Macro Morning Focus ประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559
1. ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ต.ค. 59 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน
2. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ เดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด
3. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีน (Caixin) เดือน ต.ค. 59 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 63.4 จุด เนื่องจากราคาพืชผลทางเกษตรหลายชนิดทรงตัวอยู่ในระดับต่ำและราคาน้ำมันปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ต.ค. 59 ได้ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าดัชนีฯ ของไตรมาสที่ 2 ปี 59 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 61.1 ซึ่งในไตรมาสดังกล่าวเศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ การด่าเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินของไทยในปัจจุบันยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 59 (ไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 59) งบประมาณรายจ่ายลงทุนที่เบิกจ่ายได้ของภาครัฐขยายตัวถึงร้อยละ 31.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอีกด้วย อาทิ โครงการชะลอการขายข้าว (จ่าน่ายุ้งฉาง)โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 59/60 ที่เป็นการประกันภัยจากภัยธรรมชาติ ภัยศัตรูพืช และโรคระบาด โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 59/60 และโครงการพักช่าระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 59/60 ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยเหลือภาคการเกษตร และช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนต่อไป ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 59 จะขยายตัวร้อยละ 3.3 (คาดการณ์ ณ ต.ค. 59)
Markit และ Nikkei เปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เดือน ต.ค. 59 ว่าอยู่ที่ระดับ 50.5 จุด ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือนที่ระดับ 52.9 จุด
สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 ที่อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด แม้จะอยู่เหนือระดับ 50.0 จุดซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม แต่ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน และอยู่ในระดับต่าสุดในรอบ 5 เดือน สะท้อนว่าภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. 59 ขยายตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากดัชนีย่อยหมวดการจ้างงานปรับตัวลดลง และดัชนีหมวดต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาขายเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 8 เดือน ขณะที่ดัชนีหมวดผลผลิตขยายตัวในอัตราชะลอลงมากจากเดือนก่อน โดยอยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 3 เดือน และดัชนีค่าสั่งซื้อใหม่ยังคงขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของช่วง 10 เดือนแรกในปี 59 อย่างไรก็ตาม ดัชนียอดขายสินค้าส่งออกขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน บ่งชี้การฟื้นตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ต่อไป ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ปี 59 และ 60 จะขยายตัวร้อยละ 1.7 และ 1.8
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีน ที่จัดทำโดย Caixin เดือน ต.ค. 59 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.9 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.4 จุดในเดือนก่อนหน้า และถือเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 56
สศค.วิเคราะห์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีน ที่จัดท่าโดย Caixin อยู่เหนือระดับ 50.0 จุดต่อเนื่องตั้งแต่ Caixin เริ่มจัดท่าดัชนีนี้ในปี 54 สะท้อนภาคบริการที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเริ่มเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ส่าคัญของจีน โดยในปี 58 นับเป็นปีแรกที่ภาคบริการมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของเศรษฐกิจจีน โดยอยู่ที่ร้อยละ 50.2 ตามด้วยภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ 40.9) และภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 8.9) โดยทิศทางการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปตามแผนการพัฒนาและปฏิรูปเศรษฐกิจของทางการจีนที่ต้องการหันมาพึ่งพาภาคบริการมากขึ้นและลดก่าลังการผลิตส่วนเกินในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่ายอดค่าสั่งซื้อใหม่ในภาคบริการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในเดือน ต.ค. 59 จากอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ดีขึ้น สอดคล้องกับการจ้างงานในภาคบริการที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 นอกจากนี้ ในมุมมองของแรงกดดันเงินเฟ้อ พบว่า การแข่งขันที่สูงขึ้นก่อให้เกิดข้อจ่ากัดในการปรับขึ้นราคาของผู้ให้บริการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคจีน ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจจีนปี 59 และ 60 จะขยายตัวร้อยละ 6.7 และ 6.5 ตามล่าดับ (คาดการณ์ ณ ต.ค. 59)
ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance
Tel: 02-273-9020 Ext. 3257