รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 9 กันยายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 9, 2016 10:30 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 9 กันยายน 2559

Summary:

1. ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ส.ค. 59 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

2. GDP ญี่ปุ่นไตรมาส 2 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 0.8

3. มูลค่าการส่งออกจีนเดือน ส.ค. 59 หดตัวในอัตราที่ชะลอลง

1. ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ส.ค. 59 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 61.4 ในเดือน ก.ค. 59 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในปีนี้ เนื่องจากมีสัญญาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น โดย GDP ในไตรมาสที่ 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากการขยายตัวในไตรมาสแรก ปี 59 ที่ร้อยละ 3.2 รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลายและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นด้วย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ส.ค. 59 ปรับตัวดีขึ้นนั้น เป็นหนึ่งในสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจไทยสำหรับช่วงครึ่งหลังของปี 59 นอกจากนี้ เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ปี 59 ยังส่งสัญญาณบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วย โดยในเดือน ก.ค. 59 การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ขยายตัวร้อยละ 17.7 นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 59 อาจมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดที่อาจยังคงส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 59 จะ
2. GDP ญี่ปุ่นไตรมาส 2 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 0.8

-ทางการญี่ปุ่นประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) โดยขยายตัวร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวได้ปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ออกก่อนหน้า โดยในรายละเอียดพบว่า การบริโภคและลงทุนในประเทศขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ภาคการส่งออกสินค้าและบริการหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3

  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นในครึ่งแรกของปี 59 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นระดับการขยายตัวที่ต่อเนื่องถึงแม้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ กอปรกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ออกมาอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงที่เหลือของปี 59 โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดวงเงินกว่า 28.1 ล้านล้านเยน ซึ่งผ่านความเห็นชอบของ ครม. ญี่ปุ่นในช่วงต้นเดือน ส.ค. 59 ที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมมากขึ้น โดยนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 59 - มี.ค. 60 คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงสู่เศรษฐกิจญี่ปุ่นประมาณ 4.6 ล้านล้านเยน (คิดเป็นร้อยละ 0.9 ต่อขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่น) อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงด้านเงินเยนแข็งค่า ยังเป็นอุปสรรคต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกของญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนแรกของปี 59 ที่หดตัวเฉลี่ยร้อยละ -9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงเดียวกันขยายตัวลดระดับลงมาที่ร้อยละ 26.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 59 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.6 (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ค. 59) โดยตัวเลขที่ปรับตัวดีขึ้นและมาตรการกระตุ้น
3. มูลค่าการส่งออกจีนเดือน ส.ค. 59 หดตัวในอัตราที่ชะลอลง
  • กรมศุลกากรจีนเปิดเผยมูลค่าการส่งออกเดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ 1.90 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 1.39 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุล 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกของจีนในเดือน ส.ค. 59 ซึ่งหดตัวร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวในอัตราชะลอลงจากร้อยละ -6.4 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยเป็นผลจากการส่งออกไปตลาดคู่ค้าสำคัญที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้ ได้แก่ ยูโรโซน ฟิลิปปินส์ อินเดีย และญี่ปุ่น ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าซึ่งกลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 21 เดือน โดยเป็นผลจากการนำเข้าจากหลายประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีสัญญาณกลับมาขยายตัวได้ ได้แก่ ยูโรโซน ไต้หวัน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และออสเตรเลีย รวมทั้งมูลค่าการนำเข้าจากฮ่องกงที่ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราสูงเป็นเดือนที่ 11 ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน ส.ค. 59 เกินดุล 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นการเกินดุลมาก

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ