เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 28, 2015 15:43 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนเมษายน 2558 พบว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ในภาพรวม สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่บ้าง สำหรับภาคการส่งออกสินค้ามีการหดตัวเล็กน้อย ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการขยายตัวในภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าผลผลิตภาคการเกษตรกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่อง ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนเมษายน 2558 ขยายตัวได้ในภาพรวม สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ในเดือนเมษายน 2558 ขยายตัวต่อเนื่องที่ ร้อยละ 12.8 ต่อปี ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ณ ราคาคงที่ ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -10.9 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในภาพรวมในเดือนเมษายน 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2558 หดตัวเป็นเดือนแรกหลังจากที่ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน โดยหดตัวร้อยละ -18.4 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และเขตภูมิภาค ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเมษายน 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -24.7 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ระดับ 66.0 และถือเป็นการปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน จากความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย รวมทั้งกำลังซื้อที่ลดลงจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายน 2558 พบว่า ขยายตัวได้ ร้อยละ 1.0 ต่อปี

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                  2557                   2557                                 2558
                                                   Q1      Q2       Q3      Q4      Q1      ก.พ.     มี.ค.     เม.ย.    YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)              0.4     -0.2     0.3      2.3    -0.9     1.0     -2.1      7.3       2.5     1.4
   %qoq_SA / %mom_SA                             -0.7    -1.7      1.5     0.1     0.6     -2.8      6.0      -2.6       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)          1.5     -3.8     0.4      0.2     8.1    10.0     32.5      5.2       1.0     8.3
   %qoq_SA / %mom_SA                             -3.0     3.2      0.4     6.9    -0.5     13.6     -9.5      -0.5       -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)           -41.4    -55.3   -37.7    -38.3   -27.9   -12.5    -12.5    -13.4     -24.7   -15.7
   %qoq_SA / %mom_SA                            -23.5     0.0     -6.2     0.1    -6.4     -3.0     -3.6      -1.0       -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)       -14.3    -20.8   -18.2     -8.1    -7.8    10.9      0.7     18.1     -18.4     4.1
   %qoq_SA / %mom_SA                             -8.7    -1.7      6.2    -3.2     9.7      1.5     12.9     -31.4       -
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)               -8.5     -3.0    -4.5     -7.7   -14.4   -11.4     -6.9    -17.8     -18.8   -13.0
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                      65.0     59.9    61.2     69.3    69.6    68.4     68.4     67.1      66.0    67.8

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนเมษายน 2558 ส่งสัญญาณชะลอตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนเมษายน 2558 หดตัวที่ร้อยละ -3.3 ต่อปี ขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนเมษายน 2558 หดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นสำคัญ เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบลดลง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลงสำหรับภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนเมษายน 2558 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อเดือน ในขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -27.3 ต่อปี สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าทุนในเดือนเมษายน 2558 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 10.6 ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม เมื่อหักสินค้าพิเศษเครื่องบินเรือและรถไฟพบว่าหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -3.7 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.4 ต่อเดือน

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                    2557                 2557                                  2558
                                                   Q1      Q2       Q3      Q4      Q1      ก.พ.     มี.ค.     เม.ย.    YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)      -2.2    -5.6    -5.9     -2.1     3.9     6.9      2.8      6.2       9.4     7.5
   %qoq_SA / %mom_SA                             -8.1    -3.7      9.8     6.4    -4.9     -8.6     -0.3       5.3       -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                -3.2    -2.4    -3.0     -2.9    -4.8    -2.5     -2.4      0.6      -3.3    -2.7
   %qoq_SA / %mom_SA                             -2.1     0.5     -2.1    -1.2     0.6      2.2      2.3      -2.1       -
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                          0.7     1.1     1.4      1.2    -0.8    -3.7     -3.8     -4.5      -4.3    -3.9
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)         -26.8   -36.6   -30.6    -20.4   -15.8   -11.3     -9.6    -10.6     -27.3   -15.1
   %qoq_SA / %mom_SA                            -13.8    -2.8      0.3    -0.9    -7.0     -1.2     -7.6     -10.9       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                  -7.6   -14.1   -12.6      0.0    -2.9     0.9      5.9     -6.9       5.5     2.0
   %qoq_SA / %mom_SA                             -5.1     0.6      6.7    -5.2    -0.2      1.1    -12.5      10.6       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน                -4.8   -11.4    -4.4     -4.0     1.3     0.1     10.2     -4.2     -3.7     -0.9
เรือและรถไฟ (%yoy)
   %qoq_SA / %mom_SA                             -0.1     1.4      0.0    -0.2    -0.9      5.7     -8.8      2.4        -

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนเมษายน 2558 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยผ่านการขาดดุลงบประมาณ พบว่าดุลงบประมาณในเดือนเมษายน 2558 ขาดดุลจำนวน -45.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในการเบิกจ่ายงบประมาณ รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมได้จำนวน 191.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.2 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 178.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 156.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 22.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปี สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลพบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 168.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.2 ต่อปี โดยมีรายการที่สำคัญ คือ (1) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริโภคในประเทศที่ยังคงเติบโตได้ดี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้าลดลงร้อยละ -12.0 ต่อปี สะท้อนการนำเข้าที่ยังคงชะลอตัว และ (2) การจัดเก็บภาษีฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 11.1 ต่อปี โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 และ 10.9 ต่อปี ตามลำดับ

เครื่องชี้ภาคการคลัง              FY2557                  FY2557                                     FY2558
(พันล้านบาท)                               Q1/     Q2/      Q3/      Q4/      Q1/      Q2/     ก.พ.    มี.ค.    เม.ย.    YTD
                                        FY57    FY57     FY57     FY57     FY58     FY58
รายได้สุทธิของรัฐบาล            2,074.7    503.5   437.2    608.5    525.5    507.4    468.0    149.6   157.7   168.0   1,143.4
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
(%y-o-y)                       -4.0     -1.0    -6.9     -5.2     -3.0      0.8      7.0      0.4    19.5    23.2       6.2
รายจ่ายรัฐบาลรวม              2,460.0    831.1   553.0    514.7    561.2    844.1    617.6    150.4   251.4   191.5   1,653.2
(%y-o-y)                        2.4      5.7    -5.6      6.8      2.2      1.6     11.7    -13.7    52.0    -2.2       4.6
ดุลเงินงบประมาณ                -384.3   -334.7  -115.9    105.6    -39.4   -347.3   -140.9     -7.6   -79.8   -45.0    -533.3

4. การส่งออกสินค้าในเดือนเมษายน 2558 มีการหดตัวเล็กน้อย โดยการส่งออกสินค้าในเดือนเมษายน 2558 มีมูลค่า 16.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 ต่อเดือนโดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ามาจากภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักของไทยในปัจจุบันที่ชะลอตัวลง ส่งผลต่อกำลังซื้อในตลาดโลก ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าที่หดตัวในเดือนเมษายน 2558 มาจากการส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยหดตัวที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่หดตัวร้อยละ -1.5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และยานพาหนะ ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 7.0 และ 7.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่หดตัวลดลงในเดือนเมษายน 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน-9 และอาเซียน-5 หดตัวร้อยละ -3.0 -3.5 -6.1 และ -11.6 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย และเวียดนาม ที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 26.7 และ 12.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหดตัวร้อยละ -6.8 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่มีมูลค่าต่ำกว่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนเมษายน 2558 ขาดดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก                       2557                     2557                                    2558
(สัดส่วนการส่งออกปี 56>>ปี 57)                     Q1        Q2       Q3       Q4       Q1      ก.พ.     มี.ค.     เม.ย.     YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                -0.4      -1.4       0.0     -1.8      1.6     -4.7     -6.1     -4.4      -1.7     -4.0
   %qoq_SA / %mom_SA                         -1.0      -0.8     -0.4      3.8     -6.2     -2.1     -2.2       2.8        -
1.จีน (11.9%>>>11.0%)               -7.9      -4.5      -4.2     -6.3    -15.3    -14.4    -15.1     -8.3       1.1    -11.0
2.สหรัฐฯ (10.0%>>>10.5%)             4.1       0.6       4.9      3.4      7.2      5.6      5.1      5.6       8.4      6.3
3.ญี่ปุ่น (9.7%>>>9.6%)                -1.9       0.7      -6.4     -1.0     -0.6     -9.2    -11.7     -8.4      -3.0     -7.8
4.สหภาพยุโรป (8.8%>>>9.2%)           4.7       4.8      10.9      2.0      1.7     -3.9     -4.7     -2.1      -3.5     -3.8
5.มาเลเซีย (5.7%>>>5.6%)            -1.9      -0.1      -1.4     -5.0     -1.0    -14.6    -19.3    -12.2     -24.6    -17.2
6.ฮ่องกง (5.8%>>>5.5%)              -4.4      -1.8       1.7    -13.5     -1.8    -11.5     -1.2    -32.5       4.0     -8.4
PS.อาเซียน-9 (26.0%>>>26.1%)         0.2      -5.4      -0.1      1.1      5.2     -2.4     -8.3      1.6      -6.1     -3.3
PS.อาเซียน-5 (17.6%>>>17.0%)        -3.9     -11.0      -4.1     -4.2      4.3     -9.4    -16.4     -7.1     -11.6    -10.0
PS.อินโดจีน-4 (8.3%>>>9.1%)           9.0       7.0       8.8     13.6      6.8     10.6      7.0     17.4       3.5      8.8

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานพบว่า ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถขยายตัวในระดับสูง เป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยโดยในเดือนเมษายน 2558 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในไทย (เบื้องต้น) 2.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 25.1 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีในระดับสูงมาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางระยะใกล้จากจีนและมาเลเซีย เป็นหลัก และเบื้องต้นในช่วง 12 วันแรกของเดือนพฤษภาคม 2558 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8.6 แสนคน ขยายตัวต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 22.9 ต่อปี สะท้อนการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนเมษายน 2558 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -13.3 ต่อปี ตามการหดตัวของผลผลิตข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวเปลือกที่หดตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จากสถานการณ์ ภัยแล้งและปริมาณน้ำในเขื่อนที่อยู่ในระดับต่ำจนต้องระงับการส่งน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ในขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือนเมษายน 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกันที่ร้อยละ -7.5 ต่อปี ตามราคายางพาราจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และราคาในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงที่หดตัวร้อยละ -9.4 และ -24.6 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสากรรมในเดือนเมษายน 2558 หดตัวร้อยละ -5.3 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่หดตัวลดลงที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ ฮาร์ดิสก์ไดรฟ์ เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ เป็นสำคัญ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ระดับ 86.2ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 จากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย และปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อการบริโภคและการใช้จ่ายโดยเฉพาะภาคเกษตร ประกอบกับในเดือนเมษายน 2558 มีวันหยุดต่อเนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                  2557                2557                                   2558
                                                Q1      Q2      Q3      Q4       Q1      ก.พ.      มี.ค.     เม.ย.     YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)           0.6     1.1     6.5     2.7    -4.3     -5.2     -0.5     -11.9     -13.3     -7.0
   %qoq_SA / %mom_SA                           3.3    -6.7     0.3    -1.0      1.2     -2.1      -5.2      -0.2        -
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)            -4.6    -7.0    -4.8    -3.9    -2.3     -3.4      3.0      -1.7      -5.3     -1.1
   %qoq_SA / %mom_SA                          -3.6    -1.9    -3.7     2.7     -1.2      2.3      -7.6      -1.1        -
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)      87.4    85.8    85.8    88.2    90.0     89.2     90.0      87.7      86.2     88.5
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                -6.7    -9.0   -15.9   -10.1     7.0     23.5     29.6      25.5      25.1*    23.9*
   %qoq_SA / %mom_SA                         -10.3    -2.7     7.8    13.4      4.3      2.9      -2.2       1.9        -
*ข้อมูลเบื้องต้น

          6. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน 2558 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -1.0 ต่อปี เนื่องมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลักรวมถึงการลดลงของราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมและราคาเนื้อสัตว์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.24 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.3 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558 ที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ 161.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.9 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                 2557                  2557                                    2558
                                                Q1       Q2      Q3       Q4      Q1      ก.พ.      มี.ค.      เม.ย.     YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                     1.9      2.0     2.2      2.0      1.1    -0.5     -0.5      -0.6       -1.0     -0.7
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                    1.6      1.2     1.7      1.8      1.7     1.5      1.5       1.3        1.0      1.4
อัตราการว่างงาน (yoy%)                  0.8      0.9     1.0      0.8      0.6     0.9      0.8       1.0        0.9      0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                        42.8     42.9    43.4     43.5     42.8    43.3     43.3      43.3        n.a.    43.3
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)               14.2      5.5    -0.6     -0.5      8.7     8.2      3.5       2.2        n.a.     8.2
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)             157.1    167.5   168.2    161.6    157.1   156.3    156.9     156.3      161.1    161.1
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)           23.1     23.6    23.7     24.7     23.1    19.6     20.8      19.6       18.5     18.5
ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)     2.7      2.8     2.7      2.7      2.7     2.9      2.9       2.9          -      2.9

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ