นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดังนี้
หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 42,109.72 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลล่วงหน้าที่จะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 จำนวน 23,976 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 17,116.61 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อการลงทุน จำนวน 1,988.23 ล้านบาท ประกอบด้วย การเบิกจ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำฯ 200 ล้านบาท การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย 618.23 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน รถไฟสายสีแดงและโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) 1,170 ล้านบาท
- การชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 1,802 ล้านบาท
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินมียอดหนี้คงค้างลดลง 5,058.56 ล้านบาท
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 1,919.63 ล้านบาท
หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐมียอดหนี้คงค้างลดลง 1,046 ล้านบาท
การที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐมียอดหนี้คงค้างลดลง เนื่องจากมีการชำระคืน มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ และจากผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะต่อ GDP ในปัจจุบันยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ร้อยละ 60 ค่อนข้างมาก
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2558 เท่ากับ 5,658,059.36 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 5,308,427.40 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 93.82 และหนี้ต่างประเทศ 349,631.96 ล้านบาท (ประมาณ 10,585.32 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 6.18 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 155,423.01 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว (ข้อมูล ณ 30 มกราคม 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.81 ของเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,525,971.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.67 และมีหนี้ระยะสั้นเพียง 132,087.74 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.33
สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 87,479.45 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 79,200.45 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 8,279 ล้านบาท
การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 79,200.45 ล้านบาท ประกอบด้วย
- การกู้เงินในประเทศ จำนวน 19,104.84 ล้านบาท
- การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 48,976 ล้านบาท แบ่งเป็น
- การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ จำนวน 9,000 ล้านบาท
- การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 16,000 ล้านบาท
- การปรับโครงสร้างหนี้ล่วงหน้า สำหรับพันธบัตรรัฐบาลที่จะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม2558 จำนวน 23,976 ล้านบาท
- การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 11,119.61 ล้านบาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย โดยใช้เงินจากงบประมาณ จำนวน 8,581.32 ล้านบาท และการชำระดอกเบี้ยของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 2,538.29 ล้านบาท โดยใช้เงินค่าธรรมเนียมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับจากธนาคารพาณิชย์ภายใต้ พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือ FIDF ฯ
การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 8,279 ล้านบาท ประกอบด้วย
- การกู้เงินในประเทศขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวน 1,772.50 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
- การปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐวิสาหกิจ แบ่งเป็น
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 2,779 ล้านบาท
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวน 3,727.50 ล้านบาท
คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 02 265 8050 ต่อ5505,5522,5903
เอกสารแนบ
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2558 มีจำนวน 5,658,059.36 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.46 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 34,085.53 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46.32 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 เป็นร้อยละ 46.46 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หนี้ของรัฐบาล 3,996,768.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42,109.72 ล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,068,742.09 ล้านบาท ลดลง 5,058.56 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 585,623.72 ล้านบาท ลดลง 1,919.63 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 6,924.58 ล้านบาท ลดลง 1,046 ล้านบาท
ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2558
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 19,935.73 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 830.88 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 141.67 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 689.21 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกัน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 19,104.84 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้เพิ่มขึ้น 17,116.61 ล้านบาท เนื่องจาก
- การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 4,438 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 12,678.61 ล้านบาท
- การปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ระยะสั้นที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม มาเป็นหนี้ระยะยาวโดยการออกพันธบัตรบริหารหนี้ 9,000 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 200 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามใน สัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
- การเบิกจ่ายเงินให้กู้ต่อ เพิ่มขึ้น 618.23 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 358.43 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 132.02 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว วงเงิน 128.12 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน วงเงิน 98.29 ล้านบาท
- การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 259.80 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง จำนวน 192.16 ล้านบาท และโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 67.64 ล้านบาท และ
- การเบิกจ่ายเงินกู้ 1,170 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้ต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 2,500 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,802 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่ 2 (FIDF 3) โดยการยืมเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 23,976 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรบริหารหนี้ทั้งจำนวน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 579.30 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 311.08 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 890.38 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น จำนวน 935.71 ล้านบาท เนื่องจาก
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 4,000 ล้านบาท
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 2,064.29 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 3,295 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 5,359.29 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 51.33 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 5,225.79 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายเงินและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทเพิ่มขึ้น 5,277.12 ล้านบาท
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 5,466.30 ล้านบาท เนื่องจาก
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 125 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนตั๋วแลกเงินที่ครบกำหนด 3,000 ล้านบาท
- องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน 2.22 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1,339.08 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 780.78 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 2,119.86 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 92.93 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 15.27 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 77.66 ล้านบาท
3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 1,826.70 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกพันธบัตรออมทรัพย์ 37,908.28 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 39,734.98 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ
หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 1,046 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 1.16 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,047.16 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2558 มีจำนวน 5,658,059.36 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,658,059.36 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 349,631.96 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.18 และหนี้ในประเทศ 5,308,427.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.82 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,658,059.36 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,525,971.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.67 และ หนี้ระยะสั้น 132,087.74 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.33 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้างจำนวน 5,658,059.36 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,958,188.35 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.63 และหนี้ระยะสั้น 699,871.01 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.37 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512,5522
--กระทรวงการคลัง--