รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 3, 2016 13:37 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2559

Summary:

1. บีโอไอจีบกลุ่มธุรกิจใหญ่ลงทุนในท้องถิ่น ผลักดันทุนไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน

2. ธนาคารทหารไทยคาดการณ์สินเชื่อ SME จะเติบโตเร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.8

1. บีโอไอจีบกลุ่มธุรกิจใหญ่ลงทุนในท้องถิ่น ผลักดันทุนไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน
  • นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า หลังจากที่ บีโอไอออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจการเกษตรแปรรูป ศูนย์จำหน่ายสินค้า และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น ขณะนี้มีกลุ่มธุรกิจไทยหลายรายแสดงความสนใจ และได้พบปะหารือกับบีโอไอถึงแนวทางและรูปแบบการเข้าไปลงทุนในท้องถิ่น บีโอไอจึงมั่นใจว่าจะมีบริษัทไทยรายใหญ่อย่างน้อย 4-5 ราย ที่จะยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเร็วๆ นี้ และหากยื่นขอรับส่งเสริมฯ ก็จะต้องเปิดดำเนินการภายในปี 60 ตามเงื่อนไข ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจภาคท้องถิ่นและกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากการลงทุนในภาคท้องถิ่นนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการจ้างงานแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีทักษะ เข้าถึงเทคโนโลยี และมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนทั้งภาคการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังมีต้นทุนของวัตถุดิบที่ลดลง เนื่องจากการตั้งกิจการและโรงงานในภาคท้องถิ่นทำให้ต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบลดลง อีกทั้งต้นทุนวัตถุดิบลดลงจากการซื้อโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่า ในปี 59 การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 และ 2.1 (คาดการณ์
2. ธนาคารทหารไทยคาดการณ์สินเชื่อ SME จะเติบโตเร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
  • นายไตรรงค์ บุตรากาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้า SME ธนาคารทหารไทย คาดการณ์ว่าสินเชื่อสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ของธนาคารทหารไทยในช่วงไตรมาส 4 น่าจะขยายตัวได้สูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นๆ เนื่องด้วยผลของการลงทุนของภาครัฐที่ส่งผลให้ภาคเอกชนลงทุนตาม ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีการขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังมีแผนจะออกสินเชื่อหลักประกันธุรกิจทีเอ็มบี เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจ SME โดยธนาคารฯ คาดการณ์ว่าหนี้ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของลูกค้า SME จะขยายตัวชะลอลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 59 ต่อเนื่องถึงปี 60 ตามสภาวะเศรษฐกิจที่กลับมาพลิกฟื้นอย่างต่อเนื่อง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ตามที่ธนาคารทหารไทยคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4 จะมีการขยายตัวของสินเชื่อมากที่สุด เป็นช่วงเวลาหลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 แล้ว โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวจะประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 59 ทั้งนี้ พ.ร.บ ฉบับนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการ SME ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องหลักประกัน เนื่องจากผู้ประกอบการ SME สามารถนำ "ทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ" เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา มาเป็นหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อได้ โดยการขยายตัวของธุรกิจ SME จะช่วยส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและส่งเสริมภาพรวมของเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งภาค SME มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยจากการคำนวณของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) SME มีขนาดถึงร้อยละ 41.1 ของขนาดเศรษฐกิจรวม ทั้งนี้ NPLs ของ SME รวมทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของสินเชื่อรวม ซึ่งจัดว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก แต่ยังคงสูงกว่า NPLs เฉลี่ยของ
3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.8
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) โดยขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากการประกาศครั้งก่อนที่ร้อยละ 2.7 แต่ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วยังคงขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.5
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ปี 59 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงนัก ต่อเนื่องจากปี 58 ที่เติบโตร้อยละ 2.6 โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประมาณร้อยละ 3.8 ในช่วง 5 ปีก่อน (ปี 53-57) โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 59 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ยังซบเซา โดยแหล่งที่มาการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Contribution) จากการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ลดลงจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วงเดียวกันหดตัวร้อยละ -13.3 ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ โดยแหล่งที่มาการขยายตัวทางเศรษฐกิจกว่าร้อยละ 1.1 มาจากการบริโภคภาคเอกชน ร้อยละ 0.7 มาจากการบริโภคภาครัฐ และร้อยละ 0.8 มาจากการลงทุน สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ก.พ. 59 ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกนี้ รวมถึงการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐมูลค่ากว่า 6 ล้านล้านวอน หรือ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ การส่งเสริมการให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินของรัฐ และการปรับลดภาษีรถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจ

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ