Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนเม.ย. 59 ได้จำนวน 170.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -0.5
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน เม.ย. 59 มีมูลค่า 62.1 พันล้านบาท คิดอัตราการเจริญเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง ขยายตัว ร้อยละ 2.5
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน เม.ย. 59 ขยายตัวต่อในอัตราสูงที่ร้อยละ 58.8
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 85.0
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 59 หดตัวร้อยละ -1.6
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือน เม.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 5.0
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย 59 มีจำนวน 2.64 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.8
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน เม.ย. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -56.4 พันล้านบาท
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน เม.ย. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 223.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8
- การส่งออกในเดือน เม.ย. 59 มีมูลค่า 15,545.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -8.0 ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 14,823.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -14.9
- GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สิงคโปร์ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous May : Inflation (%YOY) 0.3 0.1
- จากการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก นอกจากนี้ ผักและผลไม้ก็ยังมีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง จากภาวะภัยแล้งเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี คาดว่าราคาไฟฟ้าจะมีการปรับลดลง จากการปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติหรือ ft ในรอบเดือนพ.ค. - ส.ค. 59
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนเม.ย. 59 ได้จำนวน 170.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -0.5 ต่อปีแต่สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 5.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.3 จากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ การจัดเก็บภาษีสรรสามิตรถยนต์ และภาษีน้ำมันที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ขณะที่ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้ร้อยละ 2.1 และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 7 เดือนแรกปีงปม. 59 จัดเก็บได้ 1,247.90 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 70.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.0
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน เม.ย. 59 มีมูลค่า 62.1 พันล้านบาท คิดอัตราการเจริญเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า จากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.6 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล (%mom_sa) โดยขยายตัวได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญที่ขยายตัว ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการบริโภคภายในประเทศที่มีทิศทางฟื้นตัว สอดคล้องกับรายได้เกษตรกร และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวได้ในเดือน เม.ย. ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริง ที่จัดเก็บจากการนำเข้า หดตัวที่ร้อยละ -3.6 ตามราคาน้ำมันดิบที่ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 59 ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 0.7
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน เม.ย. 59 ขยายตัวต่อในอัตราสูงที่ร้อยละ 58.8 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 40.9 โดยเป็นผลมาจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 28 เม.ย. 59
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 85.0 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 86.7 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ เดือน เม.ย. มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้การใช้กำลังการผลิตลดลง อีกทั้งค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งขึ้นยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผุ้ประกอบการ และปัญหาภัยแล้งที่ยาวนานส่งผลให้ขาดแคลนวัตถุดิบ ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 59 หดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -10.0 หรือคิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยผลผลิตสำคัญที่ปริมาณหดตัวได้แก่ ข้าวเปลือก (ร้อยละ -21.3) และปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ -12.7) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง แต่เป็นการหดตัวอย่างชะลอลง ขณะที่ผลผลิตส่วนใหญ่ขยายตัวได้ อาทิ กลุ่มไม้ผล ได้แก่ มะม่วง ส้ม มังคุด และลิ้นจี่ หมวดปศุสัตว์ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามปริมาณอุปสงค์และไม่มีสถานการณ์โรคระบาด ทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขยายตัวสอดคล้องกับปริมาณอุปสงค์อาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ยางพารา และมันสำปะหลังที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดน้อยลง แต่ยังคงขยายตัวได้เนื่องจากได้รับผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในช่วง 4 เดือนแรกของปี 59 หดตัวร้อยละ -3.9
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือน เม.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล กลับมาขยายตัวได้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี (ขยายตัวครั้งล่าสุดเมื่อ ม.ค 57) โดยราคาผลผลิตสินค้าสำคัญขยายตัวได้ในเกือบทุกสินค้า ยกเว้นราคาข้าวเปลือก และมันสำปะหลังที่หดตัว แต่เป็นการหดตัวอย่างชะลอลง โดยข้าวเปลือกราคาหดตัวจากอุปสงค์โลกที่ฟื้นตัวช้า แต่ได้รับอานิสงส์จากสต๊อกข้าวโลกที่เริ่มปรับลดลงอย่างมาก เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ขณะที่มันสำปะหลัง ยังคงมีอุปสงค์จากจีนเพื่อนำไปผลิตเอธานอล สำหรับราคาสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา (ร้อยละ 7.2) และปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 55.5) ที่ราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ โดยยางพาราได้รับปัจจัยบวกจากผลผลิตที่เริ่มลดลงเนื่องจากยางพาราเข้าสู่ฤดูกาลผลัดใบ และมีอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้น กอปรกับการรวมตัวกันลดปริมาณการส่งออกยาพาราของ ผู้ส่งออกหลัก 3 ประเทศลง ส่งผลให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้น และขยายตัวเป็นบวกได้ในครั้งแรกนับแต่ ต.ค. 54 ขณะที่ปาล์มน้ำมัน ได้รับปัจจัยบวกจากการขึ้นภาษีการส่งออกน้ำมันปาล์มของผู้ผลิตรายใหญ่อย่างมาเลเซีย และองค์การคลังสินค้ารับซื้อน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศเพื่อพยุงราคา ทำให้ราคาปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 59 ดัชนีราคาฯ หดตัวร้อยละ -2.8
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย 59 มีจำนวน 2.64 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.8 และขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 0.1 โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจาก โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมากจาก จีน รัสเซีย เกาหลี และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชาและลาว ทั้งนี้ ส่งผลให้ 4 เดือนแรกปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 11.68 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 14.1 สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวต่างประเทศแล้วประมาณ 5.93 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.9
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน เม.ย. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -56.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 13.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -43.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลัง 7 เดือนแรกของปีงปม. 59 ดุลเงินงบประมาณขาดดุล -567.8พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงิน นอกงบประมาณที่ขาดดุล -11.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -579.3 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 359.5 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ ขาดดุล -219.8 พันล้านบาท และทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ 206.4 พันล้านบาท
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน เม.ย. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 223.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ต่อปีโดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 211.5 พันล้านบาท เพิมขึ้นร้อยละ 18.2 ต่อปี ซึ่งแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 186.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 25.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 30.1 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 14.4 พันล้านบาท และงบรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 3.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันในช่วง 7 เดือนแรกปี งปม. 59 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,623.4 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 58.5 ของวงเงินงปม. (2,776.0 ล้านล้านบาท)
- การส่งออกในเดือน เม.ย. 59 มีมูลค่า 15,545.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากขยายตัวได้ในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.3 จากการหดตัวในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -7.8 หลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.4 ตามการหดตัวของสินค้าหมวดย่อยที่สำคัญ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ประกอบกับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -2.7 และสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวที่ร้อยละ -40.8 อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกที่ร้อยละ 1.3 หลังจากหดตัวเป็นระยะเวลา 10 เดือน ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -1.4 และปริมาณการส่งออกสินค้า หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -6.6 ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -1.2
- การนำเข้าในเดือน เม.ย. 59 มีมูลค่า 14,823.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.9 ตามการหดตัวเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุนที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -42.7 และ -13.4 ตามลำดับ รวมถึงสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -9.4 และ -1.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สินค้ายานยนต์ยังคงขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.6 ในส่วนของราคาสินค้านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -5.6 และปริมาณการนำเข้าสินค้าหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -9.9 ส่งผลให้การนำเข้าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -12.7 ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน เม.ย. 59 เกินดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 59 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก นอกจากนี้ ผักและผลไม้ก็ยังมีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง จากภาวะภัยแล้งเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี คาดว่าราคาไฟฟ้าจะมีการปรับลดลง จากการปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติหรือ ft ในรอบเดือน พ.ค. - ส.ค. 59
Global Economic Indicators: This Week
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน เม.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากเครื่องมือด้านการขนส่งที่ปรับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.8 ตลาดบ้านสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นมาก โดยยอดขายบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ 619,000 หลังต่อปีคิดเป็นขยายตัวร้อยละ 16.6 จากเดือนก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) จากทุกภูมิภาคที่ขยายตัวสูง ยกเว้น Midwest สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 59 ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.9 จากเดือนก่อน(หลังขจัดผลทางฤดูกาล) จากบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียม ด้านยอดขายบ้านมือสอง เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ 471,000 หลัง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เพิ่มขึ้นจากบ้านทุกประเภททั้งยอดขายบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียม ขณะที่ราคากลางบ้านมือสอง เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ 232,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากราคาบ้านทุกประเภทเช่นกัน อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากดัชนีราคาของสินค้าทุกหมวดที่เพิ่มขึ้น
มูลค่าส่งออก เดือน เม.ย. 59 หดตัวร้อยละ -10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังตลาดจีน อาเซียน และสหรัฐฯ ที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -23.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผลจากราคาสินแร่และเชื้อเพลิงที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 8.2 แสนล้านเยนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด โดยลดลงต่อเนื่องต่ำกว่าระดับ 50 จุดเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เข้าสู่แดนลบเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน จากดัชนีราคาสินค้าที่มิใช่อาหารที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งมาจากราคาสินค้าเชื้อเพลิง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน พ.ค. 59 (เบื้องต้น) อยู่ที่ 52.9 จุด ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 51.5 จุด ลดลงจาก 51.7 จุดในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชะลงของยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศ ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ ทรงตัวที่ 53.1 จุด แม้หลายธุรกิจจะมีการลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขาย
GDP ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ออกมาก่อนหน้าเล็กน้อย และชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากการชะลอลงของการบริโภคภาคเอกชนและการลดลงของสินค้าคงคลัง
มูลค่านำเข้า เดือน มี.ค. 59 กลับมาขยายตัวร้อยละ 11.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง จากมูลค่าส่งออกที่หดตัวสูงขณะที่นำเข้าขยายตัว ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นมาที่ 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าส่งออก เดือน เม.ย. 59 หดตัวร้อยละ -6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 17 เดือน มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -23.1 หดตัวต่อเนื่อง 17 เดือนเช่นกัน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยมีการบริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาค่าขนส่ง สื่อสารโทรคมนาคม และค่าเช่าที่ปรับตัวลดลง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อน จากการผลิตสินค้าในบางหมวดที่ขยายตัวดีขึ้น อาทิ สิ่งทอ ยาและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ขนส่ง เป็นต้น
อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อน ทางด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 59 หดตัวร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ -2.9 ในเดือนก่อนหน้า จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวในอัตราเร่งขึ้น ในขณะที่การผลิตภาคเหมืองแร่หดตัวในอัตราชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อย ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ -7.0 ในเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกไปจีนซึ่งหดตัวในอัตราชะลอลง แต่โดยรวมมูลค่าการส่งออกยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -4.5 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ขาดดุลลดลงจาก -4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกงในเดือนก่อน
- ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอยู่เหนือระดับ 1,400 จุด ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 26 พ.ค. 59 ปิดที่ 1,401.64 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์เพียง 36,210 ล้านบาท โดยเป็นแรงซื้อของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ นำโดยหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และภาพรวมเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณดีขึ้น แม้ว่าจะยังคงมีความกังวลต่อสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ จากการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 59 ที่ผ่านมาก็ตาม ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 - 26 พ.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 980.7 ล้านบาท
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างทรงตัว โดยอัตราฯ อายุ 5-10 ปีปรับตัวลดลง 1-3 bps ขณะที่อัตราฯ อายุ 1-5 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 1-4 bps โดยนักลงทุนยังคงจับตาผลการประชุม FOMC ในเดือน มิ.ย. 59 นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 - 26 พ.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 1,033.7 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 26 พ.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 35.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.25 จากสัปดาห์ก่อน โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินเยน และดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่เงินสกุลภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.41 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th