Executive Summary
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การจ้างงานเดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน ต.ค. 58 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน ก.ย. 58 ที่ 2.19 ล้านล้านบาท
- GDP มาเลเซีย ไตรมาส 3 ปี 58 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -7.0 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -19.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. 58 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของต้หวัน เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -11.0 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -20.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม
- อัตราการว่างงานของออสเตรเลีย เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 ของกำลังแรงงานรวม
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Oct : API (%YOY) -14.1 -6.3
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 58 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.3 เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปีที่ปกติจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน ต.ค. เป็นต้นไป แต่ได้รับผลกระทบจากปัญหา ภัยแล้งเมื่อต้นปี 58 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องเลื่อนการเพาะปลูกออกไป ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 58 จึงหดตัวในระดับสูง อย่างไรก็ดี คาดว่า ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ต.ค. 58 มีจำนวน 137,040 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว ร้อยละ -0.7 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล (%mom_sa) ผลมาจากการหดตัวของปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเขตภูมิภาค ซึ่งยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -8.5 จากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำตามราคาน้ำมันดิบ และปริมาณอุปสงค์ในตลาดโลกที่ซบเซา ทำให้กำลังซื้อของประชาชนยังคงตกต่ำ โดยเฉพาะในภาคเกษตร ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่คิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ทั้งประเทศ ทั้งนี้ ข้อมูล 10 เดือนแรกของปี 58 (ม.ค. - ต.ค.) ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -1.5
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ 2.19 ล้านล้านบาท ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตามการลดลงของเงินรับฝาก โดยสภาพคล่องส่วนเกินที่ลดลงเป็นผลจากการลดลงของสินทรัพย์สภาพคล่องทุกประเภท อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ สภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน โดยสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินคิดเป็น 2.9 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก)
- การจ้างงานเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ 38.09 ล้านคน หรือคิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งโดยรวมการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 26.0 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.6 แสนคน จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น คือ สาขาการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและส้งคมสงเคราะห์ และสาขาด้านการศึกษา เป็นต้น ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงมีการจ้างงานที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ตามฤดูกาล สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน ต.ค. 58 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาล (%mom_sa) พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ เดือน ต.ค. 58 หดตัวที่ร้อยละ -0.7 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 58 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 58 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.3 เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปีที่ปกติจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน ต.ค. เป็นต้นไป แต่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งเมื่อต้นปี 58 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องเลื่อนการเพาะปลูกออกไป ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 58 จึงหดตัวในระดับสูง อย่างไรก็ดี คาดว่า ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ต.ค. 58 เพิ่มขึ้น 271,000 ตำแหน่ง จากบริการธุรกิจและวิชาการ สาธารณสุข และค้าปลีกค้าส่ง ส่งผลให้อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 58 ลดลงมาที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง โดยรายได้ภาคเอกชนเฉลี่ยรายสัปดาห์อยู่ที่ 867.3 ดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อน โดยเฉพาะภาคก่อสร้าง
มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -19.0 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 1.6 ในเดือนก่อน จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่ลดลงต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี ด้านยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 58 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าหมวดเหล็กและเครื่องใช้สำนักงานที่หดตัวเร่งขึ้น
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้าจากการชะลอตัวของสินค้าคงทนและสินค้าทุน โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีชะลอลงค่อนข้างมาก จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อนหน้า เป็นร้อยละ 0.2
GDP ไตรมาส 3 ปี 58 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการบริโภคและการส่งออกสุทธิที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้เศรษฐกิจมาเลเซีย 3 ไตรมาสแรก ปี 58 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.1 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตในสินค้าทุกหมวดที่ขยายตัวเร่งขึ้นในเดือนดังกล่าว มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 ขยายตัว เร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน ยูโรโซน และบางประเทศในอาเซียนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากเงินริงกิตซึ่งมีอ่อนค่า ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 9.6 จากสินค้าเกือบทุกหมวดที่ขยายตัวเป็นบวก ยกเว้นหมวดเชื้อเพลิงพลังงาน และสินค้าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ยังคงหดตัว ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 9.7 พันล้านริงกิต
มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -11.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 แต่หดตัวในอัตราชะลอลงจากร้อยละ -14.6 ในเดือนก่อน จากอานิสงส์ของการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือไอโฟนรุ่นใหม่ทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาด มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -20.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 โดยหดตัวในอัตราชะลอลงจากร้อยละ -24.4 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ต.ค. 58 เกินดุล 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการเกินดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์
อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจาก ร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้า
อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน ขณะที่อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 70.0 ของประชากรวัยทำงาน
ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 58 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 9.3 ในเดือนก่อน ส่วนมูลค่าการนำเข้าเดือนเดียวกัน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าหมวดเหมืองแร่และเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 49.5 จุด ในเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 58 ทรงตัวที่ร้อยละ 2.4 ของกำลังแรงงงานรวม
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 58 หดตัวร้อยละ -24.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี โดยส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปทุกประเทศหดตัวสูง ยกเว้นเพียงการส่งออกไปฮ่องกงที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากน้ำมันและอะไหล่และส่วนประกอบที่หดตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากผลผลิตเครื่องดื่มและเครื่องนุ่งห่มที่หดตัวสูง
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากสินค้าภาคอุตสาหกรรมและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวชะลอลง
- ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ระดับ ต่ำกว่า 1,400 จุดอีกครั้ง โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 12 พ.ย. 58 ปิดที่ระดับ 1,384.3 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทั้งสัปดาห์ค่อนข้างเบาบางที่ 37,278 ล้านบาท โดยมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ สถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และเป็นแรงขายในหลักทรัพย์ กลุ่มสื่อสาร เนื่องจากการประมูล 4G ที่ยืดเยื้อซึ่งสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของผู้บริโภคในอนาคต นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่างประเทศ คือ เครื่องชี้เศรษฐกิจจีนที่ออกมาไม่ดีนักสร้าง ความกังวลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีน และความเป็นไปได้ที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประชุม FOMC เดือน ธ.ค. 58 หลังจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 - 12 พ.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 6,404.5 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5-10 ปีปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราฯ อายุ 11-15 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลจากความกังวลที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 - 12 พ.ย. 58 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 5,491.0 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 12 พ.ย. 58 เงินบาทปิดที่ระดับ 35.83 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.78 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปตามทิศทางเดียวกับ เงินสกุลอื่นในภูมิภาค ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าใกล้เคียงสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ทรงตัว โดยอ่อนค่าลงเพียงร้อยละ 0.05 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th