Executive Summary
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ย. 59 มีจำนวน 153,026 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.6
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 61.2
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 59 เท่ากับ 116.6 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,985.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.9 ของ GDP
- อัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน
- GDP สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 3 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- การส่งออกของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. 59 กลับมาหดตัวร้อยละ -1.6 ขณะที่การนำเข้าหดตัวลดลงมาที่ร้อยละ -1.6
- การส่งออกของจีน เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของญี่ปุ่น เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหราชอาณาจักร เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ย. 59 มีจำนวน 153,026 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน โดยในเดือนล่าสุดขยายตัวทั้งในเขต กทม. (ร้อยละ 12.2) และเขตภูมิภาค (ร้อยละ 4.1) ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลายลง และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรก ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 61.2 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 62.0 โดยประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความกังวลต่อสถานการน้ำท่วมในบางพื้นที่ ทั้งนี้ ดัชนีฯ เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ระดับ 62.2
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 59 เท่ากับ 116.6 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากดัชนีราคาในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ 11 เดือนแรกของปี 59 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ -3.0
หนีสาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน ต.ค. 59 มีจำนวนทังสิน 5,985.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.9 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 3.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน (คิดเป็นร้อยละ 98.1 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 94.3 ของยอดหนี้สาธารณะ)
การจ้างงานเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ 37.7 ล้านคน ลดลง 4.6 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลง 4.4 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนการจ้างงานลดลงเช่นกันที่ 1.0 หมื่นคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.1 ขณะที่การจ้างงานภาคบริการทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้การจ้างงานรวมในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -0.6 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ 57.2 จุด สูงสุดในรอบ 13 เดือน ดุลการค้า เดือน ต.ค. 59 ขาดดุล 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่กลับมาหดตัวร้อยละ -1.6 ขณะที่การนำเข้าหดตัวลดลงมาที่ร้อยละ -1.6 ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน พ.ย. 59 เพิ่มขึ้น 178,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 9 ปี รายได้ภาคเอกชนเฉลี่ยอยู่ที่ 886.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ ลดลงทุกภาคส่วน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด เพิ่มขึ้นจาก 52.4 จุดในเดือนก่อน การส่งออก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 2 ปี ทำให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 59 เกินดุล 44.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 59 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ตัวเลขปรับปรุง ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อน หลังขจัดผลทางฤดูกาล สูงกว่าตัวเลขที่ประกาศไว้ก่อนหน้า โดยมีปัจจัยบวกจากการลงทุน การส่งออก และการบริโภคภาครัฐที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 2.2 และ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากยอดขายในหมวดอาหารและหมวดที่ไม่ใช่อาหาร (ไม่รวมเชื้อเพลิง) ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.3 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด ตัวเลขปรับปรุง สูงสุดในรอบ 11 เดือน ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 53.9 จุด ตัวเลขปรับปรุง สูงสุดในรอบ 13 เดือน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 59 ธนาคารกลางยุโรปมีมติเพิ่มวงเงินมาตรการเป็นเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโรสำหรับในเดือน เม.ย.-ธ.ค. 60 จากเดือนที่มาตรการจะสินสุด ณ เดือน มี.ค. 60
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด เพิ่มขึ้นจาก 50.5 จุดในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวดีขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 59
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด สูงสุดในรอบ 10 เดือน ดัชนีฯ ภาคก่อสร้างอยู่ที่ระดับ 52.8 จุด สูงสุดในรอบ 8 เดือน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การส่งออก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 3.0 ขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.5 จุด แม้จะส่งสัญญาณหดตัวแต่นับเป็นระดับดีที่สุดใน 20 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 59 ลดลงอยู่ที่ระดับ 46.7 จุด จาก 54.5 จุด ในเดือนก่อน เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 17 เดือน ผลจากภาวะเงินตึงตัว
การส่งออก เดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากเชื้อเพลิงธรรมชาติ ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ -6.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการหดตัวของสินค้าเพื่อการบริโภค ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากภาคเหมืองแร่ที่ขยายตัวดีขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย.59 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 58 จากราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ และที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น การส่งออก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 59
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากดัชนีผลผลิต คำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.5 จากไตรมาสก่อน หลังขจัดผลทางฤดูกาล ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีผลประกอบการภาคบริการ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด ด้านการส่งออก เดือน ต.ค. 59 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ -6.7 ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 1.6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึนตลอดทังสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 8 ธ.ค. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,525.41 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 45,282 ล้านบาท จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ สถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยปัจจัยบวกการเข้าซื้อกองทุน LTF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีตามฤดูกาลในช่วงปลายปี และการประกาศผลการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,584.56 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึน โดยเฉพาะอัตราฯ ช่วงอายุ 10-20 ปีที่เพิ่มขึ้น 10-30 bps จากตัวเลขอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ที่ออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นวันที่ 13-14 ธ.ค. 59 นี้ และธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศจะดำเนินนโยบายซื้อพันธบัตรต่อไปเพื่อเพิ่มระดับอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 และ 15 ปีมีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลเพียง 1.01 และ 0.67 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 59 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าพันธบัตรสุทธิ 45.39 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึนจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 8 ธ.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 35.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.24 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวเงินสกุลภูมิภาค ยกเว้นวอนเกาหลีที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีอ่อนค่าลงร้อยละ 0.37 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th