Executive Summary
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มิ.ย. 59 มีจำนวน 200,371 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.2
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวที่ร้อยละ -2.6
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 60.6
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.4
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 59 มียอดคงค้าง 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 59 มียอดคงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3
- มูลค่าส่งออกของสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีค้าปลีกของสหภาพยุโรป เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 103.4 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ Caixin ของจีน เดือน มิ.ย. 59 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.7 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เดือน มิ.ย. 59 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.6 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous June : Cement sales (%YOY) -3.1 -1.1
- เนื่องจากภาคเอกชนรอความชัดเจนในการก่อสร้างจริงของโครงการลงทุนภาครัฐในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มิ.ย. 59 มีจำนวน 200,371 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.8 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลออก โดยเป็นการขยายตัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ร้อยละ 5.3) และเขตภูมิภาค (ร้อยละ 5.1) สะท้อนกำลังซื้อของผู้บริโภคที่กลับมาขยายตัวได้ ตามแนวโน้มราคาผลผลิตสินค้าเกษตร โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ตั้งแต่ต้นปี 59 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวที่ร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุหลัก มาจากการลดลงของดัชนีในหมวดก่อสร้างอื่นๆ ที่มีความต้องการน้อยลงเนื่องจากการก่อสร้างชะลอตัว ผู้ประกอบการจึงลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายและระบายสินค้า ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 2 ปี 59 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -2.2 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากโดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของดัชนีราคาเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ยกเว้นหมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวด สุขภัณฑ์ที่ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 60.6 ปรับลดลงจากระดับ 61.1 ในเดือน พ.ค. 59 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 25 เดือน จากสถานการณ์การลงประชามติออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดโลก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และภาวะเศรษฐกิจโลก ที่มีความกังวลว่าจะส่งผลต่อสถานการณ์การส่งออกของไทยซึ่งยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค อาทิ สถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าเกษตรเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว รวมถึงการลงทุนในโครงการภาครัฐที่เริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนแรกของปี 59 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 62.3
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 กลับมาเป็นบวกเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับปัจจัยจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเป็นสำคัญ ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก นอกจากนี้ ค่าเช่า และสินค้าหมวดทำความสะอาดยังมีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ราคาสินค้าจำพวกผักผลไม้มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากเข้าฤดูฝน ทำให้มีผลผลิตมากขึ้น ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ทรงตัวเทียบเท่าเดือนก่อนหน้า
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 59 มียอดคงค้าง 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า(ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสินเชื่อภาคธุรกิจที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 59 มียอดคงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือกลับมาหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) จากเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงเร่งตัวขึ้น
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มิ.ย. 59 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากภาคเอกชนรอความชัดเจนในการก่อสร้างจริงของโครงการลงทุนภาครัฐในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 16 เดือน จากคำสั่งซื้อค้างรับ สินค้าคงคลัง และผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกับดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 56.5 จุด อยู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน จากคำสั่งซื้อใหม่ในประเทศและส่งออก และกิจกรรมทางธุรกิจทีเพิ่มขึ้นมาก ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากรถยนต์นั่งที่หดตัว ดุลการค้า เดือน พ.ค. 59 ขาดดุล 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดในรอบ 7 เดือน โดยมูลค่าส่งออกหดตัวร้อยละ -6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนโดยเฉพาะสินค้าทุนและอาหารเครื่องดื่มเช่นเดียวกับมูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -1.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากสินค้าหมวดเดียวกัน
ดัชนีค้าปลีก เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 103.4 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน สอดคล้องกับดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน พ.ค. 59 ซึ่งอยู่ที่ระดับ101.2 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของในช่วง 5 เดือนแรกของปี 59 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ลดลงร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าพลังงานที่ลดลงถึงร้อยละ -10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ Caixin เดือน มิ.ย. 59 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.7 จุด จาก 51.2 จุดในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 11 เดือน สะท้อนภาคบริการของจีนที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 59 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.6 จุด จากระดับ 49.8 จุดในเดือน พ.ค. 59 อย่างไรก็ตาม ดัชนีเฉลี่ยของไตรมาส 2 ปี 59 อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด ซึ่งยังคงสูงกว่าของไตรมาส 1 ปี 59 ที่ระดับ 49.0 จุด นอกจากนี้ ทุนสำรองระหว่างประเทศเดือน มิ.ย. 59 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 334.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จากระดับ 340.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในเดือน พ.ค. 59 โดยในส่วนของสินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศลดลงร้อยละ -3.1 จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 จากผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ลดลงเป็นเดือนที่ 3 จากกิจกรรมทางธุรกิจและการจ้างงานที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ทั้งภาคบริการและอุตสาหกรรมที่ยังเกินระดับ 50 จุด บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุปทานอินเดีย
ในวันที่ 5 ก.ค. 59 ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี หลังจากที่ลดอัตราดอกเบียเมื่อเดือนก่อน มูลค่าส่งออกและนำเข้า เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.4 และ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 709 ล้านดอลาร์ออสเตรเลีย ส่วนยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากยอดขายสินค้าเกือบทุกชนิดหดตัว
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการก่อสร้าง เดือน มิ.ย. 59 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.0 จุด ซึ่งต่ำกว่า 50 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 56 ผลจากกิจกรรมการก่อสร้างหดตัวเล็กน้อย เช่นเดียวกับดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน มิ.ย. 59 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.3 จุด จากยอดคำสั้งซื้อที่ลดลงหลังประกาศผลประชามติ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าเกือบทุกหมวดขยายตัวเร่งขึ้น ยกเว้นหมวดพลังงาน
PMI เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 45.4 จุด ลดลงจาก 47.2 ในเดือนก่อน จากทั้งผลผลิตใหม่และคำสั่งซื้อใหม่ปรับลดลงในอัตราสูง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่ชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 14 เดือน จากราคาสินค้าทุกหมวดที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ณ 7 ก.ค. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ 1,456.72 จุด โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ถึง 55,451 ล้านบาท แรงซื้อหลักมาจากนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบันในประเทศ เนื่องจากความกังวลต่อผลกระทบจากผลประชามติของสหราชอาณาจักรที่จะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หมดลง และท่าทีของธนาคารกลางหลายประเทศที่พร้อมดำเนินนโยบายลดผลกระทบจาก Brexit รวมถึงมีปัจจัยสนับสนุนจากภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 ก.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 5,199.3 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง 1-8 bps จากการประมูลพันธบัตรรุ่น Benchmark อายุ 30 ปี มีนักลงทุนสนใจ 1.87 เท่าของวงเงินประมูล และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Minutes) ได้ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 1 ครั้ง ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดที่มีความเสี่ยงมากขึ้นเพื่อรับผลตอบแทนที่สูงกว่าในช่วงนี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 ก.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 4,953.4 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
ค่าเงินบาททรงตัวจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 7 ก.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 35.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.01 จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่เงินสกุลภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าลง ยกเว้นเยนและริงกิตมาเลเซียที่แข็งค่าขึ้นมาก ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบพบเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค พบว่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.09 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th