รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 4 - 8 เมษายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 11, 2016 13:59 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.4
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 59 มีจำนวน 176,855 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -9.4
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 59 หดตัวที่ร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,005.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.1 ของ GDP
  • GDP เวียดนาม ไตรมาส 1 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราว่างงานของสหรัฐฯ อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Caixin) ของจีน เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด
  • อัตราการว่างงานของยูโรโซน เดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ ร้อยละ 10.3 ของกำลังแรงงานรวม
  • มูลค่าการส่งออกของมาเลเซีย เดือน ก.พ. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.6
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของฮ่องกง เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 45.5 จุด
  • อัตราเงินเฟ้อของไต้หวัน เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Indicator next week

Indicators           Forecast    Previous
Mar : API (%YOY)        1.4        -2.0
  • โดยคาดว่าจะเริ่มมีผลผลิตข้าวนาปรังบางส่วนสามารถเก็บเกี่ยวได้ รวมถึงผลผลิตมันสำปะหลัง และอ้อยโรงงานที่คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้มาก รวมถึงสินค้าในหมวดปศุสัตว์คาดว่ายังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากไม่มีการรายงานสถานการณ์โรคระบาด
Economic Indicators: This Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.4 ปรับลดลงจากระดับ 63.5 ในเดือน ก.พ. 59 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อรายได้ของเกษตรกร และการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ยังได้รับปัจจัยบวกจากการส่งออกในเดือน ก.พ. ที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 59 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 63.4 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 63.6
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 59 มีจำนวน 176,855 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -9.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -11.1 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล การหดตัวในเดือนนี้ เป็นผลของปัจจัยฐานในเดือน มี.ค. 58 ที่มีการออกโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย แต่ในไตรมาสแรกของปีนี้ได้มีการจัดโปรโมชั่นในช่วง ธ.ค. 58 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือน ม.ค. 59 ไปแล้ว ทั้งนี้ในไตรมาสแรกของปี 59 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 59 หดตัวที่ ร้อยละ -4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่หดตัวตามราคาตลาดโลก ทำให้ในไตรมาส 1 ปี 59 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -5.1
Economic Indicators: This Week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,005.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.1 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 25.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) (ร้อยละ 95.3 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (ร้อยละ 94.1 ของยอดหนี้สาธารณะ)
Economic Indicator: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 59 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยคาดว่าจะเริ่มมีผลผลิตข้าวนาปรังบางส่วนสามารถเก็บเกี่ยวได้ รวมถึงผลผลิตมันสำปะหลัง และอ้อยโรงงานที่คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้มาก รวมถึงสินค้าในหมวดปศุสัตว์คาดว่ายังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากไม่มีการรายงานสถานการณ์โรคระบาด

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน มี.ค. 59 เพิ่มขึ้น 215,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าเดือนก่อน จากภาคค้าส่งค้าปลีก การศึกษาและสุขภาพ และนันทนาการที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน มี.ค. 59 หดตัวร้อยละ -3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี จากยอดขายรถยนต์นั่งที่หดตัวสูง และรถบรรทุกที่ขยายตัวชะลอลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคบริการ เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 54.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากดัชนีย่อยด้านคำสั่งซื้อใหม่และราคาที่เพิ่มขึ้น ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ก.พ. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 16 เดือน จากเครื่องมือด้านการขนส่ง และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เร่งขึ้น

China: improving economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ Caixin เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.2 จุด ในเดือนก่อน สะท้อนภาคบริการของจีนที่ยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

Eurozone: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ร้อยละ 10.3 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ 53.1 จุด ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ประกาศออกมาก่อนหน้าที่ 53.7 จุด โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 51.6 จุด สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้น ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ 53.1 จุด ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้น ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากยอดขายในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และบุหรี่ และหมวดน้ำมันรถยนต์

Malaysia: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปเกือบทุกตลาดที่ขยายตัวเร่งขึ้น อาทิ กลุ่มอาเซียน จีน สหรัฐฯ และยูโรโซน ส่วนมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.6 ส่วนหนึ่งจากราคาสินค้าหมวดสินแร่และเชื้อเพลิงที่ยังคงหดตัวอยู่ในระดับสูงส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลมูลค่า 7.4 พันล้านริงกิต

Hong Kong: worsening economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 45.5 จุด ลดลงจากระดับ 46.4 จุดในเดือนก่อน สะท้อนภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงซบเซาต่อเนื่อง

Taiwan: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน แต่ถือว่ากลับมาอยู่ในอัตราค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 58 ที่ร้อยละ 1.2 จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น

Singapore: worsening economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 49.4 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 48.5 จุดในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ดัชนีฯยังคงอยู่ต่ำกว่า 50 จุดต่อเนื่อง สะท้อนกิจกรรมภาคกาคผลิตที่ยังคงชะลอตัว

India: improving economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 52.4 จุด สูงสุดในรอบ 8 เดือนจากผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 54.3 จุด เพิ่มขึ้นจาก 51.4 จุดในเดือนก่อน จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 59 ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.50 ต่อปี ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี

Phillippines: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากราคาอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

United Kingdom: improving economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ 53.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ดัชนีฯ ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 51.0 จุด ขณะที่ดัชนีฯ ภาคก่อสร้าง ทรงตัวที่ 54.2 จุด

Australia: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายในทุกหมวด มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 59 หดตัวร้อยละ -9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกแร่โลหะหดตัวน้อยลง ขณะที่การส่งออกเหล็กกลับมาขยายตัวเป็นเดือนแรก ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองที่ร้อยละ -0.4 จากสินค้าทุน เหล็ก และพลังงาน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -2.5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

Vietnam: worsening economic trend

GDP ไตรมาส 1 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวร้อยละ -0.5 จากไตรมาสก่อน ผลจากภาคเกษตรกรรมที่หดตัว ขณะที่ภาคการผลิตและก่อสร้างยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง

Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมาก โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 7 เม.ย. 59 ปิดที่ 1,356.7 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ที่ 46,747 ล้านบาท โดยเป็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ สถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ จากหลักทรัพย์ในกลุ่มสื่อสาร เนื่องจากผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 59 มีแนวโน้มอ่อนแอจากค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาต 4G ที่มีราคาสูง และการเปิดประมูลใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz ที่มีราคาเปิดประมูลสูง ขณะที่หลักทรัพย์กลุ่มธนาคารได้รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 เม.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 5,513.6 ล้านบาท
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 30 ปีที่มีผู้ร่วมสนใจถึง 2.8 และ 1.4 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 เม.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 4,467.7 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 7 เม.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 35.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.11 จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่เงินสกุลอื่นๆ เคลื่อนไหวผันผวน ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย โดยเฉพาะเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นมาก ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.39 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ