Executive Summary
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 59 ขยายตัว ร้อยละ 4.0
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 84.8
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย 59 หดตัวที่ร้อยละ -8.6
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 59 ได้จำนวน 213.0 พันล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ก.ย. 59 ขยายตัว ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,949.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.6 ของ GDP
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 215.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 48.4 พันล้านบาท
- GDP จีน ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 59 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้ง 3 ประเภท และยังคงวงเงินมาตรการ QE ที่เดือนละ 8 หมื่นล้านยูโร จนถึงเดือน มี.ค. 60
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Sep: MPI (%YOY) 2.2 3.1
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. 59 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลิตยานยนต์ที่ขยายตัว รวมทั้งคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กลับมาขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.2 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยเป็นผลจากการกลับมาขยายตัวของหมวดพืชผลสำคัญเป็นสำคัญ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง และข้าวโพดที่ผลผลิตออกมากตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว ขณะที่หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงขยายตัวได้ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.5 จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.5 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.1 จากราคาในหมวดพืชผลสำคัญ อาทิ มันสำปะหลัง และข้าวโพดที่ราคาหดตัวเนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น กอปรกับมันสำปะหลังได้รับผลด้านความชื้นจากปริมาณฝนตกชุก เช่นเดียวกันกับราคาสินค้าในหมวดปศุสัตว์ที่ปรับตัวลดลงตามปริมาณฝนที่ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านการซื้อขายและการขนส่ง ทั้งนี้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวได้ร้อยละ 13.1 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 84.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 83.3 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ตามความกังวลที่ลดลงในด้านสถานการณ์การเมืองในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ยเงินกู้ กอปรกับมีการจัดงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair และงาน Mobile Expo ทำให้มียอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย 59 หดตัวที่ร้อยละ -8.6 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกแล้วพบว่า หดตัวที่ร้อยละ -2.9 ตามภาคการก่อสร้างที่ยังชะลอตัว ทำให้ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวที่ร้อยละ -6.0 หรือ หดตัวร้อยละ -4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 59 ได้จำนวน 213.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -0.7 แต่สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.5 จากการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการ ขณะที่ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วงปีงปม. 59 จัดเก็บได้ 2,393.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 63.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.7
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ก.ย. 59 มีมูลค่า 61,276 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า จากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.5 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยการขยายตัวมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ขณะที่การจัดเก็บจากการนำเข้าทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 1.2 ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.7
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ย. 59 กลับมาหดตัวร้อยละ -0.5 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวที่ร้อยละ -9.6 ทำให้ในไตรมาส 3 ปี 59 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ -5.7 หรือหดตัวร้อยละ -13.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,949.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.6 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 10.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน (คิดเป็นร้อยละ 97.7 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 94.2 ของยอดหนี้สาธารณะ)
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. 59 ปีงปม. 59 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 215.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.0 โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 202.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ซึ่งแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 155.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.9 และ (2) รายจ่ายลงทุน 47.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.3 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 8.0 พันล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 7.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันในปีงปม. 59 สามารถเบิกจ่ายได้ 2,578.9 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 92.9 ของวงเงินงบประมาณ (2,776.0 ล้านล้านบาท)
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 59 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 48.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 87.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 135.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังของปีงปม. 59 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น -395.8 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 21.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -374.9 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 390.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้เกินดุล 15.1 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ 441.3 พันล้านบาท
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. 59 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลิตยานยนต์ที่ขยายตัว รวมทั้งคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 23 เดือน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน และราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดขายอาหารและเครื่องดื่มที่เร่งตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 หดตัวร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากผลผลิตวัตถุดิบ ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 59 หดตัวร้อยละ -9.0 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากทาวน์โฮมส์และคอนโดมิเนียมที่หดตัว ยอดใบอนุญาตก่อสร้าง เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดฯ คอนโดมิเนียมที่กลับมาขยายตัว ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ 484,000 หลัง ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ราคากลางบ้านมือสอง เดือน ก.ย. 59 ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ที่ 234,200 ดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งแรกของปี 59 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง 9 เดือนแรกปี 59 ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ร้อยละ 10.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ ราคาบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการเร่งซื้อก่อนมาตรการเข้มงวดต่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ต.ค. 59
เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 59 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้ง 3 ประเภท และยังคงวงเงินมาตรการ QE ที่เดือนละ 8 หมื่นล้านยูโรจนถึงเดือน มี.ค. 60 ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยราคาสินค้าในหมวดยาสูบ ร้านอาหาร และค่าเช่าเพิ่มขึ้นสูง ด้านการส่งออกเดือน ส.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 1 ปีกว่า จากการส่งออกสินค้าในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดสินแร่และเชื้อเพลิงที่หดตัว สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.7 สูงสุดในรอบ 1 ปี ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 18.4 พันล้านยูโร
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าญี่ปุ่น เดือน ก.ย. 59 มีจำนวน 1.92 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ขยายตัวดี
มูลค่าการส่งออกและนำเข้า เดือน ก.ย. 59 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -5.9 และ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ จากที่ขยายตัวได้ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า (ตัวเลขปรับปรุง) เกินดุล 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 59 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 5.1 ในเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัว 2 เดือนต่อเนื่อง แต่มูลค่าการนำเข้ายังคงหดตัวที่ร้อยละ -2.5 จากที่หดตัวร้อยละ -14.1 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 8.3 พันล้านรูปี
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 59 กลับมาหดตัวร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกน้ำมันที่หดตัวต่อเนื่อง มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -2.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 ปี จากการนำเข้าน้ำมัน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ วันที่ 20 ต.ค. 59 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 59 กลับมาหดตัวร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนที่กลับมาหดตัว ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ -6.2 จากหมวดเครื่องมือเครื่องจักรด้านการขนส่งและเชื้อเพลิง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 7.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 59 หดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบครึ่งปี จากยอดขายในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตที่หดตัวต่อเนื่อง
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ยอดค้ายานพาหนะใหม่เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 22 เดือน โดยสินค้าในหมวดยาสูบ การศึกษา และที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มขึ้นสูง สอดคล้องกับยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดค้าปลีกของสินค้าในเกือบทุกหมวดขยายตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้น ใกล้ระดับ 1,500 จุด โดย ณ วันที่ 20 ต.ค. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,492.73 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ที่ 56,954.54 ล้านบาท จากแรงซื้อของนักลงทุนภายในประเทศ นำโดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนรายย่อย และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ตามลำดับ เนื่องจากในสัปดาห์ก่อน ดัชนีฯ ปรับลดลงมาก ประกอบกับเป็นช่วงประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน อีกทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 17 - 20 ต.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 9,272.04 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-19 bps จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 17 - 20 ต.ค. 59 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าสู่พันธบัตรสุทธิ 7,159.42 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 20 ต.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 34.93 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.24 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินเยน ริงกิตมาเลเซีย และวอนเกาหลี ขณะที่เงินยูโร ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนอ่อนค่าลง โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.11 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th