Executive Summary
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือนก.พ. 58 อยู่ที่ 2.51 ล้านล้านบาท
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 56.5 จุด ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ 126,000 ตำแหน่ง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ตัวเลขปรับปรุง) ของยูโรโซน เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ 54.2 จุด ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ 54.0 จุด
- อัตราเงินเฟ้อของจีน เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อของไต้หวัน เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 58 หดตัวร้อยละ -8.9 ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 58 หดตัวร้อยละ -17.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหราชอาณาจักร เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ 58.9 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Mar: API (%YOY) -13.4 -3.8
- จากการหดตัวของผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก โดยเฉพาะผลผลิตข้าวนาปรัง เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้มีการรณรงค์งดการปลูกข้าวนาปรัง ส่วนหมวดปศุสัตว์คาดว่าจะขยายตัวได้โดยเฉพาะผลผลิตไข่ไก่ เนื่องจากมีการขยายฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่มากขึ้น
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือนก.พ. 58 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.51 ล้านล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก โดยสินทรัพย์สภาพคล่องที่ลดลงจากการลดลงของหลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ขณะที่การสำรองเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์และการฝากเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินคิดเป็น 3.4 เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก)
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 58 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.4 ต่อปี เมื่อหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 58 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในหมวดการก่อสร้างยังคงทรงตัว
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มี.ค. 58 มีจำนวน 195,229 คัน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยเป็นการขยายตัวของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และเขตภูมิภาค โดยเขตกรุงเทพฯ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และเขตชนบทขยายตัวร้อยละ 23.7 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์รวมทั้งประเทศในไตรมาสแรก ขยายตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีก่อน เนื่องจากได้รับปัจจัยฐานต่ำจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และการปิดกรุงเทพฯ
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 58 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.8 จากการหดตัวของผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก โดยเฉพาะ ผลผลิตข้าวนาปรัง เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้มีการรณรงค์งดการปลูกข้าวนาปรัง ส่วนหมวดปศุสัตว์คาดว่าจะขยายตัวได้โดยเฉพาะผลผลิตไข่ไก่ เนื่องจากมีการขยายฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่มากขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 56.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่อยู่ที่ระดับ 56.9 จุด อย่างไรก็ดี อยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 จุด มาต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 62 โดยมีการขยายตัวใน 14 กลุ่มธุรกิจ ขณะที่มีการหดตัวใน 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ เหมืองแร่ การศึกษา การบริการอื่นๆ และสาธารณูปโภค การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน มี.ค. 58 ที่เพิ่มขึ้น 126,000 ตำแหน่ง โดยเฉพาะในภาคบริการขณะที่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานลดลงเล็กน้อยส่งผลให้อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 58 ทรงตัวที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงานรวม ส่วนรายได้เฉลี่ยภาคเอกชน เดือน มี.ค. 58 ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ 868.89 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ 54.2 จุด ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในไอร์แลนด์ สเปน และเยอรมนี ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ 54.0 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 11 เดือน ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยเป็นผลจากการชะลอตัวในทุกหมวดสินค้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 58 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายของทางการจีนที่ร้อยละ 3.0
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาเป็นบวกอีกครั้ง หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องมา 4 เดือน โดยเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 1 ปี มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 58 หดตัวร้อยละ -8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.7 และมูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 58 หดตัวร้อยละ -17.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ -22.4 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน มี.ค. 58 เกินดุล 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ 58.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 56.7 จุด สูงที่สุดในรอบ 7 เดือน จากปริมาณธุรกิจใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 58 หดตัวร้อยละ -13.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากเดือน ม.ค. 58 ที่หดตัวร้อยละ -12.9 โดยเป็นผลจากการลดลงของการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากการแข็งค่าของเงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินยูโร มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 58 ขยายตัว ร้อยละ 5.6 โดยเป็นผลจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการนำเข้าจากอเมริกาเหนือและเอเชียเป็นหลัก ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 58 ขาดดุล -10.96 ล้านปอนด์ เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 58 ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี
ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าในหมวดอาหาร และเครื่องใช้ในบ้านที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 58 ธนาคารกลางออสเตรเลีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน เม.ย. 58 ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.25 ต่อปีเป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 58 ธนาคารกลางอินเดีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน เม.ย. 58 ที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ภายหลังการปรับลดลง 25 bps. ในเดือนก่อนหน้า
ธนาคารกลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน เม.ย. 58 ที่ ร้อยละ 1.75 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 3 ครั้ง เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง โดยแม้ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง แต่ก็ได้ให้ความสำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะสั้นเป็นภารกิจที่เร่งด่วนกว่า
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 58 หดตัวร้อยละ -3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ -0.5 ในเดือนก่อน และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากการส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นที่หดตัวในอัตราสูง ในขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้
- ดัชนี SET ทรงตัวเกินระดับ 1,500 จุด โดย ณ วันที่ 9 เม.ย. 58 ดัชนีฯ ปิดที่ 1,545.11 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายต่อวันเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 31,993 ล้านบาท จากแรงซื้อของบริษัทหลักทรัพย์ สถาบันในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติ โดยระหว่างวันที่ 7 เม.ย. - 9 เม.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,975.9 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0-4 bps. จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ โดยระหว่างวันที่ 7 เม.ย. - 9 เม.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 5,318.7 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 9 เม.ย. 58 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.18 จากสัปดาห์ก่อน โดยเป็นไปตามทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ อาทิ เงินเยน ยูโร วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินหยวน ขณะที่เงินริงกิตมาเลเซียแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในระดับใกล้เคียงกับค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างทรงตัว โดยอ่อนค่าลงเพียงร้อยละ 0.01 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำปรับลดลงจากต้นสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 9 เม.ย. 58 ปิดที่ 1,194.46 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,214.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th