Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ -0.8
- วันที่ 4 พ.ย. 58 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 62.2
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย. 58 เกินดุล 1,557.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 58 หดตัวอยู่ที่ ร้อยละ -6.5
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,783.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.0 ของ GDP
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 58 มียอดคงค้าง 15.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.7
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 58 มียอดคงค้าง 16.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.2
- GDP อินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 3 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม NBS ของจีน เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด
- อัตราเงินเฟ้อยูโรโซน เดือน ต.ค. 58 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เดือน ต.ค. 58 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.4 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Oct : Motorcycle Sales (%YOY) -0.5 -0.7
- ผลจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบ กอปรกับราคาของสินค้าเกษตรที่ปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้ของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงซบเซา และส่งผลกระทบต่อปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ -0.8 เป็นการหดตัวชะลอลงจากเดือนก่อน และเป็นการติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยมีสาเหตุหลักจากการหดตัวของราคาน้ำมัน ราคาไฟฟ้า และราคาเนื้อสัตว์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญเกิดจากฐานราคาน้ำมัน กล่าวคือ แม้ว่าราคาน้ำมันเทียบกับปีก่อนยังคงหดตัว แต่เป็นการหดตัวในอัตราชะลอลงเนื่องจากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 57 ราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคง เป็นบวกที่ร้อยละ 1.0 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้า
- วันที่ 4 พ.ย. 58 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับปัจจัยลบโดยเฉพาะจากต่างประเทศ กอปรกับภาวะตลาดการเงินโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ดี ภาวะการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนยังเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ และเห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 62.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 61.2 โดยมีปัจจัยบวกจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น 3 มาตรการ และราคาน้ำมันขายปลีก ภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบจากความกังวลสถานการณ์การส่งออกที่ปรับตัวลดลง และราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำที่ทำให้กำลังซื้อของประชาชนยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยเฉลี่ยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 58 อยู่ที่ระดับ 64.8
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย. 58 เกินดุล 1,557.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 2,649.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยขาดดุลทั้งสิ้น 2,444.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติในไทย ประกอบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นมา ที่ 4,001.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่หดตัวสูง ตามราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ และปัจจัยฐานสูง ในปีก่อนที่นำเข้าทองคำในระดับสูง รวมถึงการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง และเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ชะลอลงตามอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวช้า และการส่งออกที่ซบเซา ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 58 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 20,901.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 58 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.1 ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่หดตัวร้อยละ -19.5 เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบลดลง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกยังคงลดลงเช่นกัน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,783.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.0 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 46.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่า มีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) (ร้อยละ 96.4 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (ร้อยละ 93.8 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 58 มียอดคงค้าง 15.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยจากการเร่งขึ้นของสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคทรงตัวที่ร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 58 มียอดคงค้าง 16.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยอัตราการขยายตัวทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าทั้งในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ต.ค. 58 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.5 หดตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.7 ผลจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบ กอปรกับราคาของสินค้าเกษตร ที่ปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้ของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงซบเซา และส่งผลกระทบต่อปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากรถยนต์นั่ง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ใกล้เคียงกับเดือนก่อน จากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานลดลง ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ (ISM) เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 59.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากคำสั่งซื้อใหม่และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมากดุลการค้า เดือน ก.ย. 58 ขาดดุล 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนจากมูลค่าการส่งออกที่หดตัวลดลงจากสินค้าเพื่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมและสินค้าทุนเป็นหลัก ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวเพิ่มขึ้น จากสินค้าเพื่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม NBS เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด ทรงตัวต่ำกว่าระดับ 50.0 จุดเป็นเดือนที่ 3 ในขณะที่ดัชนีฯ Caixin เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 48.3 จุด ปรับดีขึ้นจาก 47.2 จุดในเดือนก่อนด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ NBS เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด สอดคล้องกับดัชนีฯ Caixin เดือน ต.ค. 58 ที่ระดับ 52.0 จุด อยู่เหนือระดับ 50.0 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 58 (เบื้องต้น)อยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากราคาพลังงานที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวที่ร้อยละ 1.0 อัตราว่างงาน เดือน ก.ย. 58 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 10.8 ของกำลังแรงงานรวมดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ต.ค. 58 (ตัวเลขสมบูรณ์) อยู่ที่ 53.9 จุด ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ประกาศออกมาในสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 52.3 จุด สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้น ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ 54.1 จุด ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นเล็กน้อย
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.4 จุด จากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ทั้งนี้ยังอยู่ในระดับเกินกว่าเกณฑ์ 50 จุดอย่างต่อเนื่อง สะท้อนกิจกรรมภาคบริการที่ขยายตัวได้แข็งแกร่งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 41.1 จุด เพิ่มขึ้นจาก 40.9 จุดในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ขยายตัวต่อเนื่องจาก อุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี ทั้งภาครัฐและเอกชน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 47.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุดต่อเนื่อง 13 เดิอน บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด ต่ำสุดในรอบ 22 เดือน จากผลผลิตที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากกิจกรรมภาคบริการที่ดีขึ้น
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 จากยอดขายปลีกที่หดตัวแทบทุกหมวดสินค้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 47.8 จุด แม้จะอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน แต่ยังคงบ่งชี้การหดตัวอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 49.1 จุดใกล้เคียงกับเดือนก่อน มูลค่าส่งออก เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -15.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -16.6 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 58 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังหดตัวต่อเนื่อง 16 เดือน จากการส่งออกแร่เหล็กและเหล็กที่กลับมาขยายตัวตามราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้น ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 4.4 จากสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางหดตัว ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ทรงตัวจากเดือนก่อน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ 55.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 51.5 จุด จากยอดสั่งซือ้ที่เพิ่มมากขึ้น ดัชนีฯ ภาคก่อสร้าง ทรงตัวที่ 59.9 จุด ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการอยู่ที่ 54.9 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 48.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯยังคงต่ำกว่า 50 จุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
- ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 1,400 จุด โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 5 พ.ย. 58 ปิดที่ระดับ 1,413.2 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทั้งสัปดาห์ค่อนข้างเบาบางที่ 38,347 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากสถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และเป็นแรงซื้อในหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค รวมถึงปัจจัยบวกที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 5 พ.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 209.7 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางปรับลดลง ขณะที่อัตราฯ อายุเกิน 12 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยที่ประชุม กนง. เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 58 มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ทำให้มีแรงขายพันธบัตรระยะยาว โดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างชาติทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 5 พ.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 2,658.7 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 5 พ.ย. 58 เงินบาทปิดที่ระดับ 35.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.19 จากสัปดาห์ก่อน สวนทางกับเงินสกุลอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.31 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th