รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 2 มีนาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 2, 2016 13:14 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2559

Summary:

1. พาณิชย์ เผย ก.พ.59 CPI หดตัวร้อยละ -0.50, Core CPI ขยายตัวร้อยละ 0.68

2. กกร.เผยภาพรวมม.ค.เริ่มต้นไม่สดใส กิจกรรมทางศก.เริ่มแผ่ว เว้นท่องเที่ยวยังมีโมเมนตัมโตต่อเนื่อง

3. เกาหลีใต้เผยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเดือน ก.พ. 59 ลดลงแตะระดับต่าสุดในรอบ 7 ปี

1. พาณิชย์ เผย ก.พ.59 CPI หดตัวร้อยละ -0.50, Core CPI ขยายตัวร้อยละ 0.68
  • กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ก.พ.59 อยู่ที่ 105.62 หดตัวร้อยละ -0.50 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.58 และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ม.ค.59) ขยายตัวร้อยละ 0.15 มีผลให้ CPI เฉลี่ยช่วง 2 เดือนแรก หดตัวร้อยละ -0.52 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน ก.พ.59 อยู่ที่ 106.37 ขยายตัวร้อยละ 0.68 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.58
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. 59 ยังหดตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราชะลอลง ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของราคาสินค้าหลัก ได้แก่ สินค้าในกลุ่มพลังงาน สินค้าในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร และสินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น่าประปาและแสงสว่าง ที่หดตัวร้อยละ -12.48 -4.80 และ -3.53 ตามล่าดับ ตามราคาน่ามันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน่ามันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงตาม แต่จะช่วยชดเชยแรงกดดันเงินเฟ้อจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่ขยายตัวร้อยละ 1.26 2.18 และ 10.73 ตามล่าดับ ตามการปรับขึ้นของราคาสินค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีน และการปรับขึ้นอัตราค่าแสตมป์ยาสูบตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 59 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 59 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.2 ถึง 0.8) ประมาณการ เดือน ม.ค. 59 จับตา การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่พลังงาน และราคาน่ามันในตลาดโลก ในช่วงไตรมาสแรกปี 59
2. กกร.เผยภาพรวมม.ค.เริ่มต้นไม่สดใส กิจกรรมทางศก.เริ่มแผ่ว เว้นท่องเที่ยวยังมีโมเมนตัมโตต่อเนื่อง
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ประชุมสรุปภาวะเศรษฐกิจเดือนมกราคม 2559 พบว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังคงเริ่มต้นไม่สดใส สะท้อนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจแทบทุกภาคส่วนแผ่วลงจากเดือนก่อน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจเดียวที่ยังคงมีโมเมนตัมเติบโตได้ต่อเนื่อง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค. 59 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐบาลยังขยายตัวได้ในระดับสูง สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมสามารถเบิกจ่ายได้จ่านวน 259.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.5 ต่อปี และภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี โดยในเดือน ม.ค. 59 มีจ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 3.0 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 15.0 ต่อปี ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนจะมีสัญญาณชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีจากการท่าธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี จากการเร่งโอนไปแล้วในช่วงเดือนก่อนหน้าก่อนที่ราคาประเมินที่ดินใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 59 ส่าหรับภาคการส่งออกสินค้ายังหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน-5 ญี่ปุ่น และสหรัฐ เป็นส่าคัญ ตามการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจ แต่ตลาดส่งออกไปยังกลุ่ม CLMV ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ ยังขยายตัวเป็นบวก ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 59 จะขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 (ประมาณการ ณ เดือน ม.ค. 59) จับตา: ความเสี่ยงการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 59
3. ส่งออกเกาหลีใต้ เดือนก.พ. 59 หดตัวเป็นเดือนที่ 14 ที่ร้อยละ -12.2
  • กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานของเกาหลีใต้ เปิดเผยยอดการส่งออกของเกาหลีใต้ ในเดือนก.พ. 59 อยู่ที่ 3.642 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -12.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ 2.90 หมื่นล้านสหรัฐฯ หรือเป็นอัตราการหดตัวที่ร้อยละ -14.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ 7.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า 1) การหดตัวของการส่งออกเกาหลีใต้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 25 ของการส่งออกรวมเกาหลีใต้) และการลดลงของราคาน่ามัน ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ 2) จากเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุด ส่งสัญญาณชะลอตัวเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 49.5 และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) ในภาคการผลิตนั้นปรับตัวลดลงต่าที่สุดในรอบ 7 ปี อยู่ที่ระดับ 63 ในเดือน ก.พ. 59 สะท้อนถึงการชะลอตัวของภาคการผลิต และ 3) สศค. คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 59 จะเติบโตที่ร้อยละ 2.7 ประมาณการ ณ เดือน ม.ค. 59 จับตา: การส่งออกและอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 59

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ