Executive Summary
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 107.77 ขยายตัวร้อยละ 0.6
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. อยู่ที่ร้อยละ 0.3
- ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ก.ย. 59 เกินดุล 2,928.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 59 เท่ากับ 116.1 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.6
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 59 มียอดคงค้าง 16.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.0
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 59 มียอดคงค้าง 17.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.7
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 141,319 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.1
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.0
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ย. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.4
- GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 59 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.5
- GDP สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 3 ปี 59 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.6
- ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) ของจีน เดือน ต.ค 59 noอยู่ที่ระดับ 51.2 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Oct : Cement sales (%YOY) -2.7 -8.6
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ต.ค. 59 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวโครงการก่อสร้างของภาคเอกชน กอปรกับเป็นช่วงหน้าฝนจึงมีปริมาณฝนตกต่อเนื่อง จึงเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม MPI) ในเดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 107.77 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการผลิตขยายตัวได้ดี อาทิ กลุ่มอาหาร เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และฮาร์ดิสก์ไดรฟ์ ขณะที่ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ -0.5 เป็นการหดตัวในกลุ่มอุตสาหกรรม ยางและพลาสติก ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องหนังเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามในช่วง 9 เดือนแรก ดัชนีฯ ยังคงขยายตัวได้ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. อยู่ที่ร้อยละ 0.3 โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.39 อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภัยแล้งที่เริ่มคลี่คลายลง ทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรหลายประเภทปรับตัวลดลง เช่น ราคาในหมวดเนื้อสัตว์ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.81 และ ราคาของไข่และผลิตภัณฑ์นม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.98 ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่นค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ต.ค. อยู่ที่ร้อยละ 0.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ก.ย. 59 เกินดุล 2,928.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยเป็นผลมาจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุล 792.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างประเทศ ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเกินดุล 3,721.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเฉพาะอุปสงค์ต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 59 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 36,116.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 59 เท่ากับ 116.1 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากดัชนีราคาในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ 10 เดือนแรกของปี 59 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ -3.3
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 59 มียอดคงค้าง 16.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า(ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอตัว ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้น ทั้งนี้เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 59 มียอดคงค้าง 17.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และสถาบันรับฝากเงินอื่น ขยายตัวร้อยละ 2.5, 4.7 และ 16.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 141,319 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือนติดต่อกัน โดยในเดือนล่าสุดขยายตัวทั้งในเขต กทม. (ร้อยละ 7.2) และเขตภูมิภาค (ร้อยละ 3.5) ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลายลง และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรก ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.0 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 63.4 โดยประชาชนมีความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมในบางพื้นที่ ที่ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรได้รับความเสียหาย รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ ดัชนีฯ เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ระดับ 62.3
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ย. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.4 ต่อปีและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าหดตัวร้อยละ -4.9 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาส 3/59 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อไตรมาสหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ต.ค. 59 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวโครงการก่อสร้างของภาคเอกชน กอปรกับเป็นช่วงหน้าฝนจึงมีปริมาณฝนตกต่อเนื่อง จึงเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 เบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อน ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จากการบริโภคภาคเอกชนและภาครัฐที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 51.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากผลผลิตและการจ้างงาน
ดัชนี PMI ภาคอุดสาหกรรม (NBS) เดือน ต.ค 59 อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี สอดคล้องกับดัชนีฯ โดย Caixin ที่อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีเช่นกัน ด้านดัชนี PMI ภาคบริการ โดย NBS และ Caixin เดือน ต.ค 59 อยู่ที่ระดับ 54.0 และ 52.4 จุด สูงสุดในรอบ 10 และ 9 เดือนตามลำดับ
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ตัวเลขเบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)ด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 53.5 จุด สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง จากอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นด้านอัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 10.0 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวในระดับเดิมเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ต.ค 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 59 หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากการหดตัวของยอดขายในหมวดสินค้าทั่วไป เสื้อผ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 ปรับปรุง อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด ลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขเบื้องต้น ขณะที่ ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 59 เบื้องต้น อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด อยู่เหนือระดับ 50 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน จากผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวสูง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 59 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี และคงขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อน จากดัชนีฯ ของทุกประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซีย
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 59 หดตัวร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นเดือนที่ 19 ติดต่อกัน ดัชนี PMI ภาคอุดสาหกรรม เดือน ต.ค 59 อยู่ที่ระดับ 48.2 จุด ต่ำกว่า 50.0 จุดเป็นเดือนที่ 20
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 59 หดตัวร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน มูลค่าการส่งออกและนำเข้า เดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -3.2 และ -5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 54.4 และ 54.5 จุด ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากอาหารและสาธารณูปโภค
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวที่ระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 54.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงบ่งชี้การขยายตัวจากยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นขณะที่ดัชนีฯ ภาคก่อสร้างอยู่ที่ระดับ 52.6 จุด สูงสุดในรอบ 7 เดือน จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวดี และดัชนีฯ ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 54.5 จุด สูงสุดในรอบ 9 เดือน จากเงินปอนด์ที่อ่อนค่าทำให้อุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีผลประกอบการภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 59 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าส่งออกในหมวดเนื้อสัตว์ โลหะ และอุปกรณ์ขนส่งหดตัวสูงขณะที่มูลค่านำเข้า หดตัวร้อยละ -7.2 จากสินค้าเกือบทุกหมวดส่งผลให้ดุลการค้า ขาดดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 59 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5
ดัชนี SET ยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบใกล้ระดับ 1,500 จุดต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดย ณ วันที่ 3 พ.ย. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,493.08 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์เบาบางเพียง 49,829.15 ล้านบาท โดยมีแรงขายจาก นักลงทุนต่างชาติ ส่วนหนึ่งจากความกังวลต่อความไม่แน่นอของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 พ.ย. 59 แม้ว่าผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25-0.50 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 3 พ.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 6,838.53 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรอายุมากกว่า 10 ปี จากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศ โดยการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี มีผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลเพียง 0.79 ของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 3 พ.ย. 59 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรสุทธิ 9,623.65 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 3 พ.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 34.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.42 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาค ยกเว้นริงกิตมาเลเซียและวอนเกาหลี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐที่กลับมาอ่อนค่าลงหลังจากที่แข็งค่าขึ้นมากในช่วงสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นใกล้เคียงกับเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ทรงตัว โดยแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.05 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th