รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 7 - 11 มีนาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 14, 2016 13:41 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 59 มีจำนวน 16,384 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -30.0
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 59 อยู่ที่ 35,437 คัน หรือหดตัวร้อยละ -2.4
  • การจ้างงานเดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ 37.9 ล้านคน ลดลง 6.6 หมื่นคน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.2
  • GDP ยูโรโซน ไตรมาส 4 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัว ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราว่างงานของสหรัฐฯ ทรงตัวที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม
  • มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -25.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -13.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกของไต้หวัน เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -13.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • เกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน มี.ค. 59 ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี
  • มูลค่าการส่งออกของมาเลเซีย เดือน ม.ค. 59 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Indicator next week

Indicators       Forecast    Previous
Feb : API (%YOY)    1.3         -6.3
  • เนื่องจากอาจมีผลผลิตข้าวเปลือกที่ตกค้างมา เก็บเกี่ยวได้บางส่วนในเดือนนี้ กอปรกับเริ่มมีผลผลิตในหมวดไม้ผลออกมากขึ้น รวมถึงสภาวะปลอดโรคระบาดจึงคาดว่าผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงจะขยายตัวได้ดี
Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 59 มีจำนวน 16,384 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -30.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หดตัวเร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.2 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -18.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล (%mom_sa) หลังจากที่มีการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 59 กอปรกับในเดือนก่อนหน้ามีงานมหกรรมยานยนต์ (Motor Expo) ที่ทำให้มีการเร่งการบริโภคไปแล้วก่อนหน้านี้ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งจึงมีการหดตัวในเดือน ม.ค. 59
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 59 อยู่ที่ 35,437 คัน หรือหดตัวร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อหักผลทางฤดูกาลแล้ว หดตัวร้อยละ -20.8 ต่อเดือน เนื่องจากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 59 ทำให้มีการเร่งซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์ไปแล้วในช่วงเวลาก่อนหน้า เช่นเดียวกับรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -20.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว
  • การจ้างงานเดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ 37.9 ล้านคน ลดลง 6.6 หมื่นคน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการลดลงของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ต่อเนื่องจากปีก่อนส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการบางสาขาก็ปรับลดลงเช่นเดียวกัน จากสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขากิจกรรมทางการเงิน อย่างไรก็ดี การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสาขาการก่อสร้างที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 1.3 แสนคน นอกจากนี้ สาขาอื่นๆ ที่การจ้างานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาการผลิต สาขาการค้าส่ง ค้าปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.4 แสนคน
Economic Indicator: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 59 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากอาจมีผลผลิตข้าวเปลือกที่ตกค้างมาเก็บเกี่ยวได้บางส่วนในเดือนนี้ กอปรกับเริ่มมีผลผลิตในหมวดไม้ผลออกมากขึ้น รวมถึงสภาวะปลอดโรคระบาดจึงคาดว่าผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงจะขยายตัวได้ดี

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึน 242,000 ตำแหน่ง จากหมวดการศึกษา-สุขภาพ บริการนันทนาการและสันทนาการ และบริการธุรกิจ-วิชาการส่งผลให้อัตราว่างงานทรงตัวที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 8 ปี ขณะที่รายได้ภาคเอกชนเฉลี่ยรายสัปดาห์อยู่ที่ 868.9 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน ดุลการค้า เดือน ม.ค. 59 ขาดดุลลดลงที่ 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกที่หดตัวสูงร้อยละ -10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าทุกชนิดที่หดตัว ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ -8.3 จากสินค้าทุนและสินค้าเพื่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม

China: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -25.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี จากการส่งออกไปทุกตลาดสำคัญที่หดตัวสูง มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -13.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 โดยมีมูลค่าการนำเข้าจากฮ่องกงที่ขยายตัวสูงผิดปกติติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 59 เกินดุลเพียง 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงกว่าครึ่งจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในเดือนก่อน จากราคาอาหารที่เพิ่มสูงในช่วงตรุษจีน

Eurozone: worsening economic trend

GDP ไตรมาส 4 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในตัวเลขเบื้องต้น การประชุม ECB เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 59 มีมติขยายวงเงินมาตรการ QE โดยเข้าซือสินทรัพย์ทางการเงินวงเงิน 8 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จากเดิม 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน และปรับลดอัตราดอกเบีย 3 ประเภท ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินของสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับ ECB ให้อยู่ที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี (2) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี และ(3) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามคืนกับ ECB อยู่ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี พร้อมทั้งประกาศ TLTRO ระยะที่ 2

Japan: worsening economic trend

GDP ไตรมาส 4 ปี 58 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในตัวเลขเบื้องต้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ระดับ 39.7 ลดลงจาก 42.1 จุดในเดือนก่อน

Taiwan: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 จากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ที่หดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -13.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 59 เกินดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 3 ปี จากราคาอาหารโดยเฉพาะผักสดที่เพิ่มขึ้นกระทันหัน

South Korea: mixed signal

ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบียนโยบาย เดือน มี.ค. 59 ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

Malaysia: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 59 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ที่หดตัวในระดับสูง มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าหมวดอาหารและภาคการผลิตที่ยังขยายตัวได้ดี ส่งผลให้ดุลการค้า เกินดุลมูลค่า 5.4 พันล้านริงกิตมาเลเซีย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตไฟฟ้าที่เร่งขึ้น เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 59 ธนาคารกลางมาเลเซียมีมติคงอัตราดอกเบียนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี

Philippines: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 59 หดตัวร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัว เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 59 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ตัดสินใจคงอัตราดอกเบียนโยบายที่ร้อยละ 4.00 ต่อปี

Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึนต่อเนื่องมาแตะที่ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนในวันที่ 3 มี.ค. 59 โดยดัชนีฯ ปิดที่ 1,379.33 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยเฉพาะในหลักทรัพย์กลุ่มธนาคาร และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เนื่องจากธนาคารกลางจีนการประกาศปรับลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายลงร้อยละ 0.5 ต่อปี รวมถึงตลาดคาดว่าธนาคารกลางยุโรปจะมีนโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมวันที่ 10 มี.ค. 59 นี้ ทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อในตลาดภูมิภาค ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. 59 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์สูงถึง 51,899.9 ล้านบาทต่อวัน และทั้งสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิสูงถึง 8,506.4 ล้านบาท
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง โดยเฉพาะช่วงอายุตังแต่ 5 ปีขึนไป จากการปรับลดอัตราเงินสดสำรองของจีนดังกล่าว และผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่มีความต้องการสูงถึง 2.9 เท่าของวงเงินประมูล ทำให้มีการเสนอซื้อกันมากในตลาดรอง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 3,175.8 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • เงินบาทแข็งค่าขึน โดย ณ วันที่ 3 มี.ค. 59 เงินบาทปิดที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.47 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นๆ ยกเว้นเยน ยูโร และหยวนที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีแข็งค่าขึนร้อยละ 0.47 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ