Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.5
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 99.6 ขยายตัวร้อยละ 1.5
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 14.8
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 59 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.5
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. 59 เกินดุล 3,163.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 59ขยายตัวร้อยละ 4.2 ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 59ขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.9
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน เม.ย. 59 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.8
- GDP ไตรมาส 1 ปี 59 ของสหรัฐฯ (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.0
- GDP ไตรมาส 1 ปี 59 ของอินเดีย ขยายตัวสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่งที่ร้อยละ 7.9
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ของเกาหลีใต้ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.8
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 ของออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous May : TISI 86.7 85.0
- เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบในการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวลดลงซึ่งอาจจะส่งผลดีต่อความเชื่อมันของผู้ประกอบการ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 กลับมาเป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับปัจจัยจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ และผักผลไม้ เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือน พ.ค. จึงมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากเดือน เม.ย. อย่างไรก็ดี ราคาค่าไฟฟ้ามีการปรับลดลงจากการปรับลดค่า ft ในรอบเดือน พ.ค. - ส.ค. 59
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 99.6 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการขยายตัวมาจากการผลิตในหมวด ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และยาสูบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 0.02
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ค. 59 มีจำนวน 179,707 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 21.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลซึ่งเป็นการ ขยายตัวได้ทั้งจากการจดทะเบียนใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ร้อยละ 23.8) และเขตภูมิภาค (ร้อยละ 12.2)โดยการขยายตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคายางพารา และราคาปาล์มน้ำมัน กอปรกับโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายในเดือน เม.ย. ที่อาจทำให้มีการนำรถจักรยานยนต์ใหม่บางส่วนมาจดทะเบียนในเดือน พ.ค.นี้ ทั้งนี้ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่สะสมตั้งแต่ต้นปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 59 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของดัชนีในหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ความนิยมลดลง และมีการหันไปใช้อลูมิเนียมแทน ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 59 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -3.9 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของดัชนีราคาเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก
ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. 59 เกินดุล 3,163.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเป็นผลมาจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลง ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดุลการค้าเกินดุลทั้งสิ้น 2,449.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าส่งออกที่หดตัว โดยเฉพาะในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และอุปสงค์จากจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว ด้านดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลเพิ่มขึ้นมาที่ 713.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากรายรับจากภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากจำนวนนักท่องเที่ยวรัสเซียที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และการขยายเส้นทางการบินระหว่างประเทศของสายการบินต้นทุนต่ำทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 59 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 19,583.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 59 มียอดคงค้าง 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า(ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสินเชื่อเพื่อการบริโภคที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 59 มียอดคงค้าง 17.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) จากเงินฝากในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เร่งขึ้น ขณะที่การขยายตัวของเงินฝากในสถาบันการเงินอื่นๆ ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน เม.ย. 59 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวร้อยละ 12.2 ต่อเดือน เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากกิจกรรมการก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้เหล็กในการก่อสร้างโครงการภาครัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. 59 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 86.7 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 85.0 เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบในการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวลดลงซึ่งอาจจะส่งผลดีต่อความเชื่อมันของผู้ประกอบการ
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาส 1 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากประกาศครั้งก่อน โดยขยายตัวจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 92.6 จุด ต่ำสุดในรอบครึ่งปี จากความเชื่อมั่นต่อตลาดแรงงานที่ลดลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากการจัดส่งวัตถุดิบและราคาที่ปรับตัวดีขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม NBS เดือน พ.ค. 59 ทรงตัวที่ระดับ 50.1 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในขณะที่ดัชนีฯ Caixin ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 49.2 จุด จาก 49.4 จุดในเดือนก่อน ด้านดัชนีฯ ภาคบริการ NBS ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 53.1 จุด สอดคล้องกับดัชนีฯ Caixin อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด ลดลงจากระดับ 48.2 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้กิจกรรมภาคการผลิตที่มีสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันเดือนก่อนหน้าผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 59 กลับมาหดตัวร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าหมวดชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วัสดุอุปกรณ์สำนักงานและสินค้าทั่วไปที่หดตัวในระดับสูง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ลดลงเล็กน้อยจาก 51.7 ในเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก -0.2 ในเดือนก่อน จากราคาสินค้าที่ไม่ใช่พลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 59 ทรงตัวที่ร้อยละ 10.2 ของกำลังแรงงานรวม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 59 ธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.00 ต่อเนื่องเดือนที่ 3
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 49.8 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 เพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ผลจากการเริ่มต้นธุรกิจใหม่และผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ภาคก่อสร้างเดือนเดียวกันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.2 จากกิจกรรมการก่อสร้างขยายตัวในระดับต่ำ
GDP ไตรมาส 1 ปี 59 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่งที่ร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการบริโภคภาคเอกชนและสินค้าคงคลังที่ขยายตัวดี ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด เพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากราคาอาหารที่ลดลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 50.6 จุด ลดลงจากดัชนีการจ้างงานที่ลดลงจากเดือนก่อน
ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 59 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดอาหารที่ดีขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 47.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 จุด เป็นเดือนที่ 15
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการส่งออกที่ยังซบเซา ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 59 หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่กลับมาหดตัวและสินค้าคงทนหดตัวเร่งขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นเดือนที่ 17 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -9.3 หดตัวเป็นเดือนที่ 20 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 1.1 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น มูลค่าส่งออกเดือน มี.ค. 59 (ปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า (ปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -3.8 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 485 ล้านดอลาร์ออสเตรเลีย
Vietnam อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 59 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าส่งออก เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้น และแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 59 ที่ระดับ 1,424.28 จุด โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 2 มิ.ย. 59 ปิดที่ 1,424.06 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์สูงถึง 50,324 ล้านบาท โดยเป็นแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันในประเทศ เนื่องจากการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้เกิดแรงซื้อในหลักทรัพย์กลุ่มรับเหมาก่อสร้างและที่อยู่อาศัย อีกทั้งหลักทรัพย์กลุ่มสื่อสารและกลุ่มธนาคารปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 พ.ค. - 2 มิ.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,660.8 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1-21 bps โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาว เป็นไปตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากตลาดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในการประชุม FOMC วันที่ 14-15 มิ.ย. 59 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.-2 มิ.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 673.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
ค่าเงินบาททรงตัว โดย ณ วันที่ 2 มิ.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 35.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้าหรือคิดเป็นการอ่อนค่าลงเพียงร้อยละ 0.01 จากสัปดาห์ก่อน โดยเงินริงกิต วอนเกาหลี และหยวนอ่อนค่าลง ขณะที่เงินเยน ยูโร และดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินบาทที่ทรงตัวขณะที่เงินสกุลภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่ามากกว่า ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.09 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th