Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ย. 57 ขาดดุล 861.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 69.6
- วันที่ 5 พ.ย. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี
- สินเชื่อเดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเงินฝากสถาบันการเงิน ขยายตัวร้อยละ 3.6
- อัตราการว่างงาน ต.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ต.ค.57 หดตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ -7.6
- GDP อินโดนีเซีย ไตรมาส 3 ปี 57 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 59.0 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน (HSBC/Markit) เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (NBS) อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เดือน ต.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.4 จุด
- อัตราเงินเฟ้อยูโรโซน เดือน ต.ค. 57 (เบื้องต้น) อยู่ที่ ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Oct : API (%yoy) -2.5 -3.4
- จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางพารา และมันฝรั่ง ที่มีพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณการผลิตไก่เนื้อ และไก่ไข่ในหมวดปศุสัตว์ แต่ในภาพรวมดัชนีฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอที่คาดว่าจะส่งผลต่อการเพาะปลูกข้าวและผลผลิตปาล์มน้ำมัน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากต้นทุนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลงต่อเนื่อง และการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มแก๊สโซฮอล์ ประกอบกับราคาเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ และไข่ไก่ลดลงจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการสินค้าดังกล่าวค่อนข้างทรงตัว สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 10 เดือนแรกของปี 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 สะท้อนถึงเสถียรภาพด้านราคาที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 57 หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่หดตัวร้อยละ -1.6 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.3 สอดคล้องกับดัชนีราคาในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ส่วนดัชนีราคาในหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย. 57 ขาดดุล 861.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนที่เกินดุล 239.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1,130.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่านำเข้าที่มากกว่ามูลค่าการส่งออก ตามการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่กลับมาขยายตัวในระดับสูง รวมถึงการนำเข้าปิโตรเลียม วัตถุดิบ และทองคำที่ขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกัน ในขณะที่การส่งออกกลับมาขยายตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง 4 ประเทศคู่ค้าหลักเป็นสำคัญ โดยการส่งออกไปสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปที่ขยายตัวเร่งขึ้น และการส่งออกไปจีนที่หดตัวชะลอลง ขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล 1,992.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขาดดุลมากกว่าเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติ รวมถึงรายรับในภาคการท่องเที่ยวที่ยังหดตัว ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 57 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 7,278.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 69.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ 69.2 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก 1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะเม็ดเงินที่สนับสนุนเกษตรกร รวมถึงโครงการลงทุนซ่อมสร้างต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อการจ้างงานของแต่ละท้องถิ่น และ 2. การที่ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในประเทศปรับตัวลดลง ส่งผลทำให้ลดภาระค่าครองชีพของประชาชนลงได้ อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีฯดังกล่าว ปรับขึ้นมาไม่มากนัก สะท้อนว่าผู้บริโภค ยังมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ยังไม่ค่อยกล้าที่จับจ่ายใช้สอยมากนัก
- วันที่ 5 พ.ย. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี จากการที่ กนง. ประเมินว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในปัจจุบันไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และสอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว
- สินเชื่อเดือน ก.ย. 57 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 5.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอลงของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์โดยรวมยังคงรักษามาตรฐานการปล่อยสินเชื่อให้มีความเข้มงวดเพื่อรอดูความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 57 ส่งผลให้คาดว่า สินเชื่อจะกลับมาขยายตัวดีขึ้นได้ในระยะต่อไป
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 57 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่ชะลอลง ทั้งนี้ คาดว่าสถาบันการเงินจะระดมทุนผ่านเงินฝากเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะต่อไป ตามความต้องการสินเชื่อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่คาดว่าปรับตัวดีขึ้นในอนาคต
- การจ้างงานเดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ 37.9 ล้านคน ลดลงประมาณ 2.5 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการลดลงของการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่กลับมาหดตัวอีกครั้ง ในขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการจ้างงานภาคบริการจากสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่ง ส่งผลให้การจ้างงานในช่วง 10 เดือนแรกของปี 57 ยังคงหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.6 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมหรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 2.89 แสนคน
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ต.ค. 57 มีจำนวน 146,598 คัน คิดเป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ -7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.4 ตามการลดลงของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคและยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม. หดตัวร้อยละ -11.4 และร้อยละ -6.5 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.2 และร้อยละ -5.0 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ยังหดตัวต่อเนื่อง ทำให้รายได้เกษตรกรยังคงหดตัวลงเช่นกัน และส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยังคงหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -15.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 57 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.4 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางพารา และมันฝรั่ง ที่มีพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณการผลิตไก่เนื้อ และไก่ไข่ในหมวดปศุสัตว์ แต่ในภาพรวมดัชนีฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอที่คาดว่าส่งผลต่อการเพาะปลูกข้าวและผลผลิตปาล์มน้ำมัน
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 59.0 จุด สูงสุดในรอบ 3 ปี 7 เดือน จากยอดคำสั่งซื้อค้างรับ ยอดคำสั่งซื้อใหม่ และยอดจัดส่งวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านดัชนีฯ นอกภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 57.1 จุด ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออก ราคา และกิจกรรมทางธุรกิจที่ลดลงเป็นสำคัญ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากยอดคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรด้านคมนาคมขนส่งที่กลับมาหดตัวร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน ต.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลจากยอดขายรถยนต์นั่งที่เร่งขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงต่อเนื่อง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC/Markit) เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 50.2 จุด ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด ลดลงจากระดับ 51.1 จุด ในเดือนก่อนหน้า แม้ดัชนีฯ ทั้งสองจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกัน แต่ต่างสะท้อนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ในระดับต่ำเช่นเดียวกัน ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (HSBC/Markit) เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด ลดลงจากระดับ 53.5 จุด ในเดือนก่อนหน้า จากคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.4 จุด จากระดับ 51.7 จุดในเดือนก่อนหน้า นับว่าปรับตัวเกินกว่าระดับ 50 จุดต่อเนื่อง 5 เดือนติดต่อกัน สะท้อนกิจกรรมภาคการผลิตขยายตัวได้ดี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 57 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย จากราคาในภาคบริการและอาหารเป็นสำคัญ อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 57 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.5 ของกำลังแรงงานรวม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สะท้อนภาคการจ้างงานที่ยังคงซบเซา ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดต้วร้อยละ -1.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายหมวดที่มิใช่อาหารที่ชะลอตัวเป็นหลัก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ต.ค. 57 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม และดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 50.6 และ 52.3 จุด ตามลำดับ โดยเริ่มเห็นการฟื้นตัวในเยอรมนี สเปน เนเธอร์แลนด์ และไอร์แลนด์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยขยายตัวเร่งขึ้นในสินค้าคงทน ขณะที่การผลิตสินค้าประเภทอื่นขยายตัวชะลอลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 53.2 สูงสุดในรอบ 3 เดือน จากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศหดตัว
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 51.9 จุด โดยอยู่ในระดับเกินกว่า 50 จุด 2 เดือนติดต่อกัน บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิต
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 57 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลงเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 120.6 จุด โดยผู้บริโภคประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ การจ้างงาน และรายได้ใน 6 เดือนข้างหน้าว่าจะปรับตัวดีขึ้น มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกแร่เชื้อเพลิงที่เร่งขึ้น มูลค่านำเข้าขยายตัวชะลอลงเช่นกันร้อยละ 0.2 จากการนำเข้าน้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิงที่ชะลอลง ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นมาที่ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารและค่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.2 จุด บ่งชี้การหดตัวภาคอุตสาหกรรมสูงสุดในรอบ 14 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC/Markit) เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด ลดลงจากระดับ 49.8 จุด ในเดือนก่อนหน้า ต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากเหตุการณ์ประท้วงในเขตธุรกิจที่ยังคงดำเนินอยู่ ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 48.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อน และอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด เป็นเดือนที่ 2
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC/Markit) เดือน ต.ค. 57 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 จุด ต่ำสุดในรอบ 1 ปี จากทั้งคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่ชะลอลง
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 57 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกถ่านหินที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นหลัก ขณะที่มูลค่านำเข้ากลับมาขยายตัวร้อยละ 6.2 จากการนำเข้าเชื้อเพลิงและสินค้าขั้นกลางที่ขยายตัว ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 2.4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ด้านดัชนีผลประกอบการภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด แต่ยังคงต่ำกว่า 50.0 จุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม ผลจากการจ้างงาน ราคา และยอดขายที่ยังหดตัวสอดคล้องกับอัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวในระดับสูงสุดในรอบกว่า 12 ปี ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายอาหารและสินค้าครัวเรือนที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 51.6 จุด จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ ลดลงมาที่ระดับ 50.0 จุด จากกิจกรรมทางธุรกิจใหม่ที่ลดลง
- ดัชนี SET เคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดย ณ วันที่ 6 พ.ย. 57 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,580.77 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 54,116 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ จากการคลายความกังวลต่อภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่น เมื่อธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศจะดำเนินมาตรการ QQE เพิ่มเติมในปี 58 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 พ.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,909.12 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงทุกช่วงอายุ ประมาณ 2 -20 bps เป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจาก ธปท. เปิดประมูลพันธบัตรอายุ 6 เดือนซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนถึงถึง 3.4 เท่า ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 พ.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 2,572.9 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 6 พ.ย. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.81 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.78 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินทุกสกุล ยกเว้น ค่าเงินหยวนที่ทรงตัว ผลจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.96 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำระหว่างสัปดาห์ลดลงต่ำสุดใน รอบกว่า 3 ปี โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 6 พ.ย. 57 ปิดที่ 1,144.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,169.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th