รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 18 มีนาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 18, 2016 13:06 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2559

Summary:

1. พาณิชย์ติดตามราคาพริกขี้หนู หวั่นภัยแล้งกระทบราคา

2. ส่งออกญี่ปุ่น เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -4.0

3. ส่งออกสิงคโปร์ เดือน ก.พ. 59 หดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ -3.0

1. พาณิชย์ติดตามราคาพริกขี้หนู หวั่นภัยแล้งกระทบราคา
  • นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กล่าวว่า ราคาพริกขี้หนูเม็ดใหญ่ อยู่ที่ 25-30 บาท/กก. และมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแล้ง ทำให้ผลผลิตเสียหายและเข้าสู่ตลาดน้อยลง จึงได้สั่งการให้ติดตามราคาอย่างใกล้ชิดและเตรียมมาตรการรองรับ ทั้งนี้ได้ติดตามการนำเข้าพริกแห้งจากอินเดียและจีน โดยพบว่าปริมาณนำเข้ายังคงปกติ แต่ราคานำเข้าสูงขึ้นเท่าตัว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า พณ. ได้กำหนดให้ "พริก" เป็นสินค้าที่ติดตามภาวะและสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกปักษ์ (Watch List) จากทั้งสิ้น 173 รายการ โดยอากาศร้อนแห้งแล้งอาจส่งผลให้ผลผลิตลดลง เนื่องจากพริกเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ สภาพอากาศยังส่งผลกระทบต่อผลผลิตของผักและผลไม้อื่นด้วยเช่นกัน ซึ่งราคาผักและผลไม้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.9 ของการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค โดยล่าสุด ณ ก.พ. 59 ดัชนีราคาผักผลไม้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากทั้งปัจจัยอากาศร้อนและเทศกาลตรุษจีน ดังนั้น ราคาพริกและผักผลไม้อื่นที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยตามสภาพอากาศที่ร้อนจัดนั้น
2. ส่งออกญี่ปุ่น เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -4.0
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยมูลค่าส่งออก เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียนและยูโรโซนที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ส่วนมูลค่านำเข้า เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -14.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดสินแร่เชื้อเพลิงและสินค้าภาคการผลิตที่หดตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ยอดส่งออกที่หดตัวน้อยกว่านำเข้า ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนดังกล่าวยังคงเกินดุลมูลค่า 2.4 แสนล้านเยน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อน ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกในเดือน ก.พ. 59 เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นเล็กน้อย และอุปสงค์จากจีน (คู่ค้าสำคัญอันดับ 1 สัดส่วนส่งออกกว่าร้อยละ 17.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 58) เริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งในเดือนดังกล่าว กอปรกับเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐช่วงต้นเดือน มี.ค. 59 ที่ผ่านมาเริ่มกลับมามีสัญญาณอ่อนค่าลงอีกครั้งหลังจากที่แข็งค่าขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี จะเป็นปัจจัยช่วยให้ภาคการส่งออกญี่ปุ่นในระยะถัดไปเริ่มปรับตัวดีขึ้น
3. ส่งออกสิงคโปร์ เดือน ก.พ. 59 หดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ -3.0
  • มูลค่าการส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 59 กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ร้อยละ 2.2
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกของสิงคโปร์ เดือน ก.พ. 59 ซึ่งหดตัวร้อยละ -3.0 แม้ถือเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน แต่เป็นการหดตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งหดตัวสูงถึงร้อยละ -15.1 โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังคู่ค้าสำคัญหลายประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น เช่น การส่งออกไปจีนหดตัวเพียงร้อยละ -3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากที่ในเดือนก่อนหดตัวถึงร้อยละ -19.5 นอกจากนี้ หากพิจารณาในมุมมองของชนิดสินค้า จะพบว่า การส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 2.3 หลังจากที่หดตัวร้อยละ -11.3 ในเดือนก่อน สำหรับในส่วนของมูลค่าการนำเข้า ซึ่งพบว่ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าหมวดเครื่องจักรและ

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ