงินฝืดของยุโรป เมื่อ ECB ประกาศปริมาณเข้าซื้อพันธบัตร Covered Bond เมื่อต้นสัปดาห์ กอปรกับ Fed ประกาศยุติ QE ตามคาดในการประชุม FOMC (28-29 ต.ค. 57) ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 27 - 30 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 638.42 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีขึ้นไปปรับเพิ่มขึ้น 1 - 11 bps โดยมีแรงขายจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลจากผลการประชุม FOMC ที่ประกาศยุติ QE และมีสัญญาณว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 27 - 30 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 4,045.8 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 30 ต.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.74 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินทุกสกุล ยกเว้น ค่าเงินหยวนที่แข็งค่าเล็กน้อย ผลจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.24 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำลดลงเล็กน้อย โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 30 ต.ค. 57 ปิดที่ 1,203.88 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,229.63 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th