Executive Summary
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,730.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.8 ของ GDP
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 66.0
- นักท่องเที่ยวในเดือน มี.ค.58 ขยายตัวร้อยละ 25.5 และข้อมูลเบื้องต้นในเดือน เม.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 18.3
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน เม.ย. 58 หดตัวที่ร้อยละ -3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.63 ล้านล้านบาท
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -18.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม
- GDP ยูโรโซน ไตรมาส 1 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP อินโดนีเซีย ไตรมาส 1 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราว่างงานของสหรัฐฯ อยู่ที่ร้อยละ 5.4 จากกำลังแรงงานรวม
- มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Apr: API (%YOY) -5.2 -12.3
- หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -12.3 จากการหดตัวของผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก โดยเฉพาะผลผลิตข้าวนาปรัง เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้มีการรณรงค์งดการปลูกข้าวนาปรัง ส่วนหมวด ปศุสัตว์และประมงคาดว่าจะขยายตัวได้ตามปกติ
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,730.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.8 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 10.1 พันล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 23.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) (ร้อยละ 97.2 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (ร้อยละ 94.0 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 66.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 67.1 ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน จากความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดประมาณการ การเติบโตเศรษฐกิจไทย รวมทั้งกำลังซื้อที่ลดลงจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.5 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 25.5 แต่หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ปี 58 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 7.9 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 23.5 ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางระยะใกล้จากเอเชีย โดยเฉพาะจีนและมาเลเซีย อย่างไรก็ดี ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมการท่องเที่ยว พบว่าในเดือน เม.ย. 58 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 2.3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 18.3 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 1.9 (m-o-m SA) ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 58 มีนักท่องเที่ยว เดินทางเข้าไทยแล้วทั้งสิ้น 10.2 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 22.4 ต่อปี
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน มี.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.63 ล้านล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของเงินรับฝากที่มากกว่า การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ โดยสินทรัพย์สภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากการถือหลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพันเพิ่มขึ้น เป็นหลัก ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินคิดเป็น 3.5 เท่าของสินทรัพย์ภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก)
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน เม.ย. 58 หดตัวที่ร้อยละ -3.3 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เดือน เม.ย. 58 หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -2.1 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 58 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัว ร้อยละ -2.7 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในหมวดการก่อสร้างยังคงทรงตัว
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน เม.ย. 58 ที่หดตัวร้อยละ -13.8 ต่อปี เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบลดลงและราคาเหล็กในตลาดโลกยังคงลดลง
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน เม.ย. 58 มีจำนวนทั้งสิ้น 114,107 คัน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -31.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยเป็นการหดตัวของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และเขตภูมิภาค ตามรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่หดตัวในระดับสูงในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โดยเขตกรุงเทพฯ มียอดจำหน่ายหดตัวร้อยละ -13.1 และเขตชนบทหดตัวร้อยละ -19.8
- การจ้างงานเดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ 37.5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.0 แสนคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของ การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะภาคบริการ จากสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ส่วนการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นกัน จากการจ้างงานในสาขาการผลิต ในขณะที่ อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.24แสนคน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 58 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -12.3 จากการหดตัวของผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก โดยเฉพาะผลผลิตข้าวนาปรัง เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้มีการรณรงค์งดการปลูกข้าวนาปรัง ส่วนหมวดปศุสัตว์และประมงคาดว่าจะขยายตัวได้ตามปกติ
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน เม.ย. 58 เพิ่มขึ้น 233,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากการจ้างงานภาคการผลิต บริการธุรกิจ และการศึกษาที่เพิ่มขึ้นมากส่งผลให้อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 5.4 จากกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.0 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากยอดขายสินค้าทุกหมวดที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่ชะลอตัว และน้ำมันเชื้อเพลิงที่หดตัวต่อเนื่อง
GDP ไตรมาส 1 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเศรษฐกิจหลัก ทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี มีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ 53.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับสูง โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 52.0 จุด และดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ 54.1 จุด ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยหดตัวในทุกหมวดสินค้าจากเดือนก่อน สวนทางกับการปรับเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนเดียวกัน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC) เดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 48.9 จุด ลดลงจาก 49.6 จุดในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด เพิ่มขึ้นจาก 52.3 จุดในเดือนก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -16.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ดุลการค้า เดือน เม.ย. 58 เกินดุล 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน เม.ย. 58 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 59.5 จุด ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกไปยังยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ และเอเชีย ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 7.8 พันล้านปอนด์ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อน เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 58 ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 51
GDP ไตรมาส 1 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี หรือขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการบริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนที่ชะลอตัว ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 58 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 23.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายอาหารและเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่เร่งขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 58 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ -7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้หดตัวต่อเนื่องขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากนำเข้าแร่โลหะที่หดตัว ทั้งนี้ การส่งออกที่มากกว่านำเข้าทำให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลเล็กน้อยที่ 1.6 ร้อยล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าทุกหมวดที่เร่งขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 58 กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ขยายตัวเร่งขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 49.4 ลดลงจาก 49.6 จุดในเดือนก่อนหน้า จากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ลดลงต่อเนื่อง
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรปที่ขยายตัวเร่งขึ้นขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.8 จากเกือบทุกหมวดที่ขยายตัวเร่งขึ้น ยกเว้นน้ำมันและเครื่องดื่มและยาสูบทำให้ดุลการค้าเกินดุล 7.8 พันล้านริงกิต ผลผลิตภาค อุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 58 หดตัวร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 14.8 ในเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด ลดลงจากระดับ 49.6 จุดในเดือนก่อน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อน บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -11.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 58 หดตัวร้อยละ -22.1 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 48.8 จุด ลดลงจาก 49.2 จุดในเดือนก่อน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมากในช่วงต้นสัปดาห์และปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 1,500 จุด โดย ณ วันที่ 14 พ.ค. 58 ดัชนีฯ ปิดที่ 1,497 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายต่อวันเฉลี่ยทั้งสัปดาห์เพียง 34,641.3 ล้านบาท ผลจากการเทขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติ สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค เนื่องจากความกังวลในประเด็นการเจรจาหนี้ของกรีซ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางจีนในช่วงสุดสัปดาห์ก็ตาม ทั้งนี้ ดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์เป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น อีกทั้ง GDP ยูโรโซนออกมาดีกว่าคาด ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 14 พ.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิเพียง 87.8 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-16 bps โดยเป็นแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ จากความกังวลค่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่า ขณะที่อัตราฯ ระยะสั้นปรับตัวลดลง จากพันธบัตร ธปท. รุ่น 6 เดือนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากถึง 5.13 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 14 พ.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิสูงถึง 10,859.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ และกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 14 พ.ค. 58 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 35.31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน โดยแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.06 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลภูมิภาคอื่นๆ จากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.48 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th