Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. 57 ลดลงร้อยละ -2.5 จากปีก่อน
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน พ.ย. 57 ขยายตัว ตัวร้อยละ 0.6 ขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมหดตัวที่ร้อยละ -12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- วันที่ 17 ธ.ค. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน พ.ย. 57 หดตัวร้อยละ -13.9 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือน พ.ย. 57 หดตัวที่ร้อยละ -8.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อน
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย เดือน พ.ย.57 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี
- ที่ประชุม FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อปี
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC) (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 57 อยู่ที่ 49.5 จุด
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ต.ค. 57 หดตัวร้อยละ -0.9 ขณะที่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อญี่ปุ่น (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 57 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมยูโรโซน (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Nov : Pass. Car sales (%yoy) -25.0 -28.0
- จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -28.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมีการเร่งซื้อขายในช่วงที่ผ่านมา จากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลในปี 56 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง ทำให้การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนยังคงชะลอตัวอย่างไรก็ดี คาดว่าในช่วงในเดือนสุดท้ายของปี 57 ยอดขายรถยนต์นั่งจะปรับเพิ่มขึ้นได้บ้าง เนื่องจากมีมหกรรมส่งเสริมการขาย (Motor Show) ในเดือน ธ.ค.
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. 57 ได้ทั้งสิ้น 162.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -2.5 จากปีก่อน และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ซึ่งมีรายการสำคัญดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากปีก่อน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากปีก่อน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากปีก่อน ตามการปรับลดอัตราภาษี และ (2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากปีก่อน สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และภาษีจากการนำเข้าจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -3.2 จากปีก่อน ตามมูลค่าการนำเข้าทีชะลอตัว ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ได้ทั้งสิ้น 335.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -2.6 จากปีก่อน แต่สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.0
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน พ.ย. 57 มีมูลค่า 54.84 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.7 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.5 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -4.3 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -7.5 ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 57 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ย. 57 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เดือนก่อนหดตัวร้อยละ -2.9 (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -7.1 จากเดือน ก่อนหน้า) ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้ม ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 57 สอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่รับอนุญาตการก่อสร้างใน กทม. ปริมณฑลและในเขตเทศบาล ในเดือน ก.ย. 57 (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน) ที่หดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
- วันที่ 17 ธ.ค. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปีจากการที่ กนง. ประเมินว่านโยบายการเงินยังผ่อนปรนเพียงพอต่อเศรษฐกิจที่คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวในปี 2558 และสอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยเดือน พ.ย.57 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.44 ล้านคน ขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี และ หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -2.1 ส่งผลทำให้ 11 เดือนแรกปี 57 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 21.9 ล้านคน หดตัวร้อยละ -8.6 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศแล้ว 1.08 ล้านล้านบาท คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน พ.ย.. 57 หดตัวร้อยละ -13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -14.7 ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดธัญพืชเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งเดือน พ.ย. เป็นช่วงที่มีผลผลิตข้าวนาปีออกสู่ตลาดมาก แต่ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปี ทำให้ผลผลิตข้าวเปลือกเจ้าในปีนี้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กอปรกับผลผลิตยางพาราในเดือนนี้ลดลงจากฝนตกชุกในเขตพื้นที่ภาคใต้ทำให้ชาวสวนยางกรีดยางไม่ได้ รวมไปถึงสับปะรดโรงงานที่มีผลผลิตลดลงในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี ทั้งผลผลิตไก่เนื้อ ไข่ไก่ กุ้งขาวแวนนาไม ที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงสัตว์ และปัญหาโรคระบาดในกุ้งที่คลี่คลายลง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปี 57 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือน พ.ย. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.6 ตามราคายางพารา ที่ราคาลดลงอย่างต่อเนื่องจากความต้องการของโลกที่ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ราคาผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ตามราคา ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม ที่ราคาหดตัว เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ราคาสุกรยังคงขยายตัวได้ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ทั้งนี้ในช่วง 11 เดือนแรก ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน พ.ย. 57 คาดว่าจะยังหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -25.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -28.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งซื้อขายในช่วงที่ผ่านมา จากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลในปี 56 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง ทำให้การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนยังคงชะลอตัวอย่างไรก็ดี คาดว่าในช่วงในเดือนสุดท้ายของปี 57 ยอดขายรถยนต์นั่งจะปรับเพิ่มขึ้นได้บ้าง เนื่องจากมีมหกรรมส่งเสริมการขาย (Motor Show) ในเดือน ธ.ค.
Global Economic Indicators: This Week
วันที่ 16-17 ธ.ค. 57 ที่ประชุม FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อปี จนกว่าจะมีการจ้างงานเต็มจำนวนและอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.0 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายอาหารและเครื่องดื่ม น้ำมัน และสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวชะลอลง ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน พ.ย. 57 กลับมาหดตัวร้อยละ -1.6 จากเดือนก่อนหน้า จากยอดสร้างบ้านเดี่ยวและทาวส์เฮ้าส์ที่หดตัว สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน พ.ย. 57 ที่หดตัวร้อยละ -5.2 จากเดือนก่อนหน้า จากยอดใบอนุญาตก่อสร้างทุกประเภทที่หดตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 3 ปี 10 เดือน จากผลผลิตสินค้าทุกประเภทขยายตัวเร่งขึ้น โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 80.1 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม จาก อัตราฯ ของทุกภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จากราคาค่าขนส่ง เครื่องแต่งกาย และนันทนาการ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 7.7 ในเดือนก่อน สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC) (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 57 อยู่ที่ 49.5 จุด ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด ครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ด้านยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 11.5 ในเดือนก่อน ราคาบ้านใหม่ เดือน พ.ย. 57 หดตัวร้อยละ -3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ต.ค. 57 หดตัวร้อยละ -0.9 จากการผลิตสินค้าในหมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์โลหะที่ลดลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 57 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ทีเพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในเอเชีย และสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่อเนือง มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 57 กลับมาหดตัวร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนดังกล่าว ขาดดุล -8.9 ล้านล้านเยน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการฟื้นตัวที่ยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะในเศรษฐกิจหลักอย่างเยอรมนี และฝรั่งเศส โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด และดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 51.9 จุดมูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนในทุกหมวดสินค้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 57 หดตัวร้อยละ -0.5 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 24.0 พันล้านยูโรอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.4 โดยเป็นผลจากราคาพลังงานและการสื่อสารที่ยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 4 เดือน จากราคาพลังงานที่หดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ -7.1 และสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ -4.9 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 57 หดตัวร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน จากผลผลิตสินค้าคงทนที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -35.2 มูลค่าส่งออก เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าฝ้าย เครื่องนุ่งห่ม และกาแฟที่ขยายตัว มูลค่านำเข้า เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 26.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าทองคำที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 571.9 ทำให้ดุลการค้าขาดดุลสูงสุดในรอบ 1.5 ปีที่ 1.7 หมื่นล้านรูปี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 57 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อนหน้า ผลจากราคาอาหารและบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้น
อัตราการว่างงาน ไตรมาส 3 ปี 57 ทรงตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวม ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าเกือบทุกหมวดที่เพิ่มขึ้น อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเวชภัณฑ์ เป็นต้น มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 57 หดตัวร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่หดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 57 หดตัวร้อยละ -11.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าหมวดเครื่องดื่มและยาสูบ สินแร่ และน้ำมันดิบที่ลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนดังกล่าวเกินดุล 6.7 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม ชะลอลงจากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยมีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 3.8 ล้านคน และมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 126,400 คน ลดลง 2,800 คน จากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ผลจากการจับจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลจับจ่ายหลังวันขอบคุณพระเจ้า อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 57 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.0 ของกำลังแรงงานรวมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากการปรับลดลงของราคาอาหารและเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ และค่าขนส่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 57 อยู่ที่ระดับ -4.0 จุด ลดต่ำลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -2.0 โดยเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นหลัก
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากระหว่างวันปรับตัวลดลงมากสุดในรอบ 8 ปีเมื่อตอนต้นสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 18 ธ.ค 57 ดัชนีฯ ปิดที่ 1,516.79 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยรายสัปดาห์ต่อวันที่ 73,526 ล้านบาท จากราคาน้ำมันที่ตกต่ำ อีกทั้งปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจกรีซ รัสเซีย ตลอดจนข่าวลือภายในประเทศที่ไม่มีมูล อย่างไรก็ตาม หลังปัจจัยดังกล่าวคลี่คลาย ตลอดจนผลการประชุม กนง. และ FOMC เป็นไปในทิศทางที่ตลาดคาดไว้ ดัชนีฯ จึงปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 ธ.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 19,596.64 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1-8 bps เป็นไปตาม US Treasury หลังจากที่ กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 57 อีกทั้ง FOMC ประกาศเป้าหมายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed Funds Rate ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ทำให้ตลาดคาดว่า Fed จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 ธ.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 5,212.3 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 18 ธ.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.89 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.21 จากสัปดาห์ก่อน โดยเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับค่าเงินสกุลภูมิภาคส่วนใหญ่ ยกเว้นริงกิตมาเลเซียและวอนเกาหลีที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.16 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำทรงตัว โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 18 ธ.ค. 57 ปิดที่ 1,197.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,192.21 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th