Executive Summary
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค. 58 เกินดุลสูงถึง 5,178.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค.58 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 58 มียอดคงค้าง 15.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.2
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 58 มียอดคงค้าง 16.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.1
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -1.0
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 58 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -19.5
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 7.2
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค.58 คิดเป็นร้อยละ 43.8 ของ GDP
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 63.4
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 3 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP อินเดีย ไตรมาส 3 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Nov : Motorcycle Sales (%YOY) -7.2 -6.5
- หดตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -6.5 ผลจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบ กอปรกับราคาของสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้ ของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงซบเซา และส่งผลกระทบต่อปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค. 58 เกินดุลสูงถึง 5,178.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,557.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่กลับมาเกินดุลครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ 847.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากรายรับการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน และรายจ่ายการส่งกลับกำไรและเงินปันผลที่ลดลงตามฤดูกาล ซึ่งบริษัทต่างชาติในไทยได้ส่งเงินเสร็จสิ้นไปแล้ว ในไตรมาสที่ 3 ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นมาที่ 4,330.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่หดตัวสูง ตามราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การส่งออกยังคงซบเซา ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 58 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 26,079.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค.58 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมวิทยุ โทรทัศน์ ยาง พลาสติกและการผลิตไม้ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี มีบางอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ และปิโตรเลียม ทั้งนี้ หากพิจารณาแบบปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (%mom_sa) พบว่าหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -2.3
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 58 มียอดคงค้าง 15.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย จากการชะลอลงของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 58 มียอดคงค้าง 16.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -1.0 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของราคาน้ำมันขายปลีกตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับการลดลงของราคาไฟฟ้าจากการที่มีต้นทุนเชื้อเพลิงถูกลง รวมถึงราคาเนื้อสัตว์ที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคง เป็นบวกที่ร้อยละ 0.9 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 58 มีจำนวน 24,273 คัน คิดเป็นการหดตัวอย่างชะลอลงที่ร้อยละ -19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -25.5 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน และราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้รายได้ของประชาชน กอปรกับการเร่งการบริโภคไปก่อนหน้านี้จากนโยบายรถคันแรก ทำให้ปริมาณการบริโภคสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งยังคงหดตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 58 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ 43,637 คัน หรือขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและถือเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากมีการเร่งซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์จากการที่จะมีการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 59 และเป็นผลจากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ที่ได้แนะนำสู่ตลาดในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้วพบว่าขยายตัวร้อยละ 5.4 เช่นเดียวกับรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.9 หลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,867.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.8 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 84.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) (ร้อยละ 95.9 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (ร้อยละ 94.0 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 63.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 2 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 62.2 โดยมีปัจจัยบวกจากผลการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่คาดว่าปี 58 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดี กอปรกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ดีขึ้น จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบจากความกังวลต่อสถานการณ์ การส่งออกที่ปรับตัวลดลง และ ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำที่ทำให้กำลังซื้อของประชาชนยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 58 อยู่ที่ระดับ 64.6
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 58 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -7.2 หดตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -6.5 ผลจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบ กอปรกับราคาของสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้ของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงซบเซา และส่งผลกระทบต่อปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด สะท้อนการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี จากคำสั่งซื้อใหม่ที่กลับมาหดตัว ขณะที่ดัชนีฯ นอกภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 55.9 จุด ลดลงจากกิจกรรมทางธุรกิจ คำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่ลดลง ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน พ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากยอดขายรถยนต์นั่งที่กลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 2 เดือน และรถบรรทุกที่ชะลอตัว ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากการหดตัวของคำสั่งซื้อเครื่องจักร และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 49.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อน สอดคล้องกับดัชนีฯ ภาคบริการ (Caixin) เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด ลดลงเล็กน้อยจาก 52.0 จุดในเดือนก่อนขณะที่ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 48.3 จุดในเดือนก่อน และดัชนีฯ (NBS) เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 53.6 จุด เพิ่มขึ้นจาก 53.1 จุดในเดือนก่อน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าเกือบทุกหมวดที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เครื่องใช้อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวที่ ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าหมวดทั่วไป ยานยนต์ ยาและเครื่องใช้สุขอนามัยที่ขยายตัวเร่งขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 52.6 และ 51.6 จุด ตามลำดับ สะท้อนกิจกรรมทั้งภาคการผลิตและบริการที่ยังปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ 54.2 จุด โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 52.8 จุด และดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ 54.2 จุด สะท้อนเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 10.7 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 58 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาพลังงานที่ยังคงหดตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัว ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการหดตัวในหมวดน้ำมันและอาหาร นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 58 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility ลง 10 bps เป็นร้อยละ -0.3 ต่อปี ขยายระยะเวลาของการทำ QE ไปจนถึง เดือน มี.ค. 60 และเพิ่มประเภทสินทรัพย์ที่จะเข้าซื้อให้รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นด้วย
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 49.5 จุด เพิ่มขึ้นจาก 47.8 จุดในเดือนก่อน
ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้หดตัวชะลอลง แต่นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 ทรงตัวที่ระดับ 46.6 จุด ต่อเนื่องจากเดือนก่อน
GDP ไตรมาส 3 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 2.2 ใน ไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวร้อยละ 1.3 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลผลิตภาคอุตสาหรรม เดือน ต.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.9 มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ -15.9 มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 58 หดตัวร้อยละ -17.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 16.6 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 58 เกินดุลสูงถึง 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 ทรงตัวที่ระดับ 49.1 จุด ต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 48.9 จุดในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุดต่อเนื่อง
GDP ไตรมาส 3 ปี 58 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 3.4 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เร่งขึ้นจากการบริโภคภาครัฐและการลงทุนรวมที่เร่งตัว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ต่ำสุดในรอบ 25 เดือน จากคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่ชะลอตัว ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 50.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับตัวลดลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 46.9 จุด ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 103.7 จุด บ่งชี้ความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน จากราคาอาหาร และพลังงานที่ลดลงมาก
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าในทุกหมวดที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 58 ขยายตัว ร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 58 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด จาก 50.1 จุดในเดือนก่อน สะท้อนกิจกรรมการผลิตที่มีสัญญาณชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 58 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนี SET ปรับตัวลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 3 ธ.ค 58 ปิดที่ระดับ 1,340.62 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทั้งสัปดาห์เบาบางเพียง 39,727 ล้านบาท โดยเป็นแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ จากความกังวลต่อประเด็น สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) ได้ประกาศลดมาตรฐานการกำกับดูแลหน่วยงานการบินของประเทศไทย จากประเภทที่ 1 เป็นประเภทที่ 2 ส่งผลให้สายการบินของไทยจะไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบินเข้าสหรัฐฯ ได้จนกว่าจะแก้ไขข้อบกพร่องสำเร็จ ตลอดจนความไม่สงบในยุโรปและข่าวลือที่เกี่ยวกับการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 3,364.7 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างคงที่ โดยอัตราฯ ของพันธบัตรอายุ 3 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-3 bps โดยตลาดจับตามองผลการประชุม ECB ในวันที่ 3 ธ.ค. 58 ที่ผ่านมา และการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น Benchmark อายุ 15 ปีได้รับความสนใจจากนักลงทุน 1.24 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. 58 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 5,889.7 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 3 ธ.ค. 58 เงินบาทปิดที่ระดับ 35.87 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.40 จากสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาคส่วนใหญ่ ยกเว้น ยูโร โดยเงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.14 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th