เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 28, 2015 15:36 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน 2558 บ่งชี้ สัญญาณการใช้จ่ายภายในประเทศของภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้มีการปรับตัวดีขึ้นในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ การใช้จ่ายของรัฐบาลยังถือเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงหดตัวจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่ยังอ่อนแอ”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2558 เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อเดือน จากการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี เป็นสำคัญ สำหรับปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -12.0 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อเดือน สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัวร้อยละ 6.6 ต่อเดือน จากการขยายตัวของปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั้งในเขตภูมิภาค และในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ร้อยละ 7.4 และ 5.1 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน อยู่ที่ระดับ 63.4 โดยมีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ดีขึ้นจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นสำคัญ ในการนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า มาตรการภาษีล่าสุดที่ออกมาในช่วงปลายปี 2558 โดยการให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและบริการภายในประเทศในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2558 ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท จะสามารถช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2558 ต่อไป

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                2557                                          2558
                                                   Q1         Q2         Q3         2M/Q4         ต.ค.         พ.ย.         YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)            0.4        1.0        1.7       -0.7          -0.3        -4.0          3.5          0.5
   %qoq_SA / %mom_SA                              0.7       -0.5       -1.6            -         -4.1          4.0
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)        1.5       10.8        2.0        1.5          -7.4*       -7.4          n.a.         2.4
   %qoq_SA / %mom_SA                             -0.7       -4.0        0.1             -        -2.3            -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)         -41.4      -12.5      -27.3      -24.9         -15.8       -19.5        -12.0        -20.6
   %qoq_SA / %mom_SA                             -7.0      -13.7       -7.2             -         7.4          3.9
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)     -14.3       10.9       -2.9      -10.6          -0.2        -6.5          6.9         -0.9
   %qoq_SA / %mom_SA                              8.5      -12.1       -3.6             -        -5.6          6.6
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)             -9.0      -10.2       14.1      -25.5         -21.6       -10.1        -33.2        -13.3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                    65.0       68.4       64.9       61.8          62.2        62.2         63.4         64.6
*ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2558

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2558 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 20.3 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 17.6 ต่อเดือน ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อเดือน สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -6.7 ต่อปี ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลง สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์พบว่าขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 16.2 ต่อเดือน ตามการขยายตัวของปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในส่วนของรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.5 ต่อปี

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                 2557                                          2558
                                                   Q1         Q2         Q3         2M/Q4         ต.ค.         พ.ย.         YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)   -2.2        7.3        2.9       -0.5           5.8        -7.8         20.3          3.6
   %qoq_SA / %mom_SA                             -4.8       -4.8        3.3             -        -1.9         17.6
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)             -3.2       -2.5       -0.2       -0.7           1.1        -0.3          2.6         -0.8
   %qoq_SA / %mom_SA                              0.8        1.7       -1.7             -        -0.7          0.6
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                       0.7       -3.7       -4.4       -5.7          -6.2        -6.5         -6.7         -4.7
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)      -26.8      -11.3      -17.3       -0.3          11.6         7.2         15.7         -5.9
   %qoq_SA / %mom_SA                             -7.2       -7.0       14.2             -        11.1         16.2
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)               -7.6        0.9        2.1      -10.8           5.4*        5.4          n.a.        -2.1
   %qoq_SA / %mom_SA                              0.5       -0.1       -6.2             -         6.5            -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ          -4.8        0.1       -3.5       -2.3          -2.7*       -2.7          n.a.        -2.0
และรถไฟ (%yoy)
   %qoq_SA / %mom_SA                             -1.0       -1.9        0.4             -        -2.6            -
*ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2558

3. สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนพฤศจิกายน 2558 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐบาลที่ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง และดุลงบประมาณที่ขาดดุล โดยการเบิกจ่ายงบประมาณรวมสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 232.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 209.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 197.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 11.5 พันล้านบาท ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.0 ต่อปี สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 179.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.0 ต่อปี ส่งผลให้ดุลงบประมาณขาดดุล -54.2 พันล้านบาท สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้ภาคการคลัง
(พันล้านบาท)                     FY2558                       FY2558                                 FY 2559
                                              Q1/       Q2/       Q3/       Q4/          ต.ค.         พ.ย.         YTD
                                             FY58      FY58      FY58      FY58
รายได้สุทธิของรัฐบาล
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)        2,207.5       507.5     469.9     652.5     577.5        165.9        179.4        345.2
(%y-o-y)                          6.4         0.8       7.5       7.2       9.9         -4.5         11.0          3.0
รายจ่ายรัฐบาลรวม                2,601.4       844.1     617.6     569.6     570.1        374.2        232.9        607.1
(%y-o-y)                          5.7         1.6      11.7      10.7       1.6          1.8         13.2          5.9
รายจ่ายปีปัจจุบัน                  2,378.1       766.4     557.7     529.4     524.6        359.6        209.0        568.6
(%y-o-y)                          5.9         0.7      15.6      11.1      -0.3          4.3         15.7          8.2
รายจ่ายประจำ                   2,106.6       725.1     481.0     452.3     448.1        336.1        197.5        533.6
(%y-o-y)                          7.4        12.5       7.3       8.1      -0.7          1.8         14.9          6.3
รายจ่ายลงทุน                      271.6        41.3      76.7      77.1      76.4         23.5         11.5         35.0
(%y-o-y)                         -4.4       -64.6     123.2      32.4       2.1         58.7         31.0         48.4
ดุลเงินงบประมาณ                  -402.3      -347.3    -138.9      89.4      -5.5       -217.2        -54.2       -271.4

4. การส่งออกสินค้าในเดือนพฤศจิกายน 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -7.4 ต่อปี โดยมีผลมาจากจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่ยังอ่อนแอ และทำให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2558 มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ -5.5 ต่อปี สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 16.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -9.5 ต่อปี และทำให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2558 มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -11.2 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่สูงกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2558 เกินดุลเล็กน้อยที่ 0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

การค้าระหว่างประเทศ                     2557                                          2558
                                                  Q1         Q2         Q3         2M/Q4         ต.ค.         พ.ย.         YTD
อัตราขยายตัวมูลค่าส่งออกสินค้า (%yoy)       -0.4       -4.7       -5.0       -5.3          -7.7        -8.1         -7.4         -5.5
   %qoq_SA / %mom_SA                            -6.3       -1.1       -1.1             -        -0.4         -1.7
อัตราขยายตัวมูลค่านำเข้าสินค้า (%yoy)       -9.0       -6.4       -9.4      -15.3         -14.0       -18.2         -9.5        -11.2
   %qoq_SA / %mom_SA                            -6.0       -3.6       -1.9             -        -1.8         -6.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)           -0.4        1.4        2.0        4.3           2.4         2.1          3.0         10.2

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน มาอยู่ที่ระดับ 85.8 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน โดยมีปัจจัยหลักมาจากทิศทางการบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและยา ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่อต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการ สำหรับภาคการท่องเที่ยวสะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 ต่อปี ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 20.0 8.3 และ 20.7 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -26.2 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการหดตัวของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวเปลือกที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่หดตัวเป็นสำคัญ

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                2557                                             2558
                                                 Q1          Q2          Q3          2M/Q4          ต.ค.          พ.ย.          YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)         -0.4      -3.9        -9.9        -9.3          -19.1         -4.8         -26.2          -9.9
   %qoq_SA / %mom_SA                            3.1       -10.1        -1.4              -          8.2         -26.6
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)           -4.6       0.1        -7.5        -6.1           -3.9*        -3.9           n.a.          0.1
   %qoq_SA / %mom_SA                           -1.5        -7.9         1.8              -         -2.0             -
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)     87.4      89.2        85.2        82.7           85.3         84.7          85.8          85.6
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)               -6.5      23.1        37.6        24.3            3.1          1.0           5.1          22.5
   %qoq_SA / %mom_SA                  4.4       7.7        -1.8           -            1.8         -1.9
*ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2558

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ -1.0 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับการลดลงของราคาไฟฟ้าจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ลดลง รวมถึงราคาเนื้อสัตว์ที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.5 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.8 ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2558 ที่อยู่ในระดับสูงที่ 155.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                    2557                                         2558
                                                      Q1        Q2          Q3        2M/Q4        ต.ค.        พ.ย.          YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                        1.9        -0.5      -1.1         -1.1       -0.9        -0.8        -1.0          -0.9
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                       1.6         1.5       1.0          0.9        0.9         1.0         0.9           1.1
อัตราการว่างงาน (yoy%)                     0.8         1.0       0.9          0.9        0.9         0.9         0.9           0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                           42.8        43.3      42.8         43.3       43.8        43.8         n.a.         43.8
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)                  14.2         8.2       4.1          6.4        5.2*        5.2         n.a.         26.1
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)                157.1       156.3     160.3        155.5      155.7       158.3       155.7         155.7
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)              23.1        19.7      18.4         13.3       11.7        12.1        11.7          11.2
ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)        2.7          2.9      2.9          2.8        2.8*        2.8         n.a.          2.8
*ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2558

สำหรับมาตรการการเงินการคลังที่กระทรวงการคลังได้ผลักดันตามนโยบายรัฐบาลโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมานั้น ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วง ไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 และปี 2559 ต่อไป โดยมีความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ถึง ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2558 สรุปได้ดังนี้

1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล มีเป้าหมายเพื่อกระจายการลงทุน การจ้างงาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปในพื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัด และผลักดันให้เกิดการพัฒนาในท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและบรรเทาผลกระทบในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเร่งรัดการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย

1.1 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน (สินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน ดอกเบี้ยร้อยละ 0 วงเงินสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดได้มีการการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 41,576 ล้านบาท ให้กับผู้มีรายได้น้อยแล้วจำนวน 2,961,660 ราย แบ่งเป็นธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อแล้ว 25,307 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 25,464 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,630,238 ราย เป็นเงิน 20,273 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อนุมัติสินเชื่อแล้ว 21,303 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 21,800 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,331,422 ราย เป็นเงิน 21,303 ล้านบาท

1.2 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล (ลงทุนตำบลละไม่เกิน 5 ล้านบาท วงเงิน 36,275 ล้านบาท) โดยล่าสุดสำนักงบประมาณโดยสำนักจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ฯ ทยอยพิจารณาอนุมัติรายละเอียดโครงการและค่าใช้จ่ายประกอบการจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 111,827 โครงการ วงเงินรวม 34,060 ล้านบาท (หรือคิดเป็นร้อยละ 94.0 ของวงเงินรวม) โดยเป็นวงเงินโครงการที่ทำสัญญา จำนวน 2,267 ล้านบาท และมีการเบิกจ่าย จำนวน 76 ล้านบาท

1.3 มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ลงทุนหน่วยงานละไม่เกิน 1 ล้านบาท กรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท พบว่า มีโครงการที่ทำสัญญาแล้ว จำนวน 20,072 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 6,925 ล้านบาท

2. มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

2.1 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs (Soft Loan SMEs ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ระยะเวลา 7 ปี วงเงินสินเชื่อ 100,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2558 ธนาคารออมสิน มียอดอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 99,292 ล้านบาท ให้กับลูกค้า SMEs แล้ว 11,759 ราย ทั้งนี้ โครงการนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบกิจการ SMEs จำนวนมากและวงเงินโครงการได้ถูกจัดสรรจนครบจำนวนอย่างรวดเร็วก่อนจะถึงกำหนดเวลาสิ้นสุดโครงการ (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หรือจนกว่าวงเงินที่กำหนดไว้จะถูกจัดสรรหมด) ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs หลายราย ไม่สามารถได้รับสินเชื่อตามโครงการดังกล่าวได้ ดังนั้น เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบกิจการ SMEs ระยะที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเป็นสินเชื่อระยะยาว (L/T) ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ตามนิยามกระทรวงอุตสาหกรรม โดยธนาคารออมสินให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการฯ และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs เฉพาะการปล่อยสินเชื่อใหม่ ภายใต้วงเงิน 50,000 ล้านบาท กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อรายที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท

2.2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) (ค้ำประกันไม่เกินร้อยละ 30 ต่อพอร์ต วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2558 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน 37,562 ล้านบาท ให้กับ SMEs จำนวน 8,413 ราย

3. มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งในส่วนของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง นั้น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2558 มีผู้ยื่นขอสินเชื่อแล้ว 12,280 ราย วงเงินสินเชื่อประมาณ 16,036 ล้านบาท โดย ธอส. ได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 6,493 ราย วงเงินอนุมัติ 9,267 ล้านบาท

---------------------------------------------------------

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ