นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิถุนายน 2559 มีจำนวน 5,924,055.53 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.83 ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,373,288.14 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,021,940.40 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 517,517.92 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 11,309.07 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับ เดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างลดลงสุทธิ 53,297.79 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,373,288.14 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 41,731.87 ล้านบาทโดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 8,418.77 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 1,805 ล้านบาท
โดยเป็นการกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ แบ่งเป็น (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1,031.13 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง (2) การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 773.26 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย
ต่อการเดินรถ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และ (3) กรมทางหลวง จำนวน 0.61 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2)
- การชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย จากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 54,087.45 ล้านบาท แบ่งเป็น
- การชำระหนี้เงินต้นที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (ไทยเข้มแข็ง) จำนวน 9,230.29 ล้านบาท
- การชำระหนี้ต่างประเทศ จำนวน 507.69 ล้านบาท
- การชำระดอกเบี้ย จำนวน 44,349.47 ล้านบาท
- การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 11,523.61 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แบ่งเป็นชำระเงินต้น จำนวน 3,222.33 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 8,301.28 ล้านบาท
- ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 1,594.58 ล้านบาท
- หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,021,940.40 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 6,831.42 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนด จำนวน 4,000 ล้านบาท
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 1,000 ล้านบาท
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 133 ล้านบาท
- การชำระคืนหนี้เงินต้นจากสัญญาเงินกู้ (Term Loan) จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ที่มากกว่าการเบิกจ่าย ทำให้หนี้ลดลง 120.30 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,836 ล้านบาท และ 1,200 ล้านบาท ตามลำดับ
- ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 417.84 ล้านบาท
- หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 517,517.92 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 4,096.12 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 2,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ และการชำระหนี้สกุลเงินยูโรของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จำนวน 1,001.07 ล้านบาท
- หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 11,309.07 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 638.38 ล้านบาท โดยรายการ ที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 650.94 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 จำนวน 5,924,055.53 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 5,577,202 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.14 และหนี้ต่างประเทศ 346,853.53 ล้านบาท (ประมาณ 10,004.27 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.86 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 4,994,348.02 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.31 และหนี้ระยะสั้น 929,707.51 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.69 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505 5518 และ 5520
เอกสารแนบ 1
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 ดังนี้
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559 มีจำนวน 5,924,055.53 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 42.83 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 53,297.79 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หนี้ของรัฐบาล 4,373,288.14 ล้านบาท ลดลง 41,731.87 ล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,021,940.40 ล้านบาท ลดลง 6,831.42 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 517,517.92 ล้านบาท ลดลง 4,096.12 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 11,309.07 ล้านบาท ลดลง 638.38 ล้านบาท
ทั้งนี้ สัดส่วนและรายละเอียดของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 8,509.54 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 961.51 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนและสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง จำนวน 633.07 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือ หลังจากทำการเบิกจ่ายและชำระคืน ในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 1,594.58 ล้านบาท
หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
1.1.2 หนี้ในประเทศ ลดลงสุทธิ 9,471.05 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะ ลดลง 1,581.23 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 8,418.77 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรทั้งจำนวน
- การลดลงของตั๋วเงินคลัง จำนวน 10,000 ล้านบาท
- การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ เพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลัง จำนวน 10,000 ล้านบาท
เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ลดลง 9,230.29 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากมีการชำระต้นเงินโดยใช้เงินงบประมาณทั้งจำนวน
- เงินกู้ให้กู้ต่อเพิ่มขึ้น 1,340.47 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 1,031.13 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 505.47 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 491.17 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 34.49 ล้านบาท
- การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 309.34 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 135.69 ล้านบาท โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 89.22 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น จำนวน 53.2 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางคู่ ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย จำนวน 31.23 ล้านบาท
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 3,222.33 ล้านบาท จากการชำระหนี้โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุน เพื่อการฟื้นฟูฯ แบ่งออกเป็น
- การชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) จำนวน 2,850.93 ล้านบาท
- การชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) จำนวน 371.40 ล้านบาท
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 30,000 ล้านบาท เนื่องจากหนี้ดังกล่าว เป็นหนี้ที่กู้ล่วงหน้ามาเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งได้นำไปชำระคืนหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (ไทยเข้มแข็ง) ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 1,460.61 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินยูโรและสกุลเงินเยนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 620.60 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือหลังจากทำการชำระคืนในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 2,081.21 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,961.72 ล้านบาท เนื่องจาก
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 1,000 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ จำนวน 2,961.72 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 3,014.29 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการชำระคืนต้นเงินกู้ สกุลเงินต่างๆ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,350.92 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือหลังจากทำการชำระคืน ในรูปเงินบาทลดลง 1,663.37 ล้านบาท
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 7,239.46 ล้านบาท เนื่องจาก
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนด จำนวน 4,000 ล้านบาท
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 133 ล้านบาท
- องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนด จำนวน 24.44 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 3,082.02 ล้านบาท
โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 147.80 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 3,229.82 ล้านบาท
3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลง 1,096.12 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนต้นเงินกู้ สกุลเงินยูโรของรัฐวิสาหกิจที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,090.62 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือหลังจากทำการชำระคืน ในรูปเงินบาทลดลง 5.50 ล้านบาท
3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3,000 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 2,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการบริหารจัดการความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ ลดลงสุทธิ 638.38ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากหน่วยงานของรัฐมีการเบิกจ่าย จากแหล่งเงินกู้น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายและชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 150.06 ล้านบาท และ 788.44 ล้านบาท ตามลำดับ โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 650.94 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559 มีจำนวน 5,924,055.53 ล้านบาท ซึ่งสามารถ แบ่งประเภทเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้นได้ ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 346,853.53 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.86และหนี้ในประเทศ 5,577,202 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.14 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,788,806.09 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.72 และหนี้ระยะสั้น 135,249.44 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.28 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,994,348.02 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.31 และหนี้ระยะสั้น 929,707.51 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.69 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512 และ 5520
เอกสารแนบ 2
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนมิถุนายน 2559 วงเงินรวม 204,854.97 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 157,154.97 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ 47,700 ล้านบาท ดังนี้ 1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล วงเงินรวม 157,154.97 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.1 การกู้เงินในประเทศ 9,759.24 ล้านบาท
1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ 464.54 ล้านบาท
1.3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ 81,320 ล้านบาท
1.4 การชำระหนี้ 65,611.19 ล้านบาท
1.1 การกู้เงินในประเทศ กระทรวงการคลังกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 9,759.24 ล้านบาท โดยมรายละเอียด ดังนี้ (โปรดดูตารางที่ 1 ประกอบ)
1.1.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 8,418.77 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล
1.1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,340.47 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
(1) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงินรวม 1,031.13 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 505.47 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน จำนวน 491.17 ล้านบาท และสายสีม่วง จำนวน 34.49 ล้านบาท
(2) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงินรวม 309.34 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 135.69 ล้านบาท โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 89.22 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น จำนวน 53.20 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย จำนวน 31.23 ล้านบาท
1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศ จำนวน 464.53 ล้านบาท แบ่งเป็น การเบิกจ่ายจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 463.92 ล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง 0.61 ล้านบาท
1.3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ จำนวน 81,320 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (ไทยเข้มแข็ง) จำนวน 43,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 24,000 ล้านบาท การทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 16,000 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 3,000 ล้านบาท
(2) การปรับโครงสร้างหนี้ R-bill ที่กู้ล่วงหน้ามาเพื่อชำระคืนพันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (ไทยเข้มแข็ง)จำนวน 20,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้
(3) การปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วเงินคลัง จำนวน 10,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้
(4) การปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 8,320 ล้านบาท โดยการทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น
1.4 การชำระหนี้ กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้ จำนวน 65,611.19 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
1.4.1 การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 54,087.58 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ชำระเงินต้น จำนวน 9,737.98 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณทั้งจำนวน แบ่งเป็น (1) การชำระหนี้ที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (ไทยเข้มแข็ง) จำนวน 9,230.29 ล้านบาท และ (2) การชำระหนี้ต่างประเทศ จำนวน 507.69 ล้านบาท
- ชำระดอกเบี้ยจำนวน 44,349.47 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) ดอกเบี้ยในประเทศ จำนวน 44,233.33 ล้านบาท และ (2) ดอกเบี้ยต่างประเทศ จำนวน 116.14 ล้านบาท
- ชำระค่าธรรมเนียมต่างประเทศ จำนวน 0.13 ล้านบาท
1.4.2 การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 11,523.61 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แบ่งออกเป็น
(1) การชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) จำนวน 6,486.39 ล้านบาท แบ่งออกเป็น เงินต้น จำนวน 2,850.93 ล้านบาท และดอกเบี้ย จำนวน 3,635.46 ล้านบาท
(2) การชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) จำนวน 5,037.22 ล้านบาท แบ่งออกเป็น เงินต้น จำนวน 371.40 ล้านบาท และดอกเบี้ยจำนวน 4,665.82 ล้านบาท
ในเดือนมิถุนายน 2559 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศให้แก่รัฐวิสาหกิจวงเงินรวม 47,700 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) การกู้ใหม่มาชำระหนี้เดิม (Refinance) วงเงิน 13,000 ล้านบาท ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (2) การขยายอายุสัญญาเงินกู้ (Roll Over) วงเงิน 34,700 ล้านบาท ประกอบด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการรถไฟแห่งประเทศไทย Roll Over วงเงิน 22,000 ล้านบาท และ 12,700 ล้านบาท (โปรดดูตารางที่ 2 ประกอบ)
--กระทรวงการคลัง--