รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 4, 2016 11:05 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

Summary:

1. กนง. มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.50 ต่อปี

2. กระทรวงพาณิชย์เผย ราคาสินค้าช่วงตรุษจีนทรงตัว

3. ผู้ว่าฯแบงก์ชาติญี่ปุ่นส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยลงอีกจากปัจจุบันที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี

1. กนง. มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.50 ต่อปี
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงการประชุมนัดแรกของปี 59 (วันที่ 3 ก.พ. 59) ว่าคณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.50 ต่อปี เศรษฐกิจไทยในปี 59 ยังคงขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยอุปสงค์ในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
  • สศค. วิเคราะห์ว่าการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.50 ต่อปี ของ กนง. ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ผ่อนปรนเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจปี 59 ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่า รวมทั้งทิศทางการด่าเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย และอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ดี เสถียรภาพภายนอกประเทศของไทยยังอยู่ในระดับมั่นคง สะท้อนจากทุนส่ารองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ในระดับต่า ส่าหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังติดลบโดยล่าสุดเดือน ม.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.5 ส่าหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 59 สศค. คาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 0.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.2 ถึง 0.8) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่าตามแนวโน้มราคาพลังงานที่ส่งผลให้แรงกดดันด้านต้นทุนลดลง
2. กระทรวงพาณิชย์เผย ราคาสินค้าช่วงตรุษจีนทรงตัวและการจับจ่ายอยู่ในภาวะปกติ
  • อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า จากการสำรวจภาวะราคาสินค้าก่อนเทศกาลตรุษจีนทั่วประเทศ พบว่า ราคาสินค้าส่วนใหญ่ทรงตัวเหมือนปีก่อน ทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ ยกเว้นผักและผลไม้บางชนิดเท่านั้นที่ราคาสูงขึ้น แต่ในภาพรวมถือว่าราคาเป็นปกติ ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยอยู่ในภาวะปกติ แต่ไม่มากเท่าช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดว่าวันที่ 6 ก.พ. 59 ซึ่งเป็นวันจ่าย น่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมีสัญญาณปรับตัวดีเนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น จากปัจจัยบวกของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีความต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ณ เดือนธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 65.1 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 7 เดือน ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 59 สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.7 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.2-4.2) โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) การใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากโครงการลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 2) กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนปี 59 ที่เพิ่มขึ้น ส่าหรับเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 59 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.2 ถึง 0.8) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่าตามแนวโน้มราคาพลังงานที่ส่งผลให้แรงกดดันด้านต้นทุนลดลง
3. ผู้ว่าฯแบงก์ชาติญี่ปุ่นส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยลงอีก จากปัจจุบันที่ร้อยละ -0.1
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณว่า BOJ อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสถาบันการเงินต่างๆ ที่นำเงินมาสำรองฝากไว้กับ BOJ ลงจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ -0.1 หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็น โดยกล่าวว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบเป็น "อาวุธที่มีอานุภาพ" สำหรับนโยบายการเงิน พร้อมกับกล่าวว่า BOJ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหากจำเป็น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การด่าเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบเป็นการใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเป็นการบรรเทาภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ต่าลงจะส่งผลด้านบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนโดยมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการส่งออกให้ปรับตัวดีขึ้น และจากมาตรการทางการเงินดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นให้ขยายตัวได้ ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 59 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ม.ค. 59)

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ