Executive Summary
- อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.2
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน พ.ค. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.6 ต่อปี
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค. 59 หดตัวที่ร้อยละ -1.1 ต่อปี
- ที่ประชุม FOMC เมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย. 59 มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25-0.50 ต่อปี
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย. 59 BOJ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.1 ถึง 0.1 ต่อ
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน เดือน เม.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดขายรถยนต์ในประเทศของฟิลิปปินส์ เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 31.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของสหราชอาณาจักร เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม
- อัตราการว่างงานของออสเตรเลีย เดือน พ.ค. 59 ทรงตัวที่ร้อยละ 5.74 ของกำลังแรงงานรวม
- มูลค่าการส่งออกของอินโดนีเซีย เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -9.8
Indicator next week
Indicators Forecast Previous May : MPI (%YOY) -0.8 1.5
- ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนส่งผลให้การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้า อัญมณีและเครื่องประดับคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมให้ไม่ปรับตัวลดลงมากนัก
การจ้างงานเดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ 36.8 ล้านคน ลดลง 7.6 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ลดลง เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ยังส่งผลให้การเพาะปลูกพืชที่สำคัญ อาทิ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ยางพาราและอ้อยลดลง อย่างไรก็ตาม การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาการก่อสร้าง สาขาการผลิต สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร เนื่องจากมีช่วงวันหยุดยาวทำให้มีความต้องการแรงงานในสาขานี้ค่อนข้างสูง ในทางตรงกันข้าม สาขาการขายส่งและขายปลีก และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า มีอัตราการจ้างงานที่ลดลง ทั้งนี้ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.5 แสนคน
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน พ.ค. 59 มีจำนวน 2.48 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 7.6 ต่อปี และขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจาก จีน อินเดีย รัสเซีย และกลุ่มประเทศ CLM (กัมพูชา ลาว พม่า) ที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 16.7 35.0 และ 20.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่งผลให้ 5 เดือนแรกปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 14.16 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปี สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวต่างประเทศแล้วประมาณ 6.03 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.8 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค. 59 หดตัวที่ร้อยละ -1.1 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังคงรอดูความชัดเจนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ และผู้ประกอบการคาดหวังว่า ตลาดปูนจะกลับมาขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลังของปี 59 เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐน่าจะสามารถเริ่มลงทุนได้จริงในไตรมาสที่ 3 และ 4
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 59 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนส่งผลให้การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมให้ไม่ปรับตัวลดลงมากนัก
Global Economic Indicators: This Week
ที่ประชุม FOMC เมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย. 59 มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25-0.50 ต่อปี จากตลาดแรงงานที่ชะลอความร้อนแรงลง และความเสี่ยง Brexit ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากรถยนต์และอาหารที่ชะลอลง และร้านขายสินค้าทั่วไปที่หดตัวอีกครั้งในรอบ 4 เดือน แต่หากขจัดผลทางฤดูกาลจะขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน ด้านผลผลิตภาค อุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่อง 9 เดือน จากเชื้อเพลิง เครื่องมือเครื่องจักร และสินค้าวัตถุดิบที่หดตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน โดยเป็นผลจากราคาอาหาร นันทนาการ การศึกษา และราคาน้ำมันที่ลดลง
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี
เมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย. 59 BOJ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.1 ถึง 0.1 ต่อปี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 59 หดตัวร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าเกือบทุกหมวดที่หดตัว ยกเว้นอาหารและยาสูบ โลหะที่มิใช่เหล็ก และเคมีภัณฑ์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อน จากการผลิตสินค้าคงทนที่เร่งขึ้น
ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 31.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากยอดขายรถเชิงพาณิชย์ประเภทเอเชียยูทิลิตี้ (7 ที่นั่ง)ที่เร่งตัว
อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.1 ในเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าโดยดัชนีราคาผู้บริโภคหดตัวในหมวดอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ด้านยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับมาหดตัวร้อยละ -0.9 (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดขายในเกือบทุกหมวดสินค้าลดลง โดยมีเพียงยอดขายอาหารและเสื้อผ้าที่ขยายตัวจากเดือนก่อน
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 59 ทรงตัวที่ร้อยละ 5.74 ของกำลังแรงงานรวม โดยอัตราการมีส่วนร่าวมของแรงงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 65.0 ต่อวัยแรงงานรวม
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 20 เดือน จากสินค้าทุกประเภท โดยเฉพาะเชื้อเพลิงและสินค้าเกษตรที่หดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -4.1 หดตัวต่อเนื่อง 20 เดือนเช่นกัน ทั้งนี้ การส่งออกที่สูงกว่านำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.8 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -3.4 จากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม นาฬิกาและเครื่องประดับ อุปกรณ์สื่อสาร และคอมพิวเดอร์ ที่หดตัวต่อเนื่อง
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -13.2 หดตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ทั้งนี้ การส่งออกที่น้อยกว่านำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 6.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาเป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากราคาอาหารที่ปรับเพิ่มขึ้น
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 59 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 59 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากดัชนีราคาสินค้าส่วนใหญ่ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงต้นสัปดาห์ และกลับมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ในวันที่ 16 มิ.ย. 59 โดยดัชนีฯ ปิดที่ 1,411.19 จุด โดยทั้งสัปดาห์มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 48,371 ล้านบาท โดยดัชนีฯ ที่ปรับลดลงมากเป็นผลมาจาก 1) แรงขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนชาวต่างชาติ 2) ความกังวลต่อการลงประชามติกรณีสหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หลังจากประธาน Fed กล่าวหลังการประชุม FOMC เมือวันที่ 14-15 มิ.ย. 59 ว่าการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ไว้ที่ร้อยละ 0.25-0.50 ต่อปีได้พิจารณาประเด็น Brexit ร่วมด้วย และ 3) ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 มิ.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 580.6 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราฯ ระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-14 bps จากการประมูลพันธบัตรรุ่น Benchmark อายุ 5 ปี และ 20 ปี ที่มีนักลงทุนสนใจ 3.32 และ 1.50 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ และการขายพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 มิ.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 337.7 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 16 มิ.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 35.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.22 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ยกเว้นเยน เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.66 ทั้งนี้ เงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th