Executive Summary
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. 58 ปีงปม. 58 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 201.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 58 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 146.5 พันล้านบาท
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 84.0
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 21,283 คัน หรือ คิดเป็นการหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -35.4
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 39,039 คัน หรือหดตัวร้อยละ -4.5
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ในระดับต่ำ ที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ของจีน เดือน ก.ค. 58 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 48.2 จุด
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน เดือน ก.ค. 58 (เบื้องต้น) อยู่ที่ -7.1 จุด
- มูลค่าส่งออกของญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ มูลค่านำเข้าเดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -2.9
- ยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรเดือน มิ.ย.58 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -0.3
Indicators Forecast Previous Jun : MPI (%YOY) -5.3 -7.6
- ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือน และลดลงต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 58 ที่ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 6 อาจส่งผลให้คำสั่งซื้อภายในประเทศลดลง อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของประเทศ คู่ค้าอาจส่งผลให้มีการผลิตเพื่อให้สอดรับกับคำสั่งซื้อภายนอกประเทศเพิ่มขึ้น
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. 58 ปีงปม. 58 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 201.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 186.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 156.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ต่อปี (2) รายจ่ายลงทุน 29.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.6 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 35.5 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 8.0 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 7.7 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 17.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม. 58 ในช่วง 9 เดือนแรกปีงปม. 58 เบิกจ่ายได้ 1,853.5 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 72.0 ของวงเงินงปม.
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน มิ.ย. 58 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 146.5 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -16.8 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจำนวน 129.7 พันล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 58 ดุลเงินงบประมาณขาดดุล -395.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 58 รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลไปแล้วทั้งสิ้น 181.4 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิ.ย. 58 มีจำนวน 263.8 พันล้านบาท
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 85.4 ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 6 จากความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยลบทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบสำคัญต่อรายได้เกษตรกร และกำลังซื้อในภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี การค้าชายแดนยังคงขยายตัวได้ดี ซึ่งสามารถพยุงการส่งออกของไทยได้ต่อไป
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 21,283 คัน หรือ คิดเป็นการหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -35.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.1 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -10.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน และราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ทำให้การบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวในระดับสูง กอปรกับการเร่งการบริโภคไปก่อนหน้านี้จากนโยบายรถคันแรก ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 2 ปี 58 ปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -27.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -13.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 39,039 คัน หรือหดตัวร้อยละ -4.5 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวร้อยละ 13.8 ต่อเดือน สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถกระบะ 1 ตันในเดือน มิ.ย.58 ที่ยังคงหดตัวเช่นกัน โดยมียอดจำหน่ายอยู่ที่ 30,279 คัน หรือหดตัวที่ร้อยละ -10.0 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวร้อยละ 11.2 ต่อเดือน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. 58 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือน และลดลงต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 58 ที่ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 6 อาจส่งผลให้คำสั่งซื้อภายในประเทศลดลง อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า อาจส่งผลให้มีการผลิตเพื่อให้สอดรับกับคำสั่งซื้อภายนอกประเทศเพิ่มขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 9.8 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เร่งขึ้นจากทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมีเนียม ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงเล็กน้อยจากบ้านทุกประเภท ดัชนีราคากลางของบ้าน เดือน พ.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เพิ่มขึ้นจากราคาบ้านในภาคตะวันตกที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ ด้านยอดขายบ้านมือสอง เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 573,000 หลัง เพิ่มขึ้นจากยอดขายบ้านประเภทคอนโดมีเนียม ขณะที่ราคากลางบ้านมือสอง เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 236,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 จากบ้านทุกประเภท บ่งชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากราคาอาหารเครื่องดื่มและราคาหมวดที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมโดย HSBC (เบื้องต้น) เดือน ก.ค. 58 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 48.2 จุด จากระดับ 49.4 จุด นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน สะท้อนภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 58 (เบื้องต้น) อยู่ที่ -7.1 จุด ลดลงจาก -5.6 จุด โดยแม้ว่าเศรษฐกิจในภาพรวมของยูโรโซนจะปรับตัวดีขึ้น แต่ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์กรีซในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ที่มีทั้งการผิดนัดชำระหนี้ IMF เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 58 การจัดทำประชามติเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 58 และการตกลงต่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้รอบใหม่ในช่วงกลางเดือน ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวม
มูลค่าส่งออก เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอาทิ ยุโรป สหรัฐฯ และเอเชียที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องส่วนมูลค่านำเข้า เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าเชื้อเพลิงและพลังงานที่หดตัวต่อเนื่องจากผลทางด้านราคาเป็นหลักส่งผลให้ดุลการค้าเดือนดังกล่าวขาดดุลเพียง 6.9 พันล้านเยน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เดือน ก.ค. 58 (ตัวเลขเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 51.4 จุด จากระดับ 50.1 จุด ในเดือนก่อนหน้า จากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง โดยดัชนีฯดังกล่าวที่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนถึงกิจกรรมภาคการผลิตในเดือน ก.ค. 58 ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง
ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวในหมวดสินค้าในครัวเรือน อาหาร และน้ำมัน ขณะที่การบริโภคเร่งขึ้นในหมวดค้าปลีก และเครื่องนุ่งห่ม
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หรือลดลงร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากราคาสินค้าหมวดที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ที่ปรับตัวลดลง
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากการแพร่ระบาดของโรค MERS และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลให้ภาคส่งออกสินค้าและบริการชะลอตัว
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.5 โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังคงหดตัว ในขณะที่การผลิตภาคเหมืองแร่กลับมาขยายตัวได้ อัตราว่างงาน เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.75 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้า
อัตราว่างงาน เดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม โดยทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าวเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหาร ที่อยู่อาศัย และสาธารณูปโภค ที่เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
มูลค่านำเข้า เดือน พ.ค. 58 หดตัวร้อยละ -13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นเป็นเดือนที่ 3 จากการนำเข้าอุปกรณ์ด้านการขนส่งและผลิตภัณฑ์ธัญพืชที่หดตัว ทั้งนี้ การนำเข้าที่หดตัวมากกว่าการส่งออกส่งผลให้ ดุลการค้า เดือน พ.ค. 58 กลับมาเกินดุล 508 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดสุราและบุหรี่ ค่ารักษาพยาบาล การศึกษา และบริการทางการเงิน ขณะที่ราคาในหมวดการขนส่ง สื่อสาร และเครื่องนุ่งห่มยังคงหดตัว
- ดัชนี SET ปรับลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี ในวันที่ 23 ก.ค. 58 โดยปิดตลาดที่ระดับ 1,444.66 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายต่อวันเบาบางเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ที่ 33,569 ล้านบาท ผลจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ผลจากความกังวลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย เนื่องจาก ส.อ.ท. คาดการณ์ GDP ไทยทั้งปี 58 ขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 3.0 และ สศก. คาดการณ์ ตัวเลข GDP ไทยภาคเกษตรหดตัวจากสถานการณ์ภัยแล้ง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 23 ก.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 5,412.2 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างนิ่ง โดยมีปริมาณการซื้อขายเบาบาง เนื่องจากตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ โดยนักลงทุนบางส่วนกำลังติดตามท่าทีของ FOMC ที่จะมีการประชุมในวันที่ 27-28 ก.ค. 58 นี้ โดยเฉพาะประเด็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 23 ก.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 698.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 23 ก.ค. 58 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 34.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงร้อยละ 1.99 จากสัปดาห์ก่อน และเป็นระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบกว่า 6 ปี เป็นในทิศทางเดียวกับค่าเงินวอนเกาหลี และดอลลาร์สิงคโปร์ จากดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 1.83 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th