รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 5 - 9 กันยายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 12, 2016 11:28 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 59 มีจำนวน 174,132 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 21.0
  • อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.2
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 2 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัว ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ยูโรโซน ไตรมาสที่ 2 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม
  • มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน ส.ค. 59 หดตัวร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัว ร้อยละ 1.4
  • ดัชนี PMI ภาคบริการของสหราชอาณาจักร เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด ขณะที่ดัชนี PMI ภาคก่อสร้าง เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด
  • มูลค่าการส่งออกของมาเลเซีย เดือน ก.ค. 59 หดตัวร้อยละ -5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัว ร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Indicator next week

Indicators         Forecast   Previous
Aug : TISI (%YOY)     88.2      84.7
  • เนื่องจากประชาชนมีการออกเสียงรับร่างประชามติ ซึ่งส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ปัจจัยดังกล่าวน่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมันของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม
Economic                                                Indicators: This Week

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 59 มีจำนวน 174,132 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 21.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลออก และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยในเดือนล่าสุดขยายตัวทั้งในเขต กทม. (ร้อยละ 23.2) และเขตภูมิภาค (ร้อยละ 20.3) ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลายลง ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปี ถึงปัจจุบัน ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การจ้างงานเดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ 38.5 ล้านคน ลดลง 3.0 หมื่นคน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมทีลดลงร้อยละ -4.4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลดลงในการปลูกข้าวเหนียว การปลูกข้าวจ้าว การปลูกยางพารา และการปลูกลำไย อย่างไรก็ตาม การจ้างงานในภาคบริการมีการขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยเฉพาะสาขาที่พักแรมและร้านอาหาร สาขาการขายส่งขายปลีก และสาขากิจกรรมการให้เช่า ลิสซิ่งสินค้าและบริการ เป็นต้น ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 1.8 โดยเฉพาะในสาขาการก่อสร้าง สาขาการจัดหาน้ำ การบำบัดน้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล และสาขาไฟฟา ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ ทั้งนี้ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.6 แสนคน

Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.2 ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 61.4 ในเดือน ก.ค. เป็นการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน และสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการประกาศตัวเลขการเจริญเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 2 โดย สศช. ที่ขยายตัวในระดับสูง กอปรกับสถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลายลง ราคาสินค้าเกษตร และผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวดี สอดคล้องกับเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจด้านการบริโภคสินค้าคงทน อาทิ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง บ่งชี้สถานการณ์การบริโภคภาคเอกชนที่ฟ้นตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน ที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้จากภาคการส่งออก ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วง 8 เดือนแรก เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 62.1

Economic Indicator: Next Week

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 59 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 88.2 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 84.7 เนื่องจากประชาชนมีการออกเสียงรับร่างประชามติ ซึ่งส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ปัจจัยดังกล่าวน่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมันของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม

Global Economic Indicators: This Week

US: worsening economic trend

การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ส.ค. 59 เพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อน ต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน จากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และเหมืองแร่ที่ลดลง ทั้งนี้ อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม และรายได้ภาคเอกชนเฉลี่ยที่ 878.23 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ ลดลงร้อยละ -0.04 จากเดือนก่อน ดุลการค้า เดือน ก.ค. 59 ขาดดุล 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลสูงสุดในรอบ 10 เดือน ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด ต่ำสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง จากคำสั่งซื้อใหม่ทั้งในและต่างประเทศที่ลดลง

China: mixed signal

มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค. 59 หดตัวร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกไปยุโรปที่กลับมาขยายตัว ขณะที่มูลค่านำเข้ากลับมาขยายตัวร้อยละ 1.4 จากการนำเข้าจากยุโรป ฮ่องกง ไต้หวันที่กลับมาขยายตัว ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

Japan: improving economic trend

GDP ไตรมาส 2 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ออกมาก่อนหน้า

Eurozone: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สำหรับยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนอย่างไรก็ตาม ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด ใกล้เคียงกับเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอลงของดัชนีฯ ในเยอรมนี ส่งผลให้ดัชนี PMI รวม เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 59 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้ง 3 ประเภท และ ยังคงการดำเนินการมาตรการ QE ที่เดือนละ 8 หมื่นล้านยูโรจนถึงเดือนมี.ค. 60 และอาจต่ออายุมาตรการหากมีความจำเป็น

UK: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนการคลายความกังวลเรื่อง Brexit ด้านดัชนี PMI ภาคก่อสร้าง เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากหมวดที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ แต่ยังคงบ่งชี้การหดตัวของภาคก่อสร้าง

Australia: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 4 ปี หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่เร่งตัว ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัว มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 59 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนและญี่ปุนที่หดตัวชะลอลง มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -8.1 เร่งขึ้นจากสินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องจักร ดัชนีผลประกอบการภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 46.9 จุด ต่ำสุดในรอบ 14 เดือน จากดัชนีย่อยทุกหมวดโดยเฉพาะการส่งออก ยอดขาย และการจัดส่งที่ลดลง ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 45.0 จุด ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน จากยอดขายที่ลดลง

Malaysia: worsening economic trend

มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 59 หดตัวร้อยละ -5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากก่อนที่ขยายตัว จากการหดตัวของสินค้าวัตถุดิบ อุตสาหกรรม และสินแร่เชื้อเพลิง ด้านมูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน จากสินค้าในหมวดน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ รวมถึงแร่เชื้อเพลิง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.9 พันล้านริงกิต ลดลงจากเดือนก่อน

Singapore: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม โดย SIPMM เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด สูงขึ้นจากเดือนก่อน สอดคล้องกับดัชนีฯ ที่จัดทำโดยMarkit ที่อยู่ที่ระดับ 52.3 จุด สูงขึ้นจากเดือนก่อน จากยอดการสั่งซื้อและยอดการผลิตที่ดีขึ้น

Indonesia: worsening economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 113.3 จุด ลดลงจากเดือน ก.ค. 59 ที่อยู่ที่ระดับ 114.2 จุด

Philipppines: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากสินค้าหมวดขนส่งและการสื่อสาร ด้านมูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 59 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -13.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Hong Kong: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 59 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.0 จุด จาก 47.2 จุดในเดือนก่อน แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุดเป็นเดือนที่ 18

Taiwan: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวได้เป็นเดือนที่ 2 ด้านมูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -0.8 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมาก และลดลงมาต่ำกว่าระดับ 1,500 จุด โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 8 ก.ย. 59 ปิดที่ระดับ 1,455.38 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 68,147 ล้านบาท ด้วยแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ จากการขายทำกำไร และตลาดยังขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ และตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อภาคบริการสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 8 ก.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,721.61 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-12 bps โดยมีแรงซื้อหลักจากนักลงทุนสถาบันในประเทศเนื่องจากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อภาคบริการสหรัฐฯ ดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงินวันที่ 20-21 ก.ย.59 นี้ และส่งผลให้ตลาดปรับลดคาดการณ์อัตราผลตอบแทนลง โดยระหว่างวันที่ 5 - 8 ก.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 1,557.9 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)

เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 8 ก.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 34.67 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.14 จากสัปดาห์ก่อน สวนทางกับเงินสกุลภูมิภาค ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 1.03 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ