Executive Summary
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 2.44 ล้านล้านบาท
- จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในเดือน ก.ค. 58 ขยายตัว ร้อยละ 38.0 ต่อปี
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 58 หดตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี
- GDP มาเลเซีย ไตรมาส 2 ปี 58 ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าส่งออกของจีน เดือน ก.ค. 58 หดตัวร้อยละ -8.4 ขณะที่ มูลค่านำเข้า เดือน ก.ค. 58 หดตัวร้อยละ -8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่น เดือน ก.ค. 58 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.0
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอินเดีย เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous July : API(%YOY) -0.4 -6.3
- จากผลผลิตข้าวที่คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ดี ผลผลิตในหมวดผลไม้คาดว่าจะขยายตัวได้ โดยเฉพาะลำไย และเงาะโรงเรียน รวมทั้งผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงที่คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน มิ.ย. 58 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.44 ล้านล้านบาท จากการลดลงของการถือหลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพันและการสำรองเงินสดที่ธนาคาร สอดคล้องกับสินทรัพย์สภาพคล่องสูงที่ลดลงมาอยู่ที่ 4.11 แสนล้านบาท ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินคิดเป็น 3.2 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก)
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 58 หดตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เดือน ก.ค. 58 หดตัวที่ร้อยละ -2.8 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 58 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -1.5 ต่อปี
- จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในเดือน ก.ค. 58 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.64 คน ขยายตัวร้อยละ 38.0 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลแล้ว โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยเฉพาะจีนและมาเลเซีย เป็นหลัก ทำให้ 7 เดือนแรกปี 58 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 17.5 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 30.7 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 8.18 แสนล้านบาท 17.5 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 30.7 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 8.18 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.6 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 58 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนจากผลผลิตข้าวที่คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ดี ผลผลิตในหมวดผลไม้คาดว่าจะขยายตัวได้ โดยเฉพาะลำไย และเงาะโรงเรียน รวมทั้งผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงที่คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ค. 58 เพิ่มขึ้น 215,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อน จากภาคค้าส่งค้าปลีก การศึกษาและสุขภาพ และบริการทางธุรกิจและวิชาการส่งผลให้อัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 58 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัว 0.6 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากยอดขายรถยนต์ และอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวดี
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 58 กลับมาหดตัวร้อยละ -8.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นที่หดตัว มูลค่านำเข้า เดือน ก.ค. 58 หดตัวร้อยละ -8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 58 เกินดุล 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน การลงทุนในสินทรัพย์คงทน เดือน ก.ค. 58 ชะลอลงต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เช่นเดียวกับยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ Caixin เดือน ก.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด สูงสุดในรอบ 11 เดือน เมื่อวันที่ 11-13 ส.ค. 58 ธนาคารกลางจีนปรับลดค่าเงินหยวนกว่าร้อยละ 4.7 จากตัวเลขการส่งออกที่อ่อนแอ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หดตัวร้อยละ -0.4 (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลจากการหดตัวในหมวดสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 58 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.0 จาก 42.4 จุดในเดือนก่อนหน้า สะท้อนความเปราะบางของการใช้จ่ายภาคเอกชน ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าส่วนใหญ่ที่ขยายตัวได้ดี อาทิ หมวดอาหารและยาสูบ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้สำนักงาน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เร่งตัว
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่กลับมาหดตัวในระดับสูง
มูลค่าส่งออก เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกไปสหรัฐฯ และจีนที่หดตัวชะลอลง ยอดขายสุทธิ เดือน มิ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -10.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากยอดขายอาหาร สื่อสิงพิมพ์ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
GDP ไตรมาส 2 ปี 58 ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อน ผลจากภาคการส่งออกที่หดตัวลงในไตรมาสดังกล่าวผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 58 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือทรงตัวจากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการผลิตในหมวดเหมืองแร่และไฟฟ้าที่ชะลอตัว
GDP ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 หรือเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวร้อยละ -1.0 จากไตรมาสก่อนหน้า ผลจากภาคการผลิตที่หดตัวต่อเนื่อง
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 13.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) สะท้อนการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศที่ยังขยายตัวได้แข็งแกร่ง ส่วนดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 13.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าเกือบทุกหมวดที่ขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 12.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 14.2 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลมูลค่า -300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 58 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าเกือบทุกหมวดที่ปรับตัวลดลง ยกเว้นหมวดอุปกรณ์ในครัวเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม Nikkei Markit เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.1 จุด ในเดือนก่อน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม Nikkei Markit เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.1 จุด ในเดือนก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 58 หดตัวร้อยละ -11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 58 หดตัวร้อยละ -17.4 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 58 ขาดดุล 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนี SET ปรับตัวลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ โดยลดลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 2 เดือน ในวันที่ 13 ส.ค. 58 และปิดที่ 1,404.15 จุดในวันเดียวกัน ด้วยมูลค่าซื้อขายต่อวันเบาบางเฉลี่ยทั้งสัปดาห์เพียง 38,986 ล้านบาท ผลจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติและสถาบันในประเทศ เนื่องจากความกังวลของนักลงทุน หลังจากธนาคารกลางจีนปรับลดค่าเงินหยวนต่อเนื่อง 3 วันในสัปดาห์นี้ และราคาน้ำมันในตลาดโลกตลอดจนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง กดดันให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 10 - 13 ส.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 3,890.8 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะมากกว่า 1 ปี ปรับตัวลดลง 1-5 bps จากแรงซื้อของนักลงทุนชาวต่างชาติเป็นหลัก โดยการประมูลพันธบัตรรัฐบาล Benchmark อายุ 15 ปี ทีได้รับความสนใจจากนักลงทุน 1.69 เท่าของวงเงินประมูล และการที่ธนาคารกลางจีนปรับลดค่าเงินหยวนดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนตัดสินใจเข้าซื้อพันธบัตรแทนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 10 - 13 ส.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 3,754.7 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 13 ส.ค. 58 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 35.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.29 จากสัปดาห์ก่อน เป็นในทิศทางเดียวกับค่าเงินส่วนใหญ่ยกเว้นเงินยูโรและเยน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.53 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th