รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 19 - 22 ตุลาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 26, 2015 13:50 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 58 หดตัว ร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือน ก.ย. 58 หดตัว ร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
          - ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 58         หดตัวต่อเนื่อง ร้อยละ -25.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 58 ขยายตัว ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP จีน ไตรมาสที่ 3 ปี 58 ขยายตัว ร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดสร้างบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 58 กลับมาขยายตัว ร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องโดยอยู่ที่ ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าส่งออกของยูโรโซน เดือน ส.ค.58 ขยายตัว ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ มูลค่านำเข้าขยายตัว ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงานของฮ่องกง เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม
  • อัตราการว่างงานของไต้หวัน เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม

Indicator next week

Indicators             Forecast   Previous
Sep : MPI (%YOY)         -6.6        -8.3
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากดัชนี ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 9 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 82.8 นอกจากนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และ CLMV อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลจากรายได้เกษตรกรที่มีการหดตัว อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการหดตัวของผลผลิตอุตสาหกรรม
Economic Indicator: This Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัว ร้อยละ -11.3 หรือคิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล (%mom_sa) ตามการหดตัวของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือก ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง โดยในเดือน ก.ย. ผลผลิตข้าวเปลือกหดตัว ร้อยละ -39.3 ขณะที่ ผลผลิตยางพารา และมันสำปะหลังยังขยายตัวได้ดี กอปรกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีสถานการณ์โรคระบาด ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 3 ปี 58 หดตัว ร้อยละ -9.3 และตั้งแต่ต้นปี 58 ดัชนีฯ หดตัว ร้อยละ -7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าทีหดตัว ร้อยละ -3.3 หรือคิดเป็นการหดตัว ร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล (%mom_sa) โดยสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรยังคง หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ติดต่อกัน โดยในเดือน ก.ย. ดัชนีราคาฯ หดตัวจากราคาข้าวเปลือก ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นสำคัญ ตามราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลก และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงฟื้นตัว อย่างเปราะบาง ขณะที่ราคาผลผลิตมันสำปะหลังยังคงขยายตัวได้ดี จากอุปสงค์จากจีนต่อมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นเพื่อการผลิตเอธานอล ทั้งนี้ ดัชนีราคาผลผลิตสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 3 ปี 58 หดตัว ร้อยละ -4.8 และตั้งแต่ต้นปี 58 ดัชนีฯ หดตัว ร้อยละ -5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Economic Indicator: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 58 มีจำนวน 22,581 คัน คิดเป็นการหดตัวต่อเนื่อง ร้อยละ -25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนที่หดตัว ร้อยละ -24.0 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผล ทางฤดูกาล ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน และราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้รายได้ของประชาชน กอปรกับการเร่งการบริโภคไปก่อนหน้านี้จากนโยบายรถคันแรก ทำให้ปริมาณการบริโภคสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งยังคงหดตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ไตรมาส 3 ปี 58 ปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัว ร้อยละ -24.9 หรือคิดเป็นการหดตัว ร้อยละ -7.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ 39,288คัน หรือขยายตัว ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และถือเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากมีการเร่งซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์จากการที่จะมีการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 2559 และ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ออกแล้ว พบว่าขยายตัว ร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ ในไตรมาส 3 ปี 58 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัว ร้อยละ -0.3 แต่ขยายตัว ร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
Economic Indicator: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. 58 คาดว่าจะหดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากดัชนี ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 9 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 82.8 นอกจากนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และ CLMV อาจมีส่วนช่วยกระตุ้น คำสั่งซื้อจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลจากรายได้เกษตรกรที่มีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการหดตัวของผลผลิตอุตสาหกรรม

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ยอดสร้างบ้านใหม่เดือน ก.ย. 58 กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.5 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน จากการสร้างบ้านเดี่ยวและอาคารชุดที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ด้านยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -5.0 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในเดือนก่อน จากยอดใบอนุญาตสร้างบ้านใหม่ ขนาด 1 หน่วยและมากกว่า 5 หน่วยที่กลับมาหดตัว

China: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 58 ขยายตัว ร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 7.0 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 58 แต่ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทางการจีนที่ "ประมาณ" ร้อยละ 7.0 สำหรับทั้งปี 58 โดยการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน เป็นผลจาก การส่งออกที่หดตัวในอัตราสูง ประกอบกับการลงทุนและภาคอุตสาหกรรม ที่ชะลอลงอย่างต่อเนือง โดยในช่วงที่ผ่านมาทางการจีนได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 5 ครั้ง และปรับลดสัดส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง 4 ครั้ง นับตั้งแต่ปลายปี 57 โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 58 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องโดยอยู่ที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านการลงทุนในสินทรัพย์คงทนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 58 ขยายตัวร้อยละ 10.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องและขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 15 ปี ด้านยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 58 ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสงสดใน 7 เดือน

Eurozone: worsening economic trend

มูลค่าส่งออก เดือน ส.ค.58 ขยายตัว ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะหดตัวร้อยละ -1.3 (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยภาคการส่งออกชะลอตัวจากการหดตัวของการส่งออกน้ำมันและการชะลอตัวของการส่งออก เคมีภัณฑ์ ขณะที่อาหาร เครื่องดืม และยาสูบขยายตัวได้ดี มูลค่านำเข้าขยายตัว ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัว ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ขยายตัว เร่งขึ้นจากการนำเข้าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ และสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่มูลค่าการนำเข้าน้ำมันยังคงหดตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 11.2 พันล้านยูโรอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 58 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการหดตัวต่อเนื่องของราคาพลังงาน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Hong Kong: mixed signal

อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยในทรรศนะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฮ่องกง อัตราการว่างงานที่ทรงตัวในระดับต่ำนี้ นับเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 65.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของฮ่องกง

Taiwan: mixed signal

อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับปี 57 ที่เฉลี่ยที่ร้อยละ 4.0 โดยแม้อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย. 58 จะเป็นอัตราว่างงานที่สูงที่สุดตั้งแต่ต้นปี 58 แต่อัตราการว่างงานเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 58 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม ยังถือว่าเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี โดยในเดือน ก.ย. 58 อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานอยู่ที่ร้อยละ 58.7 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 58.9 ในเดือนก่อนหน้า และมีจำนวนผู้มีงานทำ 11.7 ล้านคน คิดเป็นการจ้างงานที่ลดลง 19,000 ตำแหน่ง

Japan: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการส่งออกไปยังตลาดกลุ่มอาเซียนและจีน ที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ -0.6 และ -3.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับส่งผลให้การส่งออกในไตรมาส 3 ปี 58 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงมากจากร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน โดยค่าเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 58 อยู่ที่ร้อยละ 6.5 ส่วนมูลค่า การนำเข้า เดือน ก.ย. 58 หดตัว ร้อยละ -11.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศในอาเซียนและยุโรปที่หดตัว ร้อยละ -4.2 และ -3.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ในแง่มิติของสินค้าพบว่าเป็นการนำเข้าสินค้าหมวดเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลทางด้านราคาที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปี 57 เป็นต้นมา ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนดังกล่าว ขาดดุลลดลงอยู่ที่มูลค่า -1.1 แสนล้านเยน จากที่ขาดดุล -5.7 แสนล้านเยนในเดือนก่อนหน้า

Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวในกรอบแคบตลอดทั้งสัปดาห์และปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยดัชนีฯ ณวันที่ 21 ต.ค. 58 ปิดที่ระดับ 1,415.8 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ทั้งสัปดาห์เบาบางเพียง 30,697 ล้านบาท ด้วยแรงซื้อของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุนรายย่อยในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติโดยนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการซื้อขายหลังจาก 1) ตัวเลข GDP ของจีนที่ออกมาเมื่อต้นสัปดาห์ขยายตัวต่ำเพียงร้อยละ 6.9 2) ผลประกอบการหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารออกมาไม่ค่อยดีนักอีกทั้งนักลงทุนยังรอผลการประชุม ECB ในคืนวันนี้ ว่าจะมีมาตรการทางการเงินเพิ่มเติม หรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19 - 21 ต.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 239 ล้านบาท
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างนิ่ง โดยอัตราฯ พันธบัตรอายุเกิน 10 ปีปรับลดลงเล็กน้อย จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น Benchmark 5 และ 30 ปีที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน 3.23 และ 3.41 เท่าของวงเงินประมูลโดยนักลงทุนติดตามผลการประชุม ECB ดังกล่าว อีกทั้งรอคอยผลการประชุม FOMC ในสัปดาห์หน้า ซึ่ง Fed อาจส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19 - 21 ต.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 5,089 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนโดย ณ วันที่ 21 ต.ค 58 เงินบาทปิดที่ระดับ 35.41บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.52 จากสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินวอนเกาหลีและสิงคโปร์ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม เงินเยน ยูโร ริงกิตมาเลเซีย และหยวนอ่อนค่าลง ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.78 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ