รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 13, 2016 11:51 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2559

Summary:

1. หอการค้าไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.0

2. ออสเตรเลียเพิ่มคาดการณ์ราคาแร่โลหะในปีงบประมาณ 61

3. รัฐสภาอินเดียผ่านกฎหมายล้มละลาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

1. หอการค้าไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.0
  • นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 59 จากร้อยละ 3.5 เหลือเพียงร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญจากการชะลอตัวของภาคส่งออกตามทิศทางเศรษฐกิจโลก กอปรกับปัญหาภัยแล้งและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำที่ส่งผลต่อกำลังซื้อประชาชน ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 60 หอการค้าไทยคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.4
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ระดับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 59 นี้ ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 58 ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐซึ่งมีส่วนช่วยให้การบริโภคและลงทุนภาคเอกชนมีการใช้จ่ายที่ต่อเนื่อง สะท้อนจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจล่าสุดในไตรมาส 1 ปี 59 อาทิ ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยผลจากปัจจัยทางด้านฐานสูงในปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์และยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 4.5 และ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ อีกทั้งการส่งออกบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวยังเป็นปัจจัยเสริมให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องขยายตัวได้ดี โดยในไตรมาส 1 ปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทยคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 15.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 59 จะขยายตัวร้อยละ 3.3 (คาดการณ์ ณ เม.ย. 59) โดยใน
2. ออสเตรเลียเพิ่มคาดการณ์ราคาแร่โลหะในปีงบประมาณ 61
  • รัฐบาลออสเตรเลียปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาแร่โลหะในปีงบประมาณ 61 มาอยู่ที่ 47.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จาก 42.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในการประมาณการครั้งก่อนเมื่อเดือน ธ.ค. 58 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากแนวโน้มอุปสงค์สินแร่โลหะที่เพิ่มขึ้นจากจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ราคาแร่โลหะ ณ 11 พ.ค. 59 และราคาคาดการณ์แร่โลหะในช่วงปีงบประมาณ 61 อยู่ที่ 55.6 และ 47.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามลำดับ สะท้อนแนวโน้มราคาแร่โลหะที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงในอัตราชะลอลงจากประมาณการครั้งก่อนของทางการออสเตรเลีย ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อออสเตรเลียซึ่งพึ่งพาการส่งออกแร่โลหะเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของการส่งออกทั้งหมด และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องจากต่อการบริโภคภาคเอกชนที่จะไม่ชะลอลงมาก อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียจำเป็นต้องติดตามอุปสงค์จากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกแร่โลหะหลักของออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของจีนจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวต่อเนื่องในระยะกลาง และส่งผลกระทบต่อการส่งออกของออสเตรเลียอีกด้วย ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียและจีนในปี
3. รัฐสภาอินเดียผ่านกฎหมายล้มละลาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • รัฐสภาอินเดียผ่านกฎหมายล้มละลายฉบับแรกที่กำหนดกระบวนการล้มละลายไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน จากเดิมที่กระจายอยู่ในกฎหมาย 4 ฉบับ โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ปรับปรุงกระบวนการล้มละลายให้ใช้เวลาสั้นลงและติดตามเก็บหนี้ได้มากขึ้น โดยกฎหมายใหม่จะกำหนดให้กระบวนการยื่นขอรับชำระหนี้มีระยะเวลาที่แน่นอนภายใน 180 วัน จากเดิมที่ต้องผ่านกระบวนการศาลซึ่งทำให้มีกระบวนการยืดเยื้อเป็นเวลานาน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับปรุงกฎหมายล้มละลายนับเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยในอดีต กระบวนการล้มละลายของอินเดียจะต้องผ่านคณะกรรมการฟื้นฟูอุตสาหกรรมและการเงิน (Board for Industrial and Financial Reconstruction) เพื่อพิจารณาว่าควรมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือส่งเข้ากระบวนการล้มละลาย ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ มักใช้เวลานานในการพิจารณา อีกทั้งผู้บริหารของธุรกิจที่มีปัญหามักใช้กระบวนการนี้เป็นเครื่องมือในการประวิงเวลา ทำให้สินทรัพย์มีมูลค่าด้อยลงมาก โดยจากข้อมูลของธนาคารโลก อัตราการได้เงินคืนเฉลี่ยอยู่เพียงร้อยละ 25.7 จากยอดหนี้เดิม และใช้เวลาในการดำเนินการเฉลี่ยมากถึง 4.3 ปี ทำให้อันดับความยากง่ายในการทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านการแก้ปัญหาล้มละลายของอินเดียอยู่ที่อันดับที่ 136 จาก 188 ประเทศ (เปรียบเทียบกับไทยซึ่งอยู่ที่อันดับ 49 ใช้เวลาเฉลี่ย 2.7 ปี และมีอัตราได้เงินคืนร้อยละ 42.5) การปรับปรุงกระบวนการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอินเดีย และช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ยังคงค้างอยู่ในระบบสถาบันการเงินของอินเดียจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นผลดีช่วยให้สถาบันการเงินสามารถนำเงินที่ต้องกันสำรองไว้สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกมาหมุนเวียนให้กับธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาพรวมของการลงทุน

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ