เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 ที่มีวงเงินดำเนินการรวมทั้งสิ้น 1,560,746.24 ล้านบาท โดยเป็นการก่อหนี้ใหม่ 614,979.17 ล้านบาท (ร้อยละ 39.40) และการบริหารหนี้เดิม (การปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารความเสี่ยง) 945,767.07 ล้านบาท (ร้อยละ 60.60)
ทั้งนี้ การจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 ดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้ให้ความสำคัญในการดำเนินการบริหารหนี้และความเสี่ยงในเชิงรุก (Proactive Debt Management) โดยพิจารณากรอบการดำเนินการทั้งในระดับนโยบาย (Policy Level) และระดับ Portfolio ดังนี้
- ระดับนโยบาย (Policy Level) : 1) กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP ร้อยละ 45.5 และงบชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายร้อยละ 8.9) 2) สภาพคล่องของระบบการเงิน (ประมาณการสภาพคล่องเฉลี่ยสำหรับรองรับการออกพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ เท่ากับ 1,236,000 ล้านบาท) 3) กรอบการดำเนินงานตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549) และ 4) นโยบายของรัฐบาล (การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล 390,000 ล้านบาท และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ)
- ระดับ Portfolio : พิจารณาทบทวนดัชนีชี้วัดการบริหารหนี้สาธารณะ (Portfolio Benchmark) เดิมที่ใช้เป็นกรอบการบริหารหนี้รัฐบาลตั้งแต่ปี 2549 ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปีงบประมาณ 2560 ได้กำหนดกรอบการบริหาร Portfolio หนี้รัฐบาล ดังนี้ (1) ด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedged External Debt 1%) (2) ด้านดอกเบี้ย (Debt refixing in 1 year 17.8%) และ (3) ด้านสภาพคล่องในการปรับโครงสร้างหนี้ (ATM 9.4 ปี)
แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 มีรายละเอียดดังนี้
1.1 กระทรวงการคลัง วงเงิน 466,287.50 ล้านบาท ประกอบด้วย
1) วงเงินกู้มาใช้โดยตรง 407,854.23 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 390,000 ล้านบาท (2) เงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 48 ล้านบาท (3) โครงการเงินกู้ DPL 2,106.23 ล้านบาท และ (4) โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน : มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 จำนวน 15,700 ล้านบาท
2) วงเงินให้กู้ต่อ (กู้ในประเทศ) 50,613.27 ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อให้ รฟม.กู้ต่อ 22,747.85 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อ 27,865.42 ล้านบาท
3) วงเงินให้กู้ต่อ (กู้ต่างประเทศ) 230 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,820 ล้านบาท เป็นการกู้เงินจาก ADB เพื่อให้ รฟม. กู้ต่อสำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
1.2 รัฐวิสาหกิจ 8 แห่ง (กคช. กปภ. กฟผ. กฟน. กฟภ. ขสมก. ธพส. และ รฟท.) มีแผนกู้เงินในประเทศ วงเงิน 76,889.42 ล้านบาท แบ่งเป็น การกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการ 58,263.16 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่นๆ 18,626.26 ล้านบาท
1.3 รัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ วงเงิน 70,874.14 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) เงินกู้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด (บกท. และ ปตท.) 25,904.14 ล้านบาท และ 2) เงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit Line ของรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง (กฟภ. ทีโอที ไทยสมายล์แอร์เวย์ ธพส. บมจ. การบินไทย บวท. และ บสย.) 44,970 ล้านบาท
1.4 สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) วงเงิน 928.11 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับโครงการพัฒนาจุดผ่านแดนถาวรสตึงบทและถนนเชื่อมโยงไปกับถนนหมายเลข 5 ราชอาณาจักรกัมพูชา
2.1 กระทรวงการคลัง วงเงินรวม 642,847.63 ล้านบาท
1) หนี้ในประเทศ วงเงิน 597,061.25 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ 1) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 268,998.80 ล้านบาท 2) เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) 313,119.04 ล้านบาท และ 3) เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่อ 14,943.41 ล้านบาท
2) หนี้ต่างประเทศ วงเงิน 45,786.38 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) การปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่อในรูปแบบ Euro Commercial Paper (ECP) ที่กระทรวงการคลังให้ บมจ.การบินไทย กู้ต่อวงเงิน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 5,100 ล้านบาท และ 2) การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน วงเงิน 40,686.38 ล้านบาท
2.2 รัฐวิสาหกิจ 10 แห่ง (กคช. กทพ. กปน. กปภ. กฟผ. ขสมก. ธ.ก.ส. ธพส. รฟท. และ รฟม.) วงเงินรวม 228,341.57 ล้านบาท
1) หนี้ในประเทศ วงเงิน 206,470.10 ล้านบาท เป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน
2) หนี้ต่างประเทศ วงเงิน 21,871.47 ล้านบาท เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ 2,240.30 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 627.28 ล้านบาท และการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 75,872.11 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 21,244.19 ล้านบาท
2.3 รัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ วงเงินรวม 74,577.87 ล้านบาท
1) หนี้ในประเทศ วงเงิน 30,444 ล้านบาท เป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน (3,200 ล้านบาท) และการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (27,244 ล้านบาท) ของ บมจ. การบินไทย
2) หนี้ต่างประเทศ วงเงิน 44,133.87 ล้านบาท เป็นการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของ บมจ. การบินไทย และ บมจ. ท่าอากาศยานไทย
จากการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 ดังกล่าว กระทรวงการคลังได้คาดการณ์ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณ จากการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 พบว่า ณ สิ้นปี 2560 – 2564 ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้ ไม่เกินร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 15 ตามลำดับ ดังนี้
สัดส่วน (%) 2560 2561 2562 2563 2564 หนี้สาธารณะคงค้าง/ GDP 45.5% 46.7% 48.1% 49.2% 49.9% ภาระหนี้/งบประมาณ 8.9% 9.3% 9.8% 10.3% 10.8%
ทั้งนี้ แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 ดังกล่าวสอดคล้องตามนโยบายที่สำคัญต่างๆ ของรัฐบาล ทั้งด้านการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และโครงการพัฒนา ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น โดยยังคงให้ความสำคัญในการดำเนินการบริหารหนี้และความเสี่ยงในเชิงรุก (Proactive Debt Management) ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามกฎหมาย และการดูแลให้ระดับหนี้สาธารณะและภาระหนี้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5502, 5517
--กระทรวงการคลัง--