Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.4
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 59 มีจำนวน 173,394 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.4
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 59 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.9
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 63.4
- หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 2 ปี 59 อยู่ที่ 11.24 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81.3 ต่อ GDP
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 59 มียอดคงค้าง 16.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.0
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 59 มียอดคงค้าง 17.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 59 เกินดุล 3,805.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ส.ค. 59 มีจำนวน 2.87 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 11.0
- สหราชอาณาจักรประกาศปรับปรุงตัวเลข GDP ไตรมาส 1 และ 2 ปี 59 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 และ 2.1 ตามลำดับ
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด
- ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม NBS ของจีน เดือน ก.ย. 59 ทรงตัวเป็นเดือนที่ 2 ที่ 50.4 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Sep: Cement sales (%YOY) -0.3 -5.5
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย. 59 คาดว่าจะหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนยังชะลอตัวอยู่
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยโดยเป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกตามราคาน้ำมันดิบโลก ขณะที่ราคาสินค้าอาหารสดมีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะสินค้าจำพวกผักและผลไม้ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ร้อยละ 0.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 59 มีจำนวน 173,394 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.0 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน โดยในเดือนล่าสุดขยายตัวทั้งในเขต กทม. (ร้อยละ 15.4) และเขตภูมิภาค (ร้อยละ 12.8) ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลายลง และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และตั้งแต่ต้นปี ถึงปัจจุบัน ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 59 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากดัชนีราคาในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ไตรมาส 3/59 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง หดตัวร้อยละ -3.0
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 63.4 ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 62.2 ในเดือน ส.ค. เป็นการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน และสูงที่สุดในรอบ 6 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการส่งออกในเดือน ส.ค. ที่ขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรก รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลายลง กอปรกับประชาชนคาดหวังว่ารัฐบาลจะเน้นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัญหาน้ำท่วม ทั้งนี้ ดัชนีฯ เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ระดับ 62.3
หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 2 ปี 59 อยู่ที่ 11.24 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81.3 ต่อ GDP ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 81.5 ในไตรมาสก่อนหน้า (ตัวเลขปรับปรุง) ระดับหนี้ครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 14 จากการชะลอลงของสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรถยนต์ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 แต่หดตัวในอัตราชะลอลง ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้ครัวเรือนกู้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ หนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ร้อยละ 66.9 ต่อ GDP
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 59 มียอดคงค้าง 16.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า(ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอตัว ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทรงตัว ทั้งนี้เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอตัวที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวทรงตัวที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 59 มียอดคงค้าง 17.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.0 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเงินฝากขยายตัวในทุกสถาบันรับฝากเงิน โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และสถาบันรับฝากเงินอื่น ขยายตัวร้อยละ 3.8 10.8 และ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ส.ค. 59 เกินดุล 3,805.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากทั้งดุลการค้าและดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดุลการค้าเกินดุล 2,736.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากมูลค่าส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยเฉพาะจากการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วน จากทั้งปัจจัยการบันทึกเหลื่อมเดือนและการส่งออกยานยนต์ไปยังตลาดยุโรป ด้านดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 1,069.00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวในระดับสูง แม้จะมีสัญญาณชะลอลงจากเดือนก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 59 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 33,187.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ส.ค. 59 มีจำนวน 2.87 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 11.0 แต่หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -4.3 โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจากจีน กลุ่มประเทศ CLMV อินเดีย และรัสเซีย ที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 32.4 19.9 และ 41.8 ตามลำดับ ส่งผลให้ 8 เดือนแรกปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 22.41 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 11.8
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย. 59 คาดว่าจะหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนยังชะลอตัวอยู่
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อใหม่ คำสั่งซื้อค้างรับ และผลผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้น ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 57.1 จุด สูงสุดในรอบ 11 เดือน จากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ทั้งจากในและต่างประเทศ และกิจกรรมทางธุรกิจที่ปรับเพิ่มขึ้น ดุลการค้า เดือน ส.ค. 59 ขาดดุล 7.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดในรอบ 25 เดือน จากมูลค่าส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 20 เดือน จากสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่กลับมาขยายตัว ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.0 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือน จากสินค้าเพื่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมและสินค้าทุนที่กลับมาขยายตัว
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม NBS เดือน ก.ย. 59 ทรงตัวเป็นเดือนที่ 2 ที่ 50.4 จุด ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ NBS เพิ่มขึ้นแตะระดับ 53.7 จุด จาก 53.5 จุดในเดือนก่อน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด ปรับดีขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ เดือน ก.พ. 59 โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 49.5 จุด ในเดือนก่อน ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ย. 59 ลดลงอยู่ที่ระดับ 48.2 จุด ต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 59 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 43.0 จุด เป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนที่อยู่ที่ระดับ 51.7 จุดอย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อน อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 59 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.1 ของกำลังแรงงานรวม
ทางการประกาศปรับปรุงตัวเลข GDP ไตรมาส 1 และ 2 ปี 59 จากร้อยละ 2.0 และ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 และ 2.1 ตามลำดับ ส่งผลให้ GDP ในครึ่งปีแรกขยายตัวลดลงจากร้อยละ 2.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 55.4 จุด สูงสุดในรอบ 11 เดือน สอดคล้องกับดัชนีฯ ภาคก่อสร้าง เดือน ก.ย. 59 ที่อยู่ที่ระดับ 52.3 จุด ที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนอย่างไรก็ตามดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด ลดลงจากระดับ 52.9 จุด ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.3 จุด จาก 49.0 จุด ในเดือนก่อน เป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน แม้ยังอยู่ต่ำกว่า 50.0 จุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารที่ลดลง ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.2 จุด จาก 51.8 จุด ในเดือนก่อน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกและนำเข้า เดือน ก.ย. 59 กลับมาหดตัวร้อยละ -5.9 และ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 59 ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ต่อปี จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลง ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 59 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด จาก 52.6 จุดในเดือนก่อน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากราคาอาหารและสาธารณูปโภคที่เปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ทั้งจากในและต่างประเทศและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด สูงสุดในรอบ 19 เดือน จาก ผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับเพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังคงสะท้อนการหดตัว จากผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ยังคงหดตัว
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด สูงสุดในรอบ 16 เดือน จากการจ้างงาน ผลผลิต และคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับเพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 57.5 จุด เพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 18 เดือน จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ด้านยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ก่อน โดยที่ยอดขายหมวดร้านอาหารและเครื่องนุ่งห่มขยายตัวสูงที่ร้อยละ 6.6 และ 6.4 ตามลำดับ
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 1,500 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 45,004 ล้านบาท โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 6 ต.ค. 59 ปิดที่ระดับ 1,513.86 จุด จากความกังวลต่อปัญหา Deutsche Bank ที่คลี่คลายลง เนื่องจากการเจรจาลดค่าปรับกับสหรัฐฯ มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จ และแรงสนับสนุนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเข้าซื้อหลักทรัพย์ของนักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเก็งกำไร ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 ต.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 1,832.76 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1-12 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อายุ 13 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง จากแรงซื้อของนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันในประเทศ ขณะที่มีแรงขายจากนักลงทุนชาวต่างชาติ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 ต.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 2,183.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 6 ต.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 34.83 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.59 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาคทุกสกุล อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงใกล้เคียงเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ทรงตัว โดยแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.06 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th