Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมี.ค. 59 ได้จำนวน 183.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน มี.ค. 59 มีมูลค่า 59.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.6
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 120.2 หดตัวร้อยละ 1.8
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -77.8 พันล้านบาท
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มี.ค. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 259.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มี.ค. 59 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.9
- การส่งออกในเดือน มี.ค. 59 มีมูลค่า 19,124.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้เป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 1.3 ขณะที่ การนำเข้าในเดือน มี.ค. 59 มีมูลค่า 16,158.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราชะลอลงที่ ร้อยละ -6.9
- GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 1 ปี 59 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.9
- GDP ไต้หวัน ไตรมาสที่ 1 ปี 59 (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -0.8
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.7
- GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาส 1 ปี 59 (เบื้องต้น) ขยายตัว ร้อยละ 2.1
Indicator next week
Indicators Forecast Previous April : Inflation (%YOY) -0.1 -0.5
- นับเป็นการติดลบที่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรก โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่มีการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก นอกจากนี้ จากภาวะแล้งในหลายพื้นที่ ยังส่งผลให้ราคาผักและผลไม้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาเนื้อสัตว์หลายประเภทก็มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมี.ค. 59 ได้จำนวน 183.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 25.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.0 โดยมีรายการสำคัญจากการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นขยายตัวสูงถึงร้อยละ 389.1 จากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (4G) เป็นสำคัญ ขณะที่ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บลดลงร้อยละ -2.4 และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 2.8 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วงครึ่งปีแรกปีงปม. 59 จัดเก็บได้ 1,077.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 64.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.4
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน มี.ค. 59 มีมูลค่า 59.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง หดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (%yoy) จากที่ขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.0 แต่คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล (%mom_sa) ซึ่งการหดตัวของภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการหดตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักที่หดตัว ร้อยละ -5.1 เนื่องจากปัจจัยฐานสูงในช่วงเดือนเดียวกันของ ปีก่อนที่มีการจ่ายภาษีโรงกลั่นน้ำมัน และสัมปทานใยแก้วนำแสง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริง ที่จัดเก็บจากการนำเข้า ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มในไตรมาสแรกของปี 59 ยังขยายตัวได้ที่ ร้อยละ 0.1 โดยภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.4 และจัดเก็บจากการนำเข้าหดตัวร้อยละ -2.0
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 120.2 หดตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการขยายตัวมาจากการผลิตในหมวดส่วนประกอบยานยนต์ ยานยนต์ เครื่องสำอาง เครื่องประดับและเครื่องปรับอากาศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยหากเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 0.6
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -77.8 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 14.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ ขาดดุล -62.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในไตรมาสที่ 2 ของปีงปม. 59 ดุลเงินงบประมาณขาดดุล -511.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินอนกงบประมาณที่ ขาดดุล -24.3 พันล้านบาทส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -536.0 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 313.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ ขาดดุล -223.0 พันล้านบาท และทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ 203.2 พันล้านบาท
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มี.ค. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 259.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.2 โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 224.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.7 ซึ่งแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 179.3 พันล้านบาท ลดลง ร้อยละ -5.7 และ (2) รายจ่ายลงทุน 45.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 12.5 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 10.4 พันล้านบาท และงบรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 9.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันในช่วงครึ่งปีแรกปี งปม. 59 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,411.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 50.9 ของวงเงินงปม. (2,776.0 ล้านล้านบาท)
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 59 ยังคงมีการขยายตัวเป็นบวกแม้ว่าจะเป็นการขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยขยายตัวที่ ร้อยละ 3.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 59 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 3.1 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.8 หลังขจัดผลทางฤดูกาล
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มี.ค. 59 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.9 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 59 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 4.5 แต่หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าหดตัวร้อยละ -14.8
การส่งออกในเดือน มี.ค. 59 มีมูลค่า 19,124.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้เป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออก ในหมวดสินค้ายานยนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง ที่ร้อยละ 1.7 หลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.9 รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.3 ในส่วนของ สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ตามการหดตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ร้อยละ -2.5 และ -4.1 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม และ สินค้าเชื้อเพลิงหดตัวที่ร้อยละ -4.4 และ -41.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -2.0 และปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 ส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสแรกของปี 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
การนำเข้าในเดือน มี.ค. 59 มีมูลค่า 16,158.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -16.8 ตามการกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นของสินค้าอุปโภคบริโภคที่ร้อยละ 17.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่หดตัวร้อยละ -5.4 และสินค้าทุนที่ขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 5.9 ในขณะที่ สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าเชื้อเพลิงยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -11.5 และ -36.6 ตามลำดับ ในส่วนของราคาสินค้านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -6.5 และปริมาณการนำเข้าสินค้าหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -0.5 ส่งผลให้การนำเข้าใน ไตรมาสแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -12.0 ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน มี.ค. 59 เกินดุล 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 59 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ -0.1 นับเป็นการติดลบที่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรก โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่มีการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก นอกจากนี้ จากภาวะแล้งในหลายพื้นที่ ยังส่งผลให้ราคาผักและผลไม้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาเนื้อสัตว์หลายประเภทก็มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกันช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ถือเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี จากการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 8 ปี ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีทิศทางชะลอตัว สะท้อนจากยอดขายบ้านมือสอง เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ 420,000 หลัง หรือขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนจากยอดขายทั้งบ้านเดี่ยวและคอนโดมีเนียมที่ลดลง ขณะที่ราคากลางบ้านมือสอง เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ 222,700 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากทั้งราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมีเนียม ยอดขายบ้านใหม่ เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ 511,000 หลังต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -1.5 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากยอดขายบ้านในภาคตะวันตกที่หดตัว และดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากราคาบ้านทุกภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 59 (เบื้องต้น) อยู่ที่ -9.3 จุด ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -9.7 จุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน เม.ย. 59 (เบื้องต้น) อยู่ที่ 53.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยดัชนีฯ ภาคการผลิต ปรับลดลงไปอยู่ที่ 51.5 จุด ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 53.2 จุด
ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เมื่อวันที่ 27 - 28 เม.ย. 59 มีมติคงการดำเนินมาตรการ QQE ที่วงเงิน 80 ล้านล้านเยนต่อปี และอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบสำหรับเงินสำรองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ BOJ ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 59 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าในหมวดมิใช่อาหารที่ปรับตัวลดลง อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 59 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 59 (เบื้องต้น) ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีการผลิตสินค้าบางหมวดที่ขยายตัว อาทิ อุปกรณ์การขนส่ง ถ่านหินและปิโตรเคมี และโลหะประดิษฐ์ ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 59 หดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าทั่วไป ยานยนต์ และพลังงานที่หดตัวเร่งขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 59 หดตัวร้อยละ -7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 และหดตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ -10.4 ในเดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 59 หดตัวร้อยละ -5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 โดยหดตัวชะลอลงจากร้อยละ -10.1 ในเดือนก่อนหน้า ดุลการค้า เดือน มี.ค. 59 ขาดดุล 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพิ่มขึ้นจาก 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกงในเดือนก่อนหน้า
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน และหดตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ -0.5 ใน ไตรมาสก่อนหน้า
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.4 (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 59 หดตัวร้อยละ -1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวอีกครั้งหลังจากขยายตัวร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากร้อยละ -0.8 ในเดือนก่อน จากราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าขนส่ง และสื่อสารโทรคมนาคมที่ลดลงต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 59 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้า อาทิ อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ และยาและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ขยายตัวเร่งขึ้น อัตราการว่างงาน ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขเบื้องต้น) ทรงตัวที่ร้อยละ 1.9 ของกำลังแรงงานรวม
GDP ไตรมาส 1 ปี 59 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยจากการชะลอลงของภาคการผลิตและก่อสร้าง
มูลค่านำเข้า เดือน ก.พ. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 30.8 จากการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กลับมาหดตัวสูงร้อยละ -14.8 สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัว
ดัชนี SET ปรับตัวลดลง โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 28 เม.ย. 59 ปิดที่ 1,399.91 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์เพียง 37,734 ล้านบาท โดยเป็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ จากความกังวลของนักลงทุนภายหลังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ไม่มีมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่เป็นไปตามคาดก็ตาม ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25 - 28 เม.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 2,222.4 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างทรงตัว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว 5 ปีขึ้นไปปรับขึ้น 1-11 bps โดยการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 19.6 ปี ปี มีผู้สนใจ 1.7 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25 - 28 เม.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 2,518.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 28 เม.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 35.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าร้อยละ 0.18 จากสัปดาห์ก่อน โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคขณะที่เยนและยูโรที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.04 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th