Executive Summary
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ค. 58 ปีงปม. 58 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ต่อปี ขณะที่ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ค. 58 ขาดดุลจำนวน -44.6 พันล้านบาท
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. 58 เกินดุล 2,126.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 5.6 ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- หนี้ภาคครัวเรือน ไตรมาส 1 ปี 58 อยู่ที่ 10.57 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 79.9 ของ GDP
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,687.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.6 ของ GDP
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนพ.ค. 58 หดตัวที่ร้อยละ-7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การจ้างงานเดือน พ.ค. 58 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือน พ.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -1.1 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9
- GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 2 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Jun: Motorcycle Sales (%YOY) -5.5 -5.4
- ตามรายได้เกษตรกรที่คาดว่าน่าจะหดตัวต่อเนื่องจากภาวะภัยแล้ง ทำให้กำลังซื้อของประชาชนยังคงซบเซา กอปรกับการเร่งการบริโภคก่อนหน้านี้ในช่วง มี.ค. จากโปรโมชั่นของผู้จัดจำหน่าย
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ค. 58 ปีงปม. 58 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 176.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 164.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 139.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ต่อปี (2) รายจ่ายลงทุน 24.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 22.6 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 10.0 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 8.4 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 12.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม. 58 ในช่วง 8 เดือนแรกปีงปม. 58 เบิกจ่ายได้ 1,667.0 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 64.7 ของวงเงินงปม.
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ค. 58 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -44.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -4.8 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน -15.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 58 ดุลเงินงบประมาณขาดดุล -541.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 58 รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลไปแล้วทั้งสิ้น 181.4 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพ.ค. 58 มีจำนวน 134.2 พันล้านบาท
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. 58 เกินดุล 2,126.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,113.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลจากดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้นมากมาที่ 4,151.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี 9 เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าที่หดตัวในระดับสูง และหดตัวทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ตกต่ำ และสินค้าอุปโภค บริโภค และสินค้าทุนที่หดตัวจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ สำหรับมูลค่าส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำ อุปสงค์จากเอเชียชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงอุปสงค์ต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ชะลอตัว ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลเพิ่มขึ้นและขาดดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มาที่ 2,024.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างประเทศในไทย ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 5 เดือนแรกของปี 58 เกินดุล 11,478.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- การจ้างงานเดือน พ.ค. 58 อยู่ที่ 37.57 ล้านคน หดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ลดลงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ -7.1 ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 2.7 โดยสาขาที่การจ้างงานเพื่มขึ้นมาจากสาขาการก่อสร้างเป็นสำคัญ โดยมีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.9 แสนคน นอกจากนี้ การจ้างงานในภาคบริการอื่นที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ สาขาการขายส่งการขายปลีก สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขากิจกรรมทางการเงิน เป็นต้น ในขณะที่ อัตราการว่างงานในเดือน พ.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.54 แสนคน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -1.1 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -1.3 โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ในรอบเดือน พ.ค.- ส.ค. 58 ตามราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 58 มียอดคงค้าง 15.7 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยสินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นในธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ชะลอลงในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 58 มียอดคงค้าง 16.8 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.03 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยการเร่งขึ้นของเงินฝากส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับยอดเงินฝากของเดือนก่อนหน้าจะเห็นว่าอัตราการขยายตัวค่อนข้างต่ำ หลังจากที่สถาบันการเงินได้เร่งระดมเงินฝากไปแล้วในช่วงต้นปี
- หนี้ภาคครัวเรือน ไตรมาส 1 ปี 58 อยู่ที่ 10.57 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.9 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่อยู่ที่ร้อยละ 79.7 ของ GDP (ตัวเลขปรับปรุง) หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 10 ทั้งนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (สินเชื่อ Non-bank) ขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างทรงตัว ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวชะลอลง และสินเชื่อรถยนต์หดตัว
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,687.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.6 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 88.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) (ร้อยละ 97.40 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (ร้อยละ 94.13ของยอดหนี้สาธารณะ)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนพ.ค. 58 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ-7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องประดับ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี มีบางอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ หากพิจารณาแบบปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (%mom_sa) พบว่าหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -1.7
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มิ.ย. 58 คาดว่า จะหดตัวที่ร้อยละ -5.5 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ที่หดตัวร้อยละ -5.4 ตามรายได้เกษตรกรที่คาดว่าน่าจะหดตัวต่อเนื่องภาวะภัยแล้ง ทำให้กำลังซื้อของประชาชนยังคงซบเซา กอปรกับการเร่งการบริโภคก่อนหน้านี้ในช่วง มี.ค. จากโปรโมชั่นของผู้จัดจำหน่าย
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 101.4 จุด ปรับสูงขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 94.6 จุด จากดัชนีสถานการณ์ปัจจุบันและดัชนีคาดการณ์อนาคตที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม หรือเท่ากับจำนวนผู้ว่างงาน 8.3 ล้านคน อนึ่ง อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 62.6 ของประชากรวัยแรงงาน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 53.5 จุด สูงกว่าเดือนก่อนหน้าจากดัชนีหมวดสินค้าคงคลังที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นหลัก บ่งชี้ความแข็งแกร่งของภาคการผลิตสหรัฐฯ
ธนารคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน มิ.ย. 58 ลง 25bps เป็นการปรับลดครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ปลายปี 57 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 4.85 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม โดย HSBC เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 49.4 จุด อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ สอดคล้องกับดัชนีฯ โดยทางการจีน เดือน มิ.ย. 58 ที่อยู่ที่ระดับ 50.2 จุด ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของทางการจีน เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด เพิ่มขึ้นจาก 53.2 จุด ในเดือนก่อน
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 58 ทรงตัวที่ร้อยละ 11.1 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 55 อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 (เบื้องต้น)อยู่ที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น หมวดอาหารทรงตัว และหมวดบริการปรับลดลงเล็กน้อย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 52.5 จุด สูงที่สุดในรอบ 14 เดือน โดยมีสัญญาณฟื้นตัวในทุกประเทศนอกจากกรีซ
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน พ.ค. 58 หดตัวร้อยละ -2.2 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการผลิตสินค้าเกือบทุกหมวดที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ยกเว้น เหล็ก สิ่งทอ อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังคงขยายตัวเป็นบวก ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายทุกหมวดที่เป็นบวกต่อเนื่อง ยกเว้นน้ำมัน
ยอดขายปลีก เดือน พ.ค. 58 หดตัวร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ -2.1 ในเดือนก่อน หดตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
มูลค่าส่งออก เดือน พ.ค. 58 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ -6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังญี่ปุ่น จีน และอาเซียนที่หดตัวสูง ขณะที่มูลค่านำเข้ากลับมาหดตัวร้อยละ -3.5 จากการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางที่ยังคงหดตัว ทั้งนี้ ดุลการค้าขาดดุล 748 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดขายอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่เร่งขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 47.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จากดัชนีบรรยากาศการดำเนินธุรกิจและผลผลิตที่ปรับลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 58 ลดลงมาที่ระดับ 111.3 จุด จากความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคก่อสร้าง เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 58.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ขณะที่ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 26 เดือนที่ 51.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อน จากยอดสั่งซื้อสินค้าทุนที่ลดลง อีกทั้งคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกลดลงจากเงินปอนด์แข็งค่า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 51.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีผลผลิตที่ลดลงและคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 6 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับเพิ่มขึ้น
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 58 หดตัวร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 46.1 จุด ต่ำสุดในรอบ 33 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 46.3 จุด ลดลงจากระดับ 49.3 จุด ในเดือนก่อน นับเป็นการปรับลดลงมากที่สุดในรอบ 43 เดือน
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก ร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน จากภาคก่อสร้างที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 13.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่เร่งตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับมูลค่าส่งออกและนำเข้า เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 15.5 และ 20.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนี SET ปรับลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ โดยปิดตลาด ณ วันที่ 2 ก.ค. 58 ต่ำกว่าระดับ 1,500 จุด มาอยู่ที่ระดับ 1,491.62 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายต่อวันเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ที่ 43,975.4 ล้านบาท ด้วยแรงขายจากนักลงทุนชาวต่างชาติและนักลงทุนสถาบันในประเทศ จากความกังวลของนักลงทุนในประเด็นการเจรจาหนี้ของกรีซที่ยังไม่มีข้อสรุป และความเป็นไปได้ที่กรีซจะต้องออกจากกลุ่มยูโรโซน ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ลงก็ตาม ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 4,280.7 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะกลาง-ยาวปรับลดลง 1-5 bps จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศจากการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนถึง 1.27 1.06 และ 1.94 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 761.5 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาททรงตัว โดย ณ วันที่ 2 ก.ค. 58 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 33.77 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงเพียงร้อยละ 0.09 จากสัปดาห์ก่อน โดยค่าเงินยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงเช่นกัน ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆโดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.09 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th