รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 12 - 16 ตุลาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 19, 2015 11:38 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือน ก.ย. 58 มีจำนวน 2.03 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 82.8
  • GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 3 ปี 58 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีก ของสหรัฐ เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.0
  • มูลค่าการส่งออก ของจีน เดือน ก.ย. 58 หดตัว ร้อยละ -3.8 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -20.5
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ของญี่ปุ่น เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 40.9 จุด ขณะที่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.3
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ของยูโรโซน เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออก ของสหราชอาณาจักร เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 10.8 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงาน ของออสเตรเลีย เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ของกำลังแรงงานรวม

Indicator next week

Indicators                  Forecast    Previous
Sep : ยอดขายรถยนต์นั่ง (%YOY)    -24.9      -24.0
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน กอปรกับการเร่งการบริโภครถยนต์นั่งไปก่อนหน้านี้จากนโนบายรถคันแรก รวมทั้งระดับความเชื่อมั่นในการบริโภคและราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ทำให้การบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวในระดับสูง
Economic Indicator: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.4 ต่อปีแต่เมื่อหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เดือน ก.ย. 58 หดตัวที่ร้อยละ -0.9 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในไตรมาส3/58 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -0.7 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือน ก.ย. 58 มีจำนวน 2.03 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.7 ต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -8.8 ต่อเดือน ส่วนหนึ่งจากเหตุระเบิดที่ แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 58 เป็นผลให้นักท่องเที่ยวจากทุกภูมิภาคเดินทางเข้ามาในไทยลดลง ทั้งนี้ใน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 58 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าไทยแล้ว 22.13 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 27.8 ต่อปี และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศแล้ว 1.05 ล้านล้านบาทขยายตัวร้อยละ 30.21 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 82.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 82.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน จากการที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อจำหน่ายในช่วง ไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต่างขยายตลาดและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการ อ่อนค่าของเงินบาทเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการส่งออกในเดือนนี้
Economic Indicator: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 58 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -24.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน กอปรกับการเร่งการบริโภครถยนต์นั่ง ไปก่อนหน้านี้จากนโนบายรถคันแรก รวมทั้งระดับความเชื่อมั่นในการบริโภคและราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ทำให้การบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวในระดับสูง

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อน

China: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ -5.6 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -20.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -13.9 และ หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 6.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.0 จากราคาอาหารที่ลดลง

Japan: improving economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 40.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนมุมมองที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในเชิงลบมากขึ้นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ส.ค. 58 ขยายตัว ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับตัวเลขเบื้องต้นที่ออกมาก่อน

Eurozone: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยการหดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าเป็นผลจากการหดตัวของการผลิตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าคงทุนขยายตัวได้ดี

United Kingdom: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.6 ทั้งนี้ การส่งออกไปยังทวีปอเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียขยายตัวได้ดี ขณะที่การส่งออกไปยุโรปหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.7 โดยการนำเข้าหดตัวจากทุกทุกกลุ่มประเทศยกเว้นทวีปเอเชีย ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 7,017 ล้านปอนด์ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.1 โดยดัชนีราคาหดตัวต่อเนื่องในหมวดการขนส่ง อาหาร และสันทนาการ อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าเล็กน้อย สะท้อนตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

Australia อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

India: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -24.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -25.4 หดตัวสูงสุดในรอบ 6 ปีเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้นกว่าร้อยละ 6.9

Indonesia: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -18.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าทุกหมวดโดยเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ส่วนมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -26.0 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 58 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ก.ย. 58 ที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 8

Malaysia: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าภาคเหมืองแร่ที่ปรับตัวลดลง

Singapore: mixed signal

GDP ไตรมาส 3 ปี 58 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อน ผลจากภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวต่อเนื่อง ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากยอดขายสินค้าหมวดยานยนต์ ห้างสรรพสินค้า เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ครัวเรือนที่ขยายตัวได้ดี มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -8.9 จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องเกือบทุกตลาด ยกเว้นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยูโรโซนขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -10.9 ผลจากสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่หดตัวเป็นหลัก ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

South Korea: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำที่สุดในรอบ 8 เดือน เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 58 ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -8.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -21.8 หดตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 58 เกินดุล 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคโดยดัชนีฯ ณ 15 ต.ค. 58 ปิดที่ระดับ 1,425.32 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทั้งสัปดาห์ 44,777.1 ล้านบาท โดยเป็นแรงซื้อของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนชาวต่างชาติ หลังจากที่มีการเผยแพร่รายงานการประชุม FOMC รอบเดือน ก.ย. 58 ที่ผ่านมา ที่ส่งสัญญาณว่า Fed อาจเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปเป็นปี 59 เพื่อรอให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้ระดับเป้าหมายก่อน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 12 - 15 ต.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 714 ล้านบาท
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงตลอดทุกช่วงอายุ 2-12 bps ซึ่งเป็นแรงซื้อของนักลงทุนชาวต่างชาติหลังจากการแถลงรายงานการประชุม FOMC ดังกล่าวทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงในภูมิภาค ระหว่างวันที่ 12 - 15 ต.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 17,022 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 15 ต.ค 58 เงินบาทปิดที่ระดับ 35.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 จากสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลภูมิภาคทั้งหมด โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.9 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ