Executive Summary
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 59 ขยายตัว ร้อยละ 2.3
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 16.2
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 59 หดตัวที่ร้อยละ -4.0
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ค. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 0.6
- GDP มาเลเซีย ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 4.0
- GDP ฮ่องกง ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.7
- ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 59 ขยายตัว ร้อยละ 0.7
- ยอดค้าปลีกของจีน เดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.2
- การส่งออกและการนำเข้ายูโรโซน เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.2 และ -5.0 ตามลำดับ
- มูลค่าส่งออกอินโดนีเซีย เดือน ก.ค. 59 หดตัว ร้อยละ -17.0
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Jul : MPI (%YOY) -0.6 0.8
- ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลิตยานยนต์ที่หดตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการรถยนต์จากต่างประเทศลดลง
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.4 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยเป็นการขยายตัวทั้ง 3 หมวดผลผลิตหลัก ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ (ร้อยละ 0.7) หมวดปศุสัตว์ (ร้อยละ 5.8) และหมวดประมง (ร้อยละ 2.7) อย่างไรก็ตาม ยังมีผลผลิตหลายกลุ่มที่มีผลผลิตหดตัวในเดือนนี้ อาทิ ข้าวเปลือก ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ไม่มีการเพาะปลูกข้าวนาปรัง และบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน รวมทั้งกลุ่มไม้ผล และผลผลิตข้าวโพดที่หมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว สำหรับผลผลิตสำคัญอื่นๆ ผลผลิตขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปียังคงหดตัวร้อยละ -3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 59 ขยายตัว ร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งหากหักผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดผลผลิตหลัก ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ (ร้อยละ 21.1) หมวดปศุสัตว์ (ร้อยละ 0.5) และหมวดประมง (ร้อยละ 0.5) ตามอุปสงค์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีสินค้าเกษตรบางอย่างที่ราคาหดตัวลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก อาทิ มันสำปะหลัง ที่ราคาหดตัวร้อยละ -35.3 ทั้งนี้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 59 หดตัวที่ร้อยละ -4.0 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวที่ร้อยละ -2.5 ตามภาคการก่อสร้างที่ยังชะลอตัว ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ค. 59 มีจำนวน 2.95 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 ต่อปี และขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลที่ ร้อยละ 6.2 ต่อเดือน โดยเป็นนักท่องเที่ยว ที่ขยายตัวได้ดีจาก จีน กลุ่มประเทศ CLMV อินเดีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 22.9 16.4 10.5 และ 15.2 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่งผลให้ 7 เดือนแรกปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 19.54 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 11.9 ต่อปี
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ค. 59 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลิตยานยนต์ที่หดตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการรถยนต์จากต่างประเทศลดลง
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 5 เดือน หรือหดตัวร้อยละ -0.04 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดขายรถยนต์และอาหารที่ชะลอตัวและสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัว ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมส์ ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่เดือน ก.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อน(ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมส์ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จากราคาอาหาร เสื้อผ้า และค่าขนส่งที่ลดลง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 11 เดือน จากสินค้าวัตถุดิบประเภทสินค้าคงทนและพลังงาน
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 7 เดือนแรกปี 59 ขยายตัวร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 16 ปี ราคาบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 7.3 ในเดือนก่อนและขยายตัวเร่งขึ้นเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน
GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วไม่ขยายตัวจากไตรมาสก่อน โดยการบริโภคภาครัฐขยายตัวดี การใช้จ่ายภาคเอกชนกลับมาขยายตัวเล็กน้อย ขณะที่ภาคส่งออกยังคงหดตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม และเครื่องจักรไฟฟ้าที่หดตัว มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 59 หดตัวร้อยละ -14.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปเกือบทุกตลาดที่หดตัว ยกเว้นออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ส่วนมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -24.7 จากราคาน้ำมันที่ทรงตัวระดับต่ำและการนำเข้าสินค้าภาคการผลิตที่หดตัว ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.1 แสนล้านเยน
GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก โดยการบริโภคภาครัฐและภาคเอกชนยังคงขยายตัวดี
การส่งออกและการนำเข้า เดือน มิ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.2 และ -5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ จากการส่งออกและนำเข้าสินค้าแร่ เชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่นที่หดตัวสูง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 29.2 พันล้านยูโร สำหรับอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 59 หดตัวร้อยละ -17.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวสูง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -11.6 โดยการนำเข้าน้ำมันหดตัวถึงร้อยละ -47.7 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 598.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสแรก โดยการบริโภคภาคเอกชน การบริโภคของภาครัฐ และการลงทุนขยายตัวดี
ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการชะลอตัวลงของยอดขายรถยนต์เป็นสำคัญ มูลค่าส่งออกและนำเข้า เดือน ก.ค. 59 หดตัวร้อยละ -10.3 และ -12.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 5.7 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราว่างงาน เดือน มิ.ย. 59 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยสำหรับยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ผลจากยอดค้าปลีกแบบไม่มีหน้าร้านซึ่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.2 สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 59 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าเดือนก่อน
GDP ไตรมาส 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้และสินค้าคงคลังที่ขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลง
อัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ของกำลังแรงงานรวม ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.8 ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 18 ส.ค. 59 ปิดที่ระดับ 1,547.01 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 66,548 ล้านบาท ทั้งนี้ ดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์มาจากการขายทำกำไรของนักลงทุนสถาบันในประเทศ เนื่องจากดัชนีฯ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในสัปดาห์ก่อนหลังจากการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนหลายบริษัท และกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากรายงานสรุปการประชุม FOMC ที่เปิดเผยเมื่อ 17 ส.ค. 59 ซึ่งชี้ว่า Fed จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อหลักทรัพย์ในตลาดภูมิภาค นอกจากนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้หลักทรัพย์กลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 ส.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 3,430.0 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-5 bps จากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศ แม้ว่าจะมีแรงซื้อปริมาณมากจากนักลงทุนต่างชาติหลังรายงานการประชุม FOMC ดังกล่าว โดยระหว่างวันที่ 15 - 18 ส.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิถึง 11,647.6 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 18 ส.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 34.58 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.62 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลภูมิภาค ยกเว้น วอนเกาหลีที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.18 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th