รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 21 เมษายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 21, 2016 15:55 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 21 เมษายน 2559

Summary:

1. ส.อ.ท. เผยยอดส่งออกรถยนต์ มี.ค. 59 ลดลงร้อยละ -14.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4

2. ส.อ.ท. เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค.59 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 86.7 จาก 85.1

3. อัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของบริษัทญี่ปุนในปี 59 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 3 ปี

1. ส.อ.ท. เผยยอดส่งออกรถยนต์ มี.ค. 59 ลดลงร้อยละ -14.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
  • รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน มี.ค.59 ส่งออกได้ 109,334 คัน ลดลงร้อยละ - 14.33 จากเดือน มี.ค. 58 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 57,335.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกรถยนต์ ณ เดือน มี.ค. 59 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pickup-Passenger Vehicle: PPV) เพิ่มขึ้นในแทบทุกตลาด กอปรกับรถ PPV มีราคาสูงกว่ารถประเภทอีโคคาร์ (Eco cars) จึงทำให้มูลค่าการส่งออกรถยนต์เพิ่มสูงขึ้น โดยในเดือน มี.ค. 59 การผลิตรถ PPV เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 153 ทั้งนี้ ยอดการผลิตรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือน มี.ค. 59 มีทั้งสิ้น 192,811 คัน สูงสุดในรอบ 30 เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.19 จากเดือน มี.ค. 58 เนื่องจากมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถกระบะขนาด 1 ตัน เพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น และเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชดเชยในช่วงวันหยุดเดือน เม.ย. 59
2. ส.อ.ท. เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค.59 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 86.7 จาก 85.1
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.59 อยู่ที่ระดับ 86.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 85.1 ในเดือนก.พ.59 โดยค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือน มี.ค. 59 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ปรับลดลงติดต่อกัน 2 เดือน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 86.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 85.1 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยมีปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนภาครัฐเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้างมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายเพิ่มขึ้น กอปรกับในช่วงเดือน มี.ค. ผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการเร่งการผลิตของผู้ประกอบการเพื่อรองรับวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ยังคงต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
3. อัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของบริษัทญี่ปุนในปี 59 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 3 ปี
  • สมาพันธองคกรเศรษฐกิจญี่ปุน (Keidanren) ไดเปดเผยอัตราคาจางเฉลี่ยตอเดือนที่ตกลงระหวางสหภาพแรงงานและฝายบริหารของบริษัทจำนวน 62 แหงในปนี้วาเพิ่มขึ้นรอยละ 2.19 ต่อปี ต่ำกว่าที่เพิ่มในปและ 58 ที่เพิ่มขึ้นรอยละ 2.39 และ 2.59 ต่อปี ตามลำดับ โดยมีข้อสังเกตด้วยว่า สหภาพแรงงานของกลุมธุรกิจรถยนตและสินคาอิเล็คโทรนิคไดขอเพิ่มอัตราคาจางในสัดสวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่น ส่งสัญญาณชะลอลง สะท้อนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุด ในเดือน ก.พ. 59 จากมูลค่าการส่งออกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน ณ วันที่ 20 เม.ย. 59 ค่าเงินเยนอยู่ที่ 120.30 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 9.46 จาก ณ ต้นปี 59 ที่อยู่ที่ 108.92 และหากยังคงมีการแข็งค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลต่อการส่งออกและราคาของสินค้านำเข้าของญี่ปุ่น ซึ่งจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออาจไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ที่ร้อยละ 2 และยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าติดตามคือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ BOJ ครั้งต่อไปจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27 ถึง 28 เม.ย. 59 นี้ ว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่ นอกเหนือจากที่ได้ดำเนินมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เช่น มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติม (Quantitative and Qualitative Easing: QQE) และการใช้อัตราดอกเบี้ยแบบติดลบ (Negative Interest Rate) ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี สำหรับเงินสำรองส่วนเกินสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับธนาคารกลางญี่ปุ่น เพื่อให้ภาคสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อและมีสภาพคล่องเพิ่มเติมลงสู่เศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 59 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.4 - 1.4 ประมาณการ ณ เดือน ม.ค. 59)

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ