Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมิ.ย. 59 ได้จำนวน 236.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -8.1
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 74.2 พันล้านบาท
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมิ.ย. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 264.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5
- การส่งออกในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวที่ร้อยละ -0.1 ขณะที่การนำเข้ากลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -10.1
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน มิ.ย. 59 มีมูลค่า 63.3 พันล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริง ร้อยละ 6.5
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 108.9 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.0 ขณะที่ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.8
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย. 59ขยายตัวร้อยละ 7.2
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.2
- GDP ไต้หวัน ไตรมาส 2 ปี 59 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัว ร้อยละ 0.7
- GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.2
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 97.3 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Jul : Inflation (%YOY) 0.3 0.4
- ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยเช่นเดียวกัน จากราคาอาหารสดบางประเภท ในส่วนของสินค้าประเภทอื่นๆ คาดว่าราคาจะค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
การส่งออกในเดือน มิ.ย. 59 มีมูลค่า 18,146.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.4 จากหมวดสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าเชื้อเพลิงที่ยังคง หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -11.9 และ -39.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การหดตัวของการส่งออกในเดือน มิ.ย. 59 เป็นการหดตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมสามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งที่ร้อยละ 3.1 ตามการขยายตัวในระดับสูงของสินค้ายานยนต์ที่ร้อยละ 31.9 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 2.1 กอปรกับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ยังคงขยายตัวได้ดีเช่นกันที่ร้อยละ 8.7 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออก หดตัวที่ร้อยละ -0.4 ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -4.1 และมูลค่าการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -1.6
การนำเข้าในเดือน มิ.ย. 59 มีมูลค่า 16,180.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวในระดับสูงของหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ร้อยละ -36.4 รวมถึงหมวดสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบที่หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -14.3 และ -0.7 ตามลำดับ ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคและยานยนต์ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 และ 12.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคานำเข้าสินค้าหดตัวที่ร้อยละ -4.3 และปริมาณการนำเข้าสินค้าหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -6.1 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาสที่ 2 ปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -8.4 และมูลค่าการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -10.2 ซึ่งจากการที่มูลค่าการส่งออกสินค้าสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน มิ.ย. 59 เกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 85.3 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 86.4 โดยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลเกี่ยวกับ ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทยรวมทั้งเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัญหาการแข่งขันด้านราคา ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความผันผวนของค่าเงิน และความกังวลเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ระดับ 85.6
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มิ.ย. 59 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -15.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าหดตัวร้อยละ -6.6 ทำให้ ในไตรมาส 2 ของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศหดตัวร้อยละ -5.9 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อไตรมาสหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมิ.ย. 59 ได้จำนวน 236.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -8.1 แต่สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.4 ของกรอบ เนื่องจากมีการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลงวดที่ 3 เป็นสำคัญ ขณะที่ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ขยายตัวได้ร้อยละ 6.0 และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 9 เดือนแรกปีงปม. 59 จัดเก็บได้ 1,793.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 78.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของกรอบ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน มิ.ย. 59 มีมูลค่า 63.3 พันล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งในด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ (ร้อยละ 8.8) และการนำเข้า (ร้อยละ 2.9) ทั้งนี้ ไตรมาสที่ 2 ของปี 59 รัฐบาลจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และทำให้ครึ่งปีแรกของปี 59 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 1.9
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -11.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 32.6 ทำให้ในไตรมาส 2 ของปี 59 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 11.5 หรือขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อไตรมาส หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 74.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -31.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 42.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลัง 9 เดือนแรกของปีงปม. 59 ดุลเงินงบประมาณขาดดุล -441.5 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -124.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -565.9 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 375.2 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุล -190.7 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ 235.4 พันล้านบาท
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 108.9 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการขยายตัวมาจากการผลิตในหมวดเครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์เป็นสำคัญ และหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าหดตัวที่ร้อยละ -1.1 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 แสดงให้เห็นถึงการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาขยายตัวอีกครั้งในไตรมาสที่ 2
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมิ.ย. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 264.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 250.8 พันล้านบาท เพิมขึ้นร้อยละ 34.4 ซึ่งแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 211.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.9 และ (2) รายจ่ายลงทุน 39.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 25.1 พันล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 7.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันในช่วง 9 เดือนแรกปี งปม. 59 สามารถเบิกจ่ายได้ 2,050.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 73.9 ของวงเงินงบประมาณ (2,776.0 ล้านล้านบาท)
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 59 มีจำนวน 25,460 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ร้อยละ 8.3 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลออก สะท้อนภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว สอดคล้องกับเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆ อาทิ ราคาสินค้าเกษตร ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวได้เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ไตรมาสที่ร้อยละ 4.9 และเมื่อหักผลทางฤดูกาลพบว่าขยายตัวได้ร้อยละ 19.2 ต่อไตรมาส
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 59 มีจำนวน 40,589 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ทำให้ในไตรมาส 2 ของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 13.6 สำหรับปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ในเดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 5.9 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -7.3 เมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว และในไตรมาส 2 ของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายกระบะ 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 18.4
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากที่ขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.1 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวจากผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญเป็นหลัก (ร้อยละ -5.4) โดยเฉพาะผลผลิตข้าวเปลือก (ร้อยละ -24.5) และปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ -15.4) ตามปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยชนิดอื่นแทน ขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.9 และ 2.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ -1.2 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.7 สะท้อนปัญหาภัยแล้งที่เริ่มคลี่คลายลง
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวชะลอลงในเกือบทุกหมวดตามอุปสงค์เพื่อการส่งออกที่ชะลอลง โดยเฉพาะอุปสงค์จากจีนต่อยางพารา ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ขณะที่ราคาข้าวเปลือกขยายตัวได้ดี จากสต๊อกข้าวของโลกที่ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ราคาหมวดปศุสัตว์ขยายตัวได้ดี จากราคากุ้งขาวแวนนาไม ที่มีต้นทุนสูงขึ้นจากการบริหารจัดการคุณภาพน้ำที่ทำได้ยากขึ้นจากปริมาณฝน ทั้งนี้ไตรมาส 2 ดัชนีราคาผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวเป็นบวกได้ในรอบ 9 ไตรมาสที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออกแล้วพบว่าขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อไตรมาส
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.43 ล้านคน ขยายตัว ร้อยละ 7.2 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวร้อยละ -1.3 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานจากการเหลื่อมเดือนถือศีลอด ทำให้ไตรมาสที่ 2 ปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 7.55 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.2 ส่งผลให้ครึ่งปีแรกในปี 59 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยแล้วทั้งสิ้น 16.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 12.0 สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 8.4 แสนล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 19.1 โดยนักท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวได้ดีมาจาก จีน CLMV เกาหลีใต้ และรัสเซีย เป็นหลัก
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ค. 59 คาดว่าจะอยู่ที่ ร้อยละ 0.3 ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยเช่นเดียวกัน จากราคาอาหารสดบางประเภท ในส่วนของสินค้าประเภทอื่นๆ คาดว่าราคาจะค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 97.3 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากความกังวลต่อบรรยากาศทางธุรกิจอีก 6 เดือนข้างหน้า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเครื่องมือด้านการขนส่งที่กลับมาหดตัว เครื่องชี้ภาคอสังหาฯ เดือน มิ.ย. 59 มีรสัญญาณดี ได้แก่ ยอดสร้างบ้านใหม่ ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากบ้านเดี่ยวและทาวโฮมส์ที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากบ้านเดี่ยวและทาวโฮมส์เช่นกัน ขณะที่ยอดขายบ้านมือสองอยู่ที่583,000 หลัง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากบ้านทุกประเภท ขณะที่ราคากลางบ้านมือสองอยู่ที่ 247,700 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากบ้านทุกประเภท และยอดขายบ้านใหม่อยู่ที่ 592,000 หลังต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 3.5 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดขายภาคตะวันตกที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 59 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ -7.9 จุด ต่ำสุดในรอบ 18 เดือนโดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ก.ค. 59 ลดลงมาอยู่ที่ 51.9 จุด ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน และดัชนีฯ ภาคบริการ (เบื้องต้น) ลดลงมาอยู่ที่ 52.7 จุด ต่ำสุดในรอบ 18 เดือน ส่งผลให้ดัชนีฯ รวม (เบื้องต้น) ลดลงมาอยู่ที่ 52.9 จุด ต่ำสุดในรอบ 18 เดือน
ราคาบ้าน เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.8
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 59 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ 49.0 จุด เพิ่มขึ้นจาก 48.1 จุดในเดือนก่อนหน้า มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากตลาดอาเซียน จีน และยุโรปที่หดตัวส่วนมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -18.8 จากสินค้าทุกหมวดที่หดตัว ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 6.9 แสนล้านเยน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ติดลบต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 59 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าทุกหมวดที่หดตัวยกเว้นหมวดยาและเครื่องสุขอนามัยในห้องน้ำ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ที่ 59 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.0 หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากราคาสินค้าเกือบทุกหมวดที่ลดลง
มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน จากการส่งออกสินค้าเกษตรและสินแร่ที่ขยายตัวได้ดี มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -7.3 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ ดุลการค้าขาดดุล 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลง แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและสินค้าวัฒนธรรมและนันทนาการยังขยายตัวดี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยราคาภาคขนส่งลดลงมาก
GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก ร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
GDP ไตรมาส 2 ปี 59 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัวร้อยละ -0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน มูลค่าส่งออก เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นเดือนที่ 14 ส่วนมูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -0.9 หดตัวเป็นเดือนที่ 17
มูลค่าส่งออก เดือน พ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังเวียดนาม มาเลเซีย และสหราชอาณาจักรที่หดตัวในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 39.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าส่งออก เดือน มิ.ย. 59 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเดียวกันที่หดตัวร้อยละ -0.3 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ออกมาก่อนหน้าเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาค่าเช่า ขนส่ง สุขภาพ และสื่อสารที่เพิ่มขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ก.ค. 59 ลดลงอยู่ที่ระดับ 47.4 จุด ต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปีนอกจากนี้ ดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 49.1 จุด ต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 2 เดือนที่ 1,524.58 จุด ณ 28 ก.ค. 59 โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์สูงถึง 58,529 ล้านบาท แรงซื้อหลักมาจากนักลงทุนต่างชาติ จากความคาดหมายการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่มีการประชุมในวันที่ 28-29 ก.ค. 59 นี้ สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25 - 29 ก.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิสูงถึง 11,197.1 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุน้อยกว่า 15 ปีทรงตัว และปรับเพิ่มขึ้น 5-7 bps ในช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป จากแรงขายพันธบัตรระยะยาวของนักลงทุนต่างชาติ โดยระหว่างวันที่ 25-28 ก.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 3,225.9 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.) แม้ว่าการประมูลพันธบัตรรุ่น Benchmark อายุ 15 ปีจะมีนักลงทุนสนใจ 2.48 เท่าของวงเงินประมูลก็ตาม
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 28 ก.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 34.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.39 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค ยกเว้นริงกิตมาเลเซียที่ทรงตัว ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉพาะเยน ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.14 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th