รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 20, 2016 11:49 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การส่งออกในเดือน ต.ค. 59 มีมูลค่า 17,783.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวอีกครังที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.4
  • การนำเข้าในเดือน ต.ค. 59 มีมูลค่า 17,534.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 2.26 ล้านคน ขยายตัวที่ ร้อยละ 0.46
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. อยู่ที่ร้อยละ 0.6
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ต.ค. 59 เกินดุล 2,875.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 59 มียอดคงค้าง 16.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 59 มียอดคงค้าง 17.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 23,117 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -4.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 37,517 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -14.0 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 107.49 ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 3 ปี 59 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP อินเดีย ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

การส่งออกในเดือน ต.ค. 59 มีมูลค่า 17,783.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวอีกครังที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 เนื่องจากการหดตัวของทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรมที่กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -5.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.3 ตามการหดตัวในระดับสูงของข้าว และมันสำปะหลัง เป็นสำคัญ ประกอบกับสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาหดตัวอีกครั้งเช่นกันที่ร้อยละ -2.7 ตามการหดตัวของหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -7.5 และสินค้าเชื้อเพลิงที่ยังหดตัวในระดับสูงที่ ร้อยละ -22.1 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 1.4 ส่วนปริมาณการส่งออกสินค้าหดตัวที่ร้อยละ -5.5 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -1.0

การนำเข้าในเดือน ต.ค. 59 มีมูลค่า 17,534.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าวัตถุดิบที่ร้อยละ 17.5 ตามการนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้น ประกอบกับ สินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวในระดับสูงเช่นกันที่ ร้อยละ 10.4 ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งที่ร้อยละ 1.6 ตามการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และเสื้อผ้า เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม สินค้าทุนกลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -3.9 ตามการหดตัวของเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม และเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 และปริมาณการนำเข้าสินค้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 4.5 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -5.9 ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ต.ค. 59 เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 2.26 ล้านคน ขยายตัวที่ ร้อยละ 0.46 แต่หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -12.1 โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาจากรัสเซีย มาเลเซีย และอิสราเอล เป็นหลัก ซึ่งขยายตัวร้อยละ 30.3 7.6 และ 167.0 ตามลำดับ ในขณะที่นักท่องเที่ยวจีนหดตัวร้อยละ -16.2 ส่งผลให้ 10 เดือนแรกปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 27.08 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 11.3

Economic Indicators: This Week

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. อยู่ที่ร้อยละ 0.6 โดยมีสาเหตุหลักจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะราคาอาหารสดและราคาน้ำมัน เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom) พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคหดตัวร้อยละ -0.06 เป็นผลจากการลดลงของราคาน้ำมันขายปลีกเป็นสำคัญ รวมถึงการลดลงของราคาข้าว และราคาเนื้อสัตว์หลายประเภท ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับเดิมที่ร้อยละ 0.7

ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ต.ค. 59 เกินดุล 2,875.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่เกินดุล 2,928.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงมาก โดยเกินดุลเพียง 1,794.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าส่งออกที่ลดลงตามการส่งออกที่หดตัว โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์และสินค้าเกษตรแปรรูป ขณะที่การส่งออกแผงวงจรและเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนกลับมาเกินดุล 1,080. 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงเกินดุล ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 59 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 38,991.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 59 มียอดคงค้าง 16.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า(ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้น โดยเมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ ทั้งสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.1 และร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 59 มียอดคงค้าง 17.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวร้อยละ 3.6 และ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 23,117 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -4.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.6 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -9.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล และเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากประชาชนทำการบริโภครถยนต์นั่งอย่างต่อเนื่องไปแล้วก่อนหน้านี้ จากการที่ค่ายรถยนต์มีการออกรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ออกมา กอปรกับมีการชะลอการบริโภคเพื่อรองานมหกรรมยานยนต์ในช่วงต้นเดือน ธ.ค. 59 ที่จะถึง ทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลงในเดือนนี้

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 59 มีจำนวน 37,517 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -14.0 ต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.9 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 59 ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ2.2 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 5.7 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 59

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 107.49 ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามการหดตัวของการผลิตในหมวดยานยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ที่จำหน่ายภายในประเทศ อาทิ รถปิกอัพ และรถยนต์นั่งขนาดกลาง ตามการหมดฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ และปัจจัยฐานสูง รวมทั้งการผลิตในหมวดเฟอร์นิเจอร์ ตามการปรับมาตรฐานการผลิตที่ดีมากขึ้น ขณะที่การผลิตในหมวดวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสาร หมวดปิโตรเลียม และหมวดเครื่องปรับอากาศ ขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ต.ค. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าหดตัวร้อยละ -5.4 ต่อเดือน ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

GDP ไตรมาส 3 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง( ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เพิ่มขึ้นจากการประกาศครั้งก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 107.1 จุด กลับมาอยู่ในระดับก่อนวิกฤต จากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นมาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากดัชนีย่อยด้านคำสั่งซื้อค้างรับ การจัดส่งวัตถุดิบ และผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก

China: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม Caixin เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ลดลงเล็กน้อยจากระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือนในเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีฯ NBS เพิ่มขึนอยู่ที่ระดับ 51.7 จุด และดัชนี PMI ภาคบริการ NBS อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด

Eurozone: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 9.8 ต่อกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 7 ปีกว่า ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขเบืองต้น) สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 59 ที่อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด สูงสุดในรอบ 34 เดือน จากการขยายตัวของยอดคำสั่งซื้อจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

Japan: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าทั่วไปที่หดตัวในระดับสูงด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 (ตัวเลขปรับปรุง) อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด ใกล้เคียงกับตัวเลขเบื้องต้นที่ประกาศก่อนหน้านี้ และยังเกินระดับ 50 ผลจากการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนการส่งออกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น

South Korea: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อน แต่ยังขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) มูลค่าการส่งออกและนำเข้า เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.7 และ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ สูงสุดในรอบ 2 และ 3 ปี ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 8.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย.59 คงที่ที่ระดับ 48.0 จุด

Taiwan: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย.59 เพิ่มขึนอยู่ที่ระดับ 54.7 จุด สูงสุดในรอบ 27 เดือน

Hong Kong: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20

India: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการบริโภคในประเทศและการส่งออกสุทธิที่ขยายตัวดี

ASEAN: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 49.4 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่ยังต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด เนื่องจากดัชนีของประเทศส่วนใหญ่ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปรับตัวลดลง

Indonesia: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าในหมวดอาหารและเสื้อผ้า

Vietnam: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตหมวดเหมืองแร่ อิเล็กโทรนิกส์ และแก็สที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบปี จากสินค้าหมวดอาหาร ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากจากยอดขายในหมวดสินค้า ที่พักอาศัยและการท่องเที่ยว

Australia: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อน ขณะที่ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ54.2 จุด สูงสุดในรอบ 4 เดือน จากการขยายตัวของยอดสั่งซื้อ ยอดขาย ยอดการผลิตเพื่อการส่งออก และการขนส่งสินค้า

UK: mixed signal

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ -8.0 จุด ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ53.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากเงินปอนด์อ่อนค่าส่งผลให้ภาคการผลิตมีต้นทุนที่สูงขึ้น

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึนเหนือระดับ 1,500 จุด โดย ณ วันที่ 1 ธ.ค. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,512.38 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 54,548 ล้านบาท จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยมีปัจจัยบวกจากหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการประชุม OPEC เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 59 มีมติปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน ทำให้คาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 4,260.28 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุ 5 ปีขึนไปปรับตัวเพิ่มขึน โดยจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลเพียง 0.81 ของวงเงินประมูล นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงจับตาทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นวันที่ 13-14 ธ.ค. 59 นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 59 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากพันธบัตรสุทธิ 278.15 ล้านบาท

เงินบาททรงตัวจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 1 ธ.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 35.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.02 จากสัปดาห์ก่อน โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับยูโร วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาททรงตัวใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีทรงตัว โดยอ่อนค่าลงเพียงร้อยละ 0.03 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ