นายกฤษฎาฯ สรุปว่า "การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 7 สะท้อนถึงความพยายามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป"
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2558 ปีงบประมาณ 2557 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,636,035 1,553,896 82,139 5.3 2. รายจ่าย 2,031,288 1,898,783 132,505 7 3. ดุลเงินงบประมาณ -395,253 -344,887 -50,366 14.6 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -18,017 -56,772 38,755 -68.3 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -413,270 -401,659 -11,611 2.9 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 181,362 187,887 -6,525 -3.5 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -231,908 -213,772 -18,136 8.5 8. เงินคงคลังปลายงวด 263,839 391,282 -127,443 -32.6 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังโทร 0 2273 9020 ต่อ 3563
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนมิถุนายน 2558
และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 - มิถุนายน 2558)
ในเดือนมิถุนายน 2558 รัฐบาลเกินดุลเงินสดจำนวน 129,689 ล้านบาท โดยเป็น การเกินดุลเงินงบประมาณ 146,520 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 16,831 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 413,270 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 181,362 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มีจำนวน 263,839 ลานบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 347,847 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แลว 23,476 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 7.2) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีน้ำมันที่สูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และการนำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล งวดที่ 2
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณ จำนวน 201,327 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 36,773 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 22.3) แบ่งเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 186,535 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 32,109 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 20.8) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 156,676 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แลวรอยละ 15.4 รายจ่ายลงทุน 29,859 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 59.6 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจำนวน 14,792 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว 4,664 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 46.1) (ตารางที่ 1)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ไดแก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 35,459 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 8,042 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 7,702 ล้านบาท
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนมิถุนายน 2558
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน เปรียบเทียบ 2558 2557 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 186,535 154,426 32,109 20.8 1.1 รายจ่ายประจำ 156,676 135,722 20,954 15.4 1.2 รายจ่ายลงทุน 29,859 18,704 11,155 59.6 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 14,792 10,128 4,664 46.1 3. รายจ่ายรวม (1+2) 201,327 164,554 36,773 22.3 ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ ดุลเงินงบประมาณในเดือนมิถุนายน 2558 เกินดุล 146,520 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณ ที่ขาดดุล 16,831 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ ทำใหรัฐบาลเกินดุลเงินสดจำนวน 129,689 ลานบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมิถุนายน 2558
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน เปรียบเทียบ 2558 2557 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 347,847 324,371 23,476 7.2 2. รายจ่าย 201,327 164,554 36,773 22.3 3. ดุลเงินงบประมาณ 146,520 159,817 (13,297) (8.3) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (16,831) (13,155) (3,676) 27.9 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 129,689 146,662 (16,973) (11.6) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 0 1,183 (1,183) (100.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 129,689 147,845 (18,156) (12.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 - มิถุนายน 2558)
2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,636,035 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 82,139 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 5.3) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การนำส่งสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียนและการนำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 3G ความถี่ 2.1 GHz
2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 2,031,288 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปที่แลว 132,505 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 7.0) ประกอบดวยรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,853,518 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 72.0 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.8 และรายจ่ายปีก่อน 177,770 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.5 (ตารางที่ 3)
รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,853,518 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 1,658,407 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 76.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,155,348 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8 และรายจ่ายลงทุน 195,111 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 46.5 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 419,652 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.7
ตารางที่ 3 การเบิกจายเงินงบประมาณในช่วง 9 เดือนแรกของปงบประมาณ 2558
(ตุลาคม 2557 - มิถุนายน 2558)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2558 ปีงบประมาณ 2557 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปัจจุบัน 1,853,518 1,720,033 133,485 7.8 1.1 รายจ่ายประจำ 1,658,407 1,510,864 147,543 9.8 1.2 รายจ่ายลงทุน 195,111 209,169 (14,058) (6.7) 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 177,770 178,750 (980) (0.5) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,031,288 1,898,783 132,505 7.0 ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 413,270 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 395,253 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 18,017 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินจำนวน 181,362 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกูเพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับ 231,908 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 263,839 ล้านบาท(ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปงบประมาณ 2558
(ตุลาคม 2557 - มิถุนายน 2558)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2558 ปีงบประมาณ 2557 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,636,035 1,553,896 82,139 5.3 2. รายจ่าย 2,031,288 1,898,783 132,505 7.0 3. ดุลเงินงบประมาณ (395,253) (344,887) (50,366) 14.6 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (18,017) (56,772) 38,755 (68.3) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (๓+๔) (413,270) (401,659) (11,611) 2.9 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 181,362 187,887 (6,525) (3.5) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (๕+๖) (231,908) (213,772) (18,136) 8.5 8. เงินคงคลังปลายงวด 263,839 391,282 (127,443) (32.6) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3563
--กระทรวงการคลัง--