รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 11 - 15 กรกฎาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 21, 2016 13:41 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.0
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวที่ร้อยละ -3.5
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,977.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.4 ของ GDP
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน พ.ค. 59 คิดเป็น 1.72 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
  • GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ของจีน ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ของสิงคโปร์ ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 59 เพิ่มขึ้น 287,000 ตำแหน่ง
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยุโรโซน เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Indicator next week

Indicators           Forecast  Previous
June: API (%YOY)       8.5       0.3
  • ตามปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลายลง กอปรกับเป็นช่วงเวลาที่ยางพาราเริ่มกรีดได้มากขึ้นหลังจากผลัดใบก่อนหน้านี้ นอกจากนี้สภาวะอากาศที่ไม่ร้อน และไม่มีสถานการณ์โรคระบาดทำให้คาดว่าผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงจะขยายตัวได้เช่นกัน
Economic Indicators: This Week

การจ้างงานเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ 38.1 ล้านคน ลดลง 6.5 หมื่นคน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลดลงในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปลูกข้าวเจ้า อ้อย และพริก ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมลดลง โดยเฉพาะในสาขาการผลิต และสาขาการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ในภาคบริการมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งและขายปลีก และสาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.9 แสนคน

          ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ    ในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวที่ร้อยละ -3.5 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวที่ร้อยละ -1.1 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 59 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวร้อยละ -1.6 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังคงรอดูความชัดเจนของการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ และผู้ประกอบการคาดหวังว่า ตลาดปูนจะกลับมาขยายตัวได้ดีในช่วง    ครึ่งปีหลังของปี 59 เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ น่าจะสามารถเริ่มลงทุนได้จริงในไตรมาสที่ 3 และ 4

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,977.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.4 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าหนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 72.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) (ร้อยละ 96.7 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (ร้อยละ 94.2 ของยอดหนี้สาธารณะ)

Economic Indicators: This Week

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน พ.ค. 59 คิดเป็น 1.72 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

Economic Indicator: Next Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 59 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลายลง กอปรกับเป็นช่วงเวลาที่ยางพาราเริ่มกรีดได้มากขึ้นหลังจากผลัดใบก่อนหน้านี้ นอกจากนี้สภาวะอากาศที่ไม่ร้อน และไม่มีสถานการณ์โรคระบาดทำให้คาดว่าผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงจะขยายตัวได้เช่นกัน

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ตลาดแรงงานมีสัญญาณทรงตัว สะท้อนจากการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ค. 59 เพิ่มขึ้น 287,000 ตำแหน่ง ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากภาคค้าปลีกค้าส่ง การศึกษาและสุขภาพ นันทนาการ และบริการทางธุรกิจและวิชาการ อย่างไรก็ตาม จากอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานรวมที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 62.7 ของวัยแรงงาน ส่งผลให้อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง ขณะที่รายได้ภาคเอกชนเฉลี่ยอยู่ที่ 874.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ ลดลงจากเดือนก่อน จากรายได้ทุกส่วนภาคส่วนที่ลดลง ยกเว้น ก่อสร้างและขนส่งที่เพิ่มขึ้น

China: improving economic trend

GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับ ไตรมาสก่อนหน้า และอยู่ภายในกรอบเป้าหมายของทางการจีน ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก -4.7 ในเดือนก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -9.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นเดือนที่ 20 ทำให้ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 59 เกินดุล 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และการลงทุนในสินทรัพย์คงทน เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวชะลอลงที่ ร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Eurozone: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการขยายตัวในภาคการผลิตสินค้าขั้นกลางและสินค้าอุปโภคบริโภค

Japan: mixed signal

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ -3.2 ในเดือนก่อนหน้า จากการผลิตสินค้าหมวดอุปกรณ์การขนส่ง ปิโตรเลียมและถ่านหิน และพลาสติกที่เพิ่มขึ้น

Taiwan: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นเดือนที่ 17 มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก -3.4 ในเดือนก่อนหน้าด้านอัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม เป็นเดือนที่ 2

India: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดใน 20 เดือน จากปัจจัยฐานต่ำ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตหมวดเหมืองแร่ สินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคที่เร่งตัว ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายรถจักรยานยนต์ที่เร่งขึ้น

Australia: mixed signal

ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน มิ.ย. 59 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวปีก่อน จากยอดขายรถ SUV และรถอื่นๆ ที่ลดลง ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนอัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 5.8 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยอัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ ร้อยละ 64.8 ต่อวัยแรงงานรวม

United Kingdom: mixed signal

เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 59 ธนาคารกลางอังกฤษมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ร้อยละ 0.5 และคงวงเงินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่ 375 พันล้านปอนด์

Indonesia: improving economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 113.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจปัจจุบันที่ปรับดีขึ้น

Malaysia: worsening economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อน จากการผลิตในหมวดเหมืองแร่ที่ลดลง เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 59 ธนาคารกลางมาเลเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งแรกในรอบ 2 ปี อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากร้อยละ 3.25 ต่อปี

Philippines: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 14 เดือน จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน และฮ่องกง ที่ยังหดตัว

Singapore: improving economic trend

GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 59 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากการขยายตัวในภาคบริการ การผลิต และการก่อสร้างที่ร้อยละ 1.7 0.8 และ 2.7 ตามลำดับ

South Korea: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นเดือนที่ 18 มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นเดือนที่ 21 ทำให้ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 59 เกินดุล 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจาก 3.7 ในเดือนก่อน

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ณ 14 ก.ค. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ 1,488.69 จุด โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์สูงถึง 70,060 ล้านบาท ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี แรงซื้อหลักมาจากนักลงทุนต่างชาติ จากความคาดหมายการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศเพื่อลดผลกระทบจาก Brexit โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ เมื่อวานนี้ และปัจจัยภายในประเทศที่ ครม. เห็นชอบการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 14 ก.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิสูงถึง 12,951.4 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน โดยการประมูลพันธบัตรรุ่น Benchmark อายุ 5 ปี มีนักลงทุนสนใจ 2.47 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 14 ก.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 4,953.4 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)

ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 14 ก.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 35.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.15 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค ยกเว้นเยนที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.41 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ