Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) เดือน มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 จากปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -6.3 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP จีน ไตรมาสที่ 2 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดส่งออก ของยูโรโซน เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ขณะที่ยอดนำเข้า เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีก ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ขณะที่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecas Previous Jun: ยอดขายรถยนต์นั่ง (%YOY) -18.5 -21.1
- ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน รวมทั้งระดับความเชื่อมั่นในการบริโภคและราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ทำให้การบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวในระดับสูง
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) เดือน มิ.ย. 58 ได้ทั้งสิ้น 257.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.3 จากปีก่อน และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 11.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละร้อยละ -4.4 ซึ่งมีรายการสำคัญดังนี้ (1) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บไดเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากปีก่อน เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริโภคในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้าที่ลดลงเล็กน้อย ที่ร้อยละ -0.9 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง เป็นสำคัญ และ (2) การจัดเก็บภาษีฐานรายได้ลดลงร้อยละ 20.5 จากปีก่อน เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.7 จากปีก่อน ซึ่งผลกระทบจากผู้ประกอบการเปลี่ยนยื่นชำระภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากกว่าที่คาดไว้ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากปีก่อน ตามภาษีฐานเงินเดือนและดอกเบี้ยที่ยังขยายตัวได้ดี และสอดคล้องกับการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 58 (ต.ค. 57 - มิ.ย. 58) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ทั้งสิ้น 1,631.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 จากปีก่อน แต่ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร 65.6 พันล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ -3.9
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน มิ.ย. 58 มีมูลค่า 56.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวได้จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.5 โดยเป็นการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.9 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้ากลับมาขยายตัวได้เช่นกันที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ -19.4 ทั้งนี้ จากการจัดเก็บภาษีการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี ทำให้ในไตรมาสที่ 2/58 ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยรวม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวได้ร้อยละ 1.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.0
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 58 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 ต่อปีและเมื่อหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 58 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -1.4 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -7.7 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล(%mom_sa)ตามการหดตัวของผลผลิต ข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวเปลือกที่หดตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จากสถานการณ์ภัยแล้งและปริมาณน้ำเขื่อนในระดับต่ำจนต้องระงับการส่งน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูกข้าว โดยตั้งแต่ต้นปี 58 ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกหดตัวร้อยละ -33.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ -8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%QoQ_sa)
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือน มิ.ย. 58 ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกันที่ร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.2 แต่คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล (%mom_sa) ตามการหดตัวของราคายางพารา จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง และราคาสินค้าในหมวดปศุสัตว์และหมวดประมง ที่ราคาหดตัวเนื่องจากผลผลิตขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาในกลุ่มไม้ผล อาทิ ทุเรียน สับปะรด มังคุด เงาะ และลิ้นจี่ ขยายตัวได้ในระดับสูง ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล (%QoQ_sa)
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 58 คาดว่าหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน รวมทั้งระดับความเชื่อมั่นในการบริโภคและราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ทำให้การบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวในระดับสูง
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือกลับมาหดตัวร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากยอดขายรถยนต์และอาหารที่หดตัว ขณะที่ยอดขายน้ำมันชะลอตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ผลจากผลผลิต รถยนต์และเครื่องใช้ที่ชะลอตัว
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับเป้าหมายสำหรับปี 58 ที่ทางการจีนตั้งไว้ร้อยละ 7.0 ด้านการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 ขยายตัวร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 4 เดือน ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 4 เดือน ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 58 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 เดือนขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -6.3 หดตัวเป็นเดือนที่ 8 จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งอุปสงค์ในจีนยังอ่อนแอ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 58 ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลจากการหดตัวของการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เหมืองแร่ และไฟฟ้า ยอดส่งออก เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากทุกหมวดสินค้า ยอดนำเข้า เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากทุกหมวดสินค้าเช่นกัน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ 21.2 พันล้านยูโรอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น หมวดอาหารทรงตัว และหมวดบริการปรับลดลงเล็กน้อย
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน พ.ค. 58 หดตัวร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ -4.0 จากการผลิตสินค้าหมวดเหล็ก และชิ้นส่วนอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
มูลค่าส่งออกเดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 จากการส่งออกน้ำมันดิบ ก๊าซ และเหมืองแร่ที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -17.4 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 เช่นกันจากน้ำมันดิบและก๊าซที่หดตัวเป็นเดือนที่ 8 การส่งออกที่มากกว่าการนำเข้าส่งผลให้ ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 58 เกินดุล 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 58 หดตัวร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -1.7 จากเดือนก่อนหน้า จากการหดตัวของการส่งออกไปยังยุโรปและอเมริกาใต้ มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 58 หดตัวร้อยละ -5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -2.0 จากเดือนก่อนหน้า จากการหดตัวของการนำเข้าจากทุกทวีป ยกเว้นจากทวีปอเมริกาที่ยังขยายตัวได้ อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคาในหมวดอาหาร ขนส่ง และนันทนาการ อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยทรงตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน จากราคาสินค้าเกือบทุกหมวดที่ปรับตัวลดลง ยกเว้นหมวดอาหาร
GDP ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากภาคการผลิตที่หดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการส่งออกไปยังกลุ่มยูโรโซน สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ที่หดตัวเป็นหลัก มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -4.1 จากสินค้าหมวดเชื้อเพลิงพลังงาน เนื้อสัตว์ และสินค้าภาคการผลิต ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลมูลค่า 4.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 58 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มูลค่าการส่งออก (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 มูลค่าการนำเข้า (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -13.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ทำให้ดุลการค้า (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน มิ.ย. 58 เกินดุล 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนจากราคาสินค้าหมวดมิใช่อาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
- ดัชนี SET เคลื่อนไหวในกรอบแคบและปรับลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ โดยปิดตลาด ณ วันที่ 16 ก.ค. 58 มาอยู่ที่ระดับ 1,481.26 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายต่อวันเบาบาง เฉลี่ยทั้งสัปดาห์ที่ 34,177 ล้านบาท เป็นผลจากแรงขายทำกำไรของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนรายย่อยในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยนักลงทุนยังคงติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ และราคาน้ำมันที่ลดลงจากการเจรจาอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจประเด็นข้อตกลงนิวเคลียร์ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 ก.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 997 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง 2-11 bps จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น Benchmark bond อายุ 10 ปี ที่ได้รับความสนใจจาก นักลงทุนถึง 1.96 เท่าของวงเงินประมูล และตัวเลข GDP จีนในไตรมาสที่ 2 ปี 58 ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 ก.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 10,169.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 16 ก.ค. 58 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงร้อยละ 0.69 จากสัปดาห์ก่อน และเป็นระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบกว่า 6 ปี อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นมาก ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงในระดับที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉพาะเยนที่กลับอ่อนค่าลง ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.03 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th