เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 28, 2016 14:30 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม และในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 สะท้อนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมา อีกทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องในระดับสูง ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจสำคัญ อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าของไทยยังคงหดตัวต่อเนื่อง สะท้อนภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยที่ยังชะลอตัว ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในปี 2559 นี้ต่อไป"

1.การบริโภคภาคเอกชนในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2558 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเดือน จากการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวถึงร้อยละ 15.2 ต่อปี สะท้อนการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดีจากมาตรการของภาครัฐในการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อไตรมาส จากการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในปรเทศที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 ต่อปี สะท้อนถึงการบริโภคภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อเดือน จากการขยายตัวของปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และในเขตภูมิภาคที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 และ7.2 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 8.8 ต่อไตรมาส โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง กอปรกับการกระตุ้นยอดขายของบริษัทจัดจำหน่ายในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวเร่งขึ้น นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ที่ระดับ 65.1 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 7 เดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ที่ระดับ 63.6 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น จากปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการช็อปช่วยชาติในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมาที่ช่วยลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา กอปรกับราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวร้อยละ -11.0 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวร้อยละ -4.4 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -2.3 ต่อไตรมาส โดยเป็นการลดลงมาจากการนำเข้าในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทปศุสัตว์และสัตว์ปีก

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                 2557                                    2558
                                                  Q1      Q2       Q3       Q4      ต.ค.    พ.ย.     ธ.ค.    YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)             0.4      1.0     1.7     -0.7      2.0     -4.0     3.5      6.8     1.0
   %qoq_SA / %mom_SA                             1.0    -0.5     -1.4      2.8     -3.9     4.1      2.5
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)         1.5     10.8     2.0      1.5     -4.4     -7.4     5.3    -11.0     2.2
   %qoq_SA / %mom_SA                            -0.6    -4.0      0.1     -1.1     -2.3     5.7     -4.9
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)          -41.4    -12.5   -27.3    -24.9    -15.8    -19.5   -12.0      n.a.  -20.6
   %qoq_SA / %mom_SA                            -7.0   -13.7     -7.2        -      7.4     3.9        -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)      -14.3     10.9    -2.9    -10.6      2.3     -6.5     6.9      7.8    -0.2
   %qoq_SA / %mom_SA                             8.5   -11.9     -2.6      8.8     -5.5     6.6      4.7
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)              -8.3     -5.8   -14.8    -13.7     -8.4    -12.0   -30.8     36.5   -10.1
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                     65.0     68.4    64.9     61.8     63.6     62.2    63.4     65.1    64.7

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ปรับตัวดีขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 32.7 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 24.5 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 18.8 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 19.6 ต่อไตรมาส ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา สำหรับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อไตรมาส สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -6.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -6.6 ต่อปี ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เนื่องจากราคาเหล็กลดลงตามราคาตลาดโลก เป็นสำคัญ นอกจากนี้ การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน หดตัวร้อยละ -5.5 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหดตัวร้อยละ -1.4 ต่อปี แต่เมื่อหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่า หดตัวร้อยละ -0.6 ต่อปี แต่เมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อไตรมาส

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                 2557                                           2558
                                                 Q1        Q2       Q3        Q4      ต.ค.     พ.ย.     ธ.ค.      YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์         -2.2       7.3       2.9     -0.5      18.8     -7.8     25.2      32.7      7.7
(%yoy)
   %qoq_SA / %mom_SA                           -1.6      -4.5      4.6      19.6     -2.3     21.6      24.5
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)            -3.2      -2.5      -0.2     -0.7       2.1     -0.3      2.6       4.1     -0.4
   %qoq_SA / %mom_SA                            0.9      1.6      -1.5       1.1     -0.6      0.8       1.7
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                      0.7      -3.7     -4.4      -5.7      -6.6     -6.5     -6.7      -6.7     -4.9
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)     -26.8     -11.3    -17.3      -0.3      11.6      7.2     15.7       n.a.    -5.9
   %qoq_SA / %mom_SA                           -7.2     -7.0      14.2         -     11.1     16.2
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)              -7.6      -1.8      1.3      -4.8      -1.4      5.4      0.5      -5.5     -2.2
   %qoq_SA / %mom_SA                           -1.1     -0.9     -13.9      -2.3      6.2     -6.6       0.9
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ และ     -4.8       0.1     -3.6      -2.3       0.1     -2.7      3.7      -0.6     -1.4
รถไฟ (%yoy)
   %qoq_SA / %mom_SA                           -0.7     -2.0       0.7       2.1     -2.4      2.6       2.0

3. สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2559) สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐบาลที่ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง และดุลงบประมาณที่ขาดดุล โดยการเบิกจ่ายงบประมาณรวมสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 283.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 239.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.8 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 206.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -7.7 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 33.0 พันล้านบาท ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 87.0 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2559) รายจ่ายรวมสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 890.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2559) สามารถเบิกจ่ายได้ 807.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 29.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 (2,720.0 พันล้านบาท) สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 235.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 36.8 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2559) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 581.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.6 ต่อปี ทั้งนี้ ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -39.7 พันล้านบาท และทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2559) ขาดดุล -311.4 พันล้านบาท สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้ภาคการคลัง                     FY2558                  FY2558                                    FY 2559
 (พันล้านบาท)                                    Q1/       Q2/       Q3/       Q4/       Q1/     ต.ค.      พ.ย.      ธ.ค.     FYTD
                                              FY58      FY58      FY58      FY58      FY59
รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้  2,207.5   507.5     469.9     652.5     577.5     581.3    166.0    179.8     235.5     581.3
อปท.)
(%y-o-y)                               6.4     0.8       7.5       7.2       9.9      14.6     -4.5     11.3      36.8      14.6
รายจ่ายรัฐบาลรวม                     2,601.4   844.1     617.6     569.6     570.1     890.9    374.2    232.9     283.8     890.9
(%y-o-y)                               5.7     1.6      11.7      10.7       1.6       5.5      1.8     13.2       4.8       5.5
รายจ่ายปีปัจจุบัน                       2,378.1   766.4     557.7     529.4     524.6     807.7    359.6    209.0     239.1     807.7
(%y-o-y)                               5.9     0.7      15.6      11.1      -0.3       5.4      4.3     15.7      -0.8       5.4
รายจ่ายประจำ                        2,106.6   725.1     481.0     452.3     448.1     739.6    336.1    197.5     206.0     739.6
(%y-o-y)                               7.4    12.5       7.3       8.1      -0.7       2.0      1.8     14.9      -7.7       2.0
รายจ่ายลงทุน                           271.6    41.3      76.7      77.1      76.4      68.1     23.5     11.5      33.1      68.1
(%y-o-y)                              -4.4   -64.6     123.2      32.4       2.1      65.0     58.7     31.0      87.0      65.0
ดุลเงินงบประมาณ                       -402.3  -347.3    -138.9     89.4       -5.5    -311.4   -217.0    -54.7     -39.7    -311.4

4. การส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 17.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -8.7 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อเดือน โดยการส่งออกในเดือนธันวาคม 2558 เป็นการหดตัวในเกือบทุกกลุ่มสินค้าส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า การเกษตร น้ำมันและเชื้อเพลง อย่างไรก็ดี การส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรในเดือนธันวาคม 2558 กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี โดยเฉพาะผลไม้กระป๋องและแปรรูป และซอสปรุงรส ขณะที่ภาพรวมการส่งออกรายตลาดหดตัวเกือบทุกประเทศ โดยเฉพาะคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ และอาเซียน-5 หดตัวร้อยละ -9.5 -9.8 -7.2 และ -15.2 ต่อปี ตามลำดับ แต่ตลาดส่งออกไปสหภาพยุโรป และ CLMV ยังขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 2.3 และ 7.4 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐหดตัวร้อยละ -8.1 ต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกที่หดตัวลดลงมีปัจจัยสำคัญจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -9.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 การนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐหดตัวร้อยละ -12.6 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่สูงกว่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนธันวาคม 2558 เกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ในไตรมาสที่ 4 ดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุล 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

การค้าระหว่างประเทศ                     2557                                               2558
                                                       Q1         Q2        Q3         Q4        พ.ย.      ธ.ค.      YTD
อัตราขยายตัวมูลค่าส่งออกสินค้า (%            -0.4           -4.7       -5.0      -5.3       -8.1       -7.4      -8.7      -5.8
yoy)%qoq_SA / %mom_SA                                -6.1       -1.1      -1.1       -0.7       -2.3       0.8         -
1.สหรัฐฯ (10.5% >> 11.2%)               0.7            5.6        2.6       0.2       -4.9       -6.3      -7.2       0.7
2.จีน (11.0% >> 11.1%)                 -5.4          -14.4        1.2      -1.0       -6.3       -6.1      -9.5      -5.4
3.ญี่ปุ่น (9.6% >> 9.4%)                  -7.7           -9.2       -3.8      -7.9       -9.6       -4.7      -9.8      -7.7
4.สหภาพยุโรป (9.2% >> 9.3%)            -5.7           -3.9       -8.4      -4.4       -5.9       -6.7       2.3      -5.7
5. ฮ่องกง (5.6% >> 5.5%)               -6.2          -11.5       -9.0      -2.0       -1.9       -6.7      -1.0      -6.2
6. อาเซียน-9 (26.1% >> 25.7%)          -7.2           -2.4       -5.9     -10.6       -9.3       -9.8      -6.3      -7.2
7. อาเซียน-5 (17.0% >> 15.3%)         -15.1           -9.4      -11.8     -19.5      -19.1      -23.5     -15.2     -15.1
8. อินโดจีน-4 (9.1% >> 10.4%)            7.7           10.6        5.5       7.2        7.9       15.4       7.4       7.7

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 42.9 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวถึงร้อยละ 86.6 ต่อเดือน เนื่องจากการเลื่อนการเพาะปลูกข้าวนาปีตั้งแต่ช่วงกลางปี 2558 ที่ควรเริ่มปลูกตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2558 แต่ต้องเลื่อนการเพาะปลูกไปเป็นปลายเดือนกรกฎาคม 2558 จากความกังวลต่อปริมาณน้ำฝนจากปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้ล่าช้ากว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้ในเดือนธันวาคม 2558 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในหมวดข้าวเปลือกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 274.3 ดังนั้น จึงส่งผลให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในภาพรวมขยายตัวในระดับสูงตาม ในขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ตามผลของราคาที่หดตัวต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันดิบ ในส่วนของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีสถานการณ์โรคระบาด ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -3.2 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อไตรมาส สอดคล้องกับดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวที่ร้อยละ -4.9 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวร้อยละ -5.8 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 87.5 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยมีปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเดือนธันวาคม 2558 ได้แก่ การจัดกิจกรรมกระตุ้นยอดขายช่วงสิ้นปี การจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2015 และมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการบริโภคของประชาชนในช่วงปีใหม่ ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลดีต่อต้นทุนขนส่งของผู้ประกอบการ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 86.0 สำหรับภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 2.99 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อเดือน โดยนักท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา เป็นสำคัญ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวน 7.77 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากผลพวงของเหตุการณ์ระเบิดที่แยกราชประสงค์เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ให้ในไตรมาสที่ 4 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า หดตัวร้อยละ -6.3 ต่อไตรมาส ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุการณ์ระเบิดที่แยกราชประสงค์เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                       2557               2558
                                                      Q1        Q2       Q3      Q4     ต.ค.     พ.ย.     ธ.ค.     YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)                 0.4     1.0     -10.8    -10.6    -3.2    -7.4    -26.2     42.9     -5.3
   %qoq_SA / %mom_SA                                 1.0     -11.5      2.1     5.5     6.2    -26.1     86.6        -
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)                  -4.6     0.1      -7.5     -6.1    -3.9*   -3.9               n.a.     0.1
   %qoq_SA / %mom_SA                                -1.5      -7.9      1.8       -    -2.0        -        -
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)            87.4    89.6      85.2     82.7    86.0    84.7     85.8     87.5     85.8
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                      -6.5    22.8      36.9     24.9     3.7     1.0      5.1      4.7     20.4
   %qoq_SA / %mom_SA                                 4.2       7.7     -1.8    -6.3     2.3     -2.0      3.2        -

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2558 ยังคงติดลบที่ร้อยละ -0.9 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของราคาน้ำมัน ราคาไฟฟ้า และราคาเนื้อสัตว์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 2.5 แสนคน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.5 ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 ที่อยู่ในระดับสูงที่ 156.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.9 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                     2557                                   2558
                                                      Q1      Q2      Q3      Q4      ต.ค.    พ.ย.    ธ.ค.   YTD
ภายในประเทศ   เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)            1.9      -0.5    -1.1    -1.1    -0.9     -0.8    -1.0    -0.9   -0.9
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                         1.6       1.5     1.0     0.9     0.8      1.0     0.9     0.7    1.1
อัตราการว่างงาน (yoy%)                       0.8       1.0     0.9     0.9     0.8      0.9     0.9     0.7    0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                             42.8      43.3    42.8    43.3    44.5**   43.8    44.5     n.a.  44.5
ภายนอกประเทศ   ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)     15.4       8.4     6.1     7.2     8.2*     5.2     3.0     n.a.  27.0
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)                  157.1     156.3   160.3   155.5   156.5    158.3   155.7   156.5  156.5
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)                23.1      19.6    18.4    13.3    11.7     12.1    11.7    11.7   11.7
ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะ                  2.7       3.0     2.9     2.9     2.9*     3.0     2.9     n.a.   2.9
สั้น (เท่า) *ข้อมูล 2M/Q4 2558 **ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2558

สำหรับมาตรการการเงินการคลังที่กระทรวงการคลังได้ผลักดันตามนโยบายรัฐบาลโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมานั้น ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วง ไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 และปี 2559 ต่อไป โดยมีความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ถึง ณ วันที่ 25 มกราคม 2559 สรุปได้ดังนี้

1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล มีเป้าหมายเพื่อกระจายการลงทุน การจ้างงาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปในพื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัด และผลักดันให้เกิดการพัฒนาในท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและบรรเทาผลกระทบในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเร่งรัดการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย

1.1 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน (สินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน ดอกเบี้ยร้อยละ 0 วงเงินสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดได้มีการการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 47,642 ล้านบาท ให้กับผู้มีรายได้น้อยแล้วจำนวน 3,005,736 ราย แบ่งเป็นธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อแล้ว 25,570 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 25,728 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,631,186 ราย เป็นเงิน 21,280 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อนุมัติสินเชื่อแล้ว 22,072 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 22,555 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,379,550 ราย เป็นเงิน 22,072 ล้านบาท

1.2 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล (ลงทุนตำบลละไม่เกิน 5 ล้านบาท วงเงิน 36,275 ล้านบาท) โดย ณ วันที่ 22 มกราคม 2558 มีงบประมาณได้รับการอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 34,985 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.4 ของกรอบวงเงิน โดยเป็นวงเงินโครงการที่ทำสัญญาแล้วจำนวน 11,375 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายจำนวน 1,705 ล้านบาท

1.3 มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ลงทุนหน่วยงานละไม่เกิน 1 ล้านบาท กรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท พบว่า มีโครงการที่ทำสัญญาแล้ว จำนวน 31,282 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 26,544 ล้านบาท (ข้อมูลเบิกจ่าย ณ วันที่ 22 มกราคม 2559)

2. มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

2.1 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs (Soft Loan SMEs ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ระยะเวลา 7 ปี วงเงินสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็น (1) วงเงิน 100,000 ล้านบาท (สิ้นสุดโครงการแล้ว) มีการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า SMEs แล้วจำนวน 11,809 ราย ยอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 98,958 ล้านบาท และ (2) วงเงิน 50,000 ล้านบาท (สิ้นสุดวันรับคำขอวันที่ 30 มิถุนายน 2559 หรือวงเงินหมดก่อน) มีการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า SMEs แล้วจำนวน 8,744 ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน 41,563 ล้านบาท (ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559)

หมายเหตุ: ***

2.2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) (ค้ำประกันไม่เกินร้อยละ 30 ต่อพอร์ต วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน 49,940 ล้านบาท ให้กับ SMEs จำนวน 11,313 ราย

3. มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งในส่วนของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง นั้นธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 มีผู้ยื่นขอสินเชื่อแล้ว 16,207 ราย วงเงินสินเชื่อประมาณ 23,402 ล้านบาท โดย ธอส. ได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 11,045 ราย วงเงินอนุมัติ 15,543 ล้านบาท

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ