Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 61.5
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค. 58 มีจำนวน 143,943 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -6.4
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,718.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.9 ของ GDP
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 58 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ 2.37 ล้านล้านบาท
- GDP จีน ปี 57 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ยูโรโซน ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม
- ยอดค้าปลีกของยูโรโซน เดือน ก.ค. 58 ขยายตัว ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร เดือน moก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Aug : Cement Sale (%YOY) -1.8 -2.0
- เนื่องจากภาคเอกชนยังคงรอดูแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและทิศทางของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 61.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 62.6 ลดลงต่ำสุด ในรอบ 15 เดือน และลดลงต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน จากความกังวลใจเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ที่มีปัจจัยลบจากการส่งออกที่ยังไม่ส่งสัญญาณฟื้นตัว กอปรกับราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลต่อความเสียหายแก่ผลผลิตสินค้าทางการเกษตร ทำให้กำลังซื้อของประชาชนยังคงไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 58 อยู่ที่ระดับ 65.5 ซึ่งยังคงเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 57 ที่ผ่านมา
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค. 58 มีจำนวน 143,943 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังจากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยในเขตกรุงเทพมหานครปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 1.8 ขณะที่ในเขตชนบทปริมาณ การจำหน่ายยังคงหดตัวร้อยละ -8.6 แต่เป็นการหดตัวที่ชะลอลง เป็นผลจากรายได้ภาคเกษตรกรที่ยังคง หดตัวต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนยังคงชะลอการบริโภคออกไป ทั้งนี้ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 8 เดือนแรกของปี 58 (ม.ค. - ส.ค.) หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.0
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,718.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.9 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 34.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) (ร้อยละ 98.0 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ ในประเทศ (ร้อยละ 94.0ของยอดหนี้สาธารณะ)
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน ก.ค. 58 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ 2.37 ล้านล้านบาท สอดคล้องกับเงินรับฝากที่ลดลง โดยสภาพคล่องส่วนเกินที่ลดลงเป็นผลจากการลดลงของการถือหลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพันและการฝากเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ขณะที่มีการสำรองเงินสดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้สินทรัพย์สภาพคล่องสูงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ 4.12 แสนล้านบาท ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกิน คิดเป็น 3.1 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก)
- ยอดขายปูนซีเมนต์ในเดือน ส.ค. 58 คาดว่าจะหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -1.8 ต่อปี เนื่องจากภาคเอกชนยังคงรอดูแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและทิศทางของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ส.ค. 58 เพิ่มขึ้น 173,000 ตำแหน่ง จากสาขาบริการสาธารณสุขและบริการสังคม และธุรกิจการเงินที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 7 ปี 4 เดือน ซึ่งทางการสหรัฐฯ ถือว่าเป็นระดับที่การจ้างงานเต็มจำนวน ขณะที่รายได้เฉลี่ย เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ 878.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากรายได้ทุกภาคส่วน และภาคการบริการวิชาการที่เพิ่มขึ้น ดุลการค้า เดือน ก.ค. 58 ขาดดุล 7.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคบริการ เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 59.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ การจ้างงาน และราคาที่ลดลงมาก
GDP ปี 57 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 7.3 ปรับลดลงจากร้อยละ 7.4 จากภาคบริการที่ขยายตัวลดลงจากการประกาศครั้งก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 58 หดตัวร้อยละ -5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากร้อยละ -8.4 ในเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -13.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ -8.2 ในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้า เกินดุล 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 9 เดือน จากราคาสินค้าหมวดอาหาร
GDP ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกที่ลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 58 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 42.2 จุด สะท้อนความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น
GDP ไตรมาส 2 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ 54.3 จุด สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้น สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนหลังวิกฤตหนี้กรีซคลี่คลายและอานิสงส์จากการอ่อนค่าของเงินยูโรต่อการส่งออก ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน โดยเป็นผลจากการขยายตัวของทุกหมวดสินค้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ 55.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 55.2 จุด ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และสินค้าในภาคการผลิต หดตัวจากปีก่อนหน้า ขณะที่สินค้าหมวดพลังงาน สินค้าคงทน และสินค้าขั้นกลางยังขยายตัวได้แม้จะชะลอลง มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 58 หดตัวร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -5.2 จากเดือนก่อนหน้า จากการหดตัวของการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา ขณะที่การส่งออกไปยังยุโรปตะวันตกและตะวันออกกลางขยายตัวดี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -7.9 แต่ยังคงขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 58 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกแร่โลหะ และแร่เชื้อเพลิง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.6 จากการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่สินค้าขั้นกลางหดตัว อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 58 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ของกำลังแรงงานรวม
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากค่าที่อยู่อาศัยและค่าขนส่งที่ลดลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคบริการ เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน และเหนือระดับ 50.0 จุดเป็นเดือนที่ 2 จากดัชนีหมวดกิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง และออสเตรเลียที่ลดลง ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.9 จากการนำเข้าอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.4 พันล้านริงกิตผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าในหมวดเหมืองแร่ที่ขยายตัวเร่งขึ้น
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม ชะลอลงจากร้อยละ 3.7 ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 44.4 จุด ลดลงจากระดับ 48.2 จุด ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี สะท้อนความอ่อนแอของการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาปิดที่ระดับใกล้ 1,400 จุดในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค โดย ณ วันที่ 10 ก.ย. 58 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,396.16 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทั้งสัปดาห์เบาบางเพียง 36,151.6 ล้านบาท โดยเป็นแรงซื้อจาก นักลงทุนสถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของจีน และยังมีปัจจัยบวกในประเทศจากการประกาศแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงติดตามการประชุม FOMC ในวันที่ 16-17 ก.ย. 58 ว่าสหรัฐฯ จะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7 - 10 ก.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 3,699.3 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรในระยะกลางยาว โดยมีแรงขายจากนักลงทุนชาวต่างชาติ จากความกังวลแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7 - 10 ก.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิถึง 8,578.6 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 10 ก.ย. 58 เงินบาทปิดที่ระดับ 36.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.79 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเยน ริงกิตมาเลเซีย และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.61 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th