Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7
- ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน พ.ย. 59 เกินดุล 3,194.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 59 มียอดคงค้าง 16.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 59 มียอดคงค้าง 17.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 59 มีจำนวน 140,204 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.5
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 59 เท่ากับ 117.3 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน พ.ย. 59 มีจำนวนทังสิน 5,944.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.4 ของ GDP
- อัตราการว่างงานในเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ 0.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.0 แสนคน
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน พ.ย. 59 คิดเป็น 1.76 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 3 ปี 59 อยู่ที่ 11.34 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81.0 ต่อ GDP
- ดุลการค้าของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. 59 ขาดดุล 45.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. อยู่ที่ร้อยละ 1.1 โดยมีสาเหตุหลักจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะราคาอาหารสดและราคาน้ำมัน เป็นสำคัญ ทำให้ทั้งปี 59 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.2 โดยสินค้าประเภทยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการปรับเพิ่มราคามากสุดเนื่องจากการปรับขึ้นภาษีสรรพาสามิตในช่วงต้นปี ส่วนสินค้าที่มีการปรับเพิ่มราคาในอันดับรองลงมาคือสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของปี 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน พ.ย. 59 เกินดุล 3,194.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 2,875.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้นมากถึง 2,791.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าส่งออกที่กลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศในหลายสินค้าปรับดีขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีปัจจัยชั่วคราวจากการเร่งนำเข้าสินค้าเกษตรของจีน รวมทั้งมีการส่งออกแท่นขุดเจาะน้ำมันไปบราซิล นอกจากนี้ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ยังคงเกินดุล 403.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวแม้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัว ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทั้งสิ้น 42,693.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 59 มียอดคงค้าง 16.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.0 จากเดือนก่อนหน้า(ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลง และเมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ ทั้งสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.5 และร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 59 มียอดคงค้าง 17.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.0 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวร้อยละ 2.9 และร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ชะลอลงจากการขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 59 มีจำนวน 140,204 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือนติดต่อกัน โดยในเดือนล่าสุดขยายตัวในเขตกทม. (ร้อยละ 3.4( แต่หดตัวในเขตภูมิภาค (ร้อยละ -0.8( เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรปรับลดลง ทั้งนี้ ทั้งปี 59 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 62.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 61.2 ในเดือน พ.ย. จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงปลายปี การส่งออกในเดือน พ.ย.เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะยางพารา และบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีอำนาจซื้อมากขึ้นและมีความพร้อมในการจับจ่ายใช้สอยในช่วงปลายปีมากขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีฯ เฉลี่ยทั้งปี 59 อยู่ที่ระดับ 62.2
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 59 เท่ากับ 117.3 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากดัชนีราคาในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 13.4 ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดวัสดุฉาบผิวปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตามต้นทุนที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้ทั้งปี 59 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ -2.7
หนีสาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน พ.ย. 59 มีจำนวนทังสิน 5,944.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.4 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 40.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน (คิดเป็นร้อยละ 97.8 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 94.3 ของยอดหนี้สาธารณะ)
การจ้างงานเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ 37.4 ล้านคน ลดลง 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลง 1.1 ล้านคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนการจ้างงานลดลงเช่นกันที่ 5.3 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -6.2 ขณะที่การจ้างงานภาคบริการมีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นที่ 8.2 หมื่นคน ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ส่งผลให้การจ้างงานรวมทั้งปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -0.9 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ 0.8 ของกำลังแรงงานทังหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.0 แสนคน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 59 คิดเป็น 1.76 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.6 ล้านล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
หนีครัวเรือน ณ ไตรมาส 3 ปี 59 อยู่ที่ 11.34 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81.0 ต่อ GDP ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 81.2 ในไตรมาสก่อนหน้า (ตัวเลขปรับปรุง) โดยระดับหนี้ครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวแบบชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 16 จากการชะลอลงของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและบัตรเครดิต ในขณะที่สินเชื่อรถยนต์ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 แต่หดตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้ครัวเรือนกู้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ หนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ร้อยละ 66.8 ต่อ GDP
Global Economic Indicators: This Week
ตลาดแรงงานเดือน ธ.ค. 59 มีสัญญาณการฟืนตัวต่อเนื่อง จากการจ้างงานนอกภาคเกษตร ที่เพิ่มขึน 1.56 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ผลจากการจ้างงานในหมวดการศึกษาและสาธารณสุข นันทนาการ และอุตสาหกรรมการผลิต ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานปรับเพิ่มขึนเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 62.7 ของประชากรวัยแรงงาน ส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึนเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ของกำลังแรงงานรวม นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยภาคเอกชนเพิ่มขึนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 889.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ ในส่วนของภาคการค้าระหว่างประเทศ ดุลการค้า เดือน พ.ย. 59 ขาดดุล 45.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกที่ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 5.0
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อนหน้า ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 59 เกินดุล 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 9.8 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
การส่งออก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 และการนำเข้า เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 21.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1.3 หมื่นล้านปอนด์ ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 12.1 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานต่ำ มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 13.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 59 เกินดุล 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 กลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัวร้อยละ -1.8 ในเดือนก่อนหน้า จากปัจจัยฐานต่ำ
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายเครื่องนุ่งห่ม สันทนาการ และสินค้าที่ไม่ใช่ยานยนต์
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายอาหาร สินค้าวัฒนธรรมและนันทนาการ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตสินค้าสำคัญทุกหมวด
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนกลับมาหดตัวอีกครั้งหลังจากเดือนก่อนหน้าขยายตัวร้อยละ 7.6 จากการส่งออกสินค้าทุกหมวดชะลอลง มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 19.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากการนำเข้าสินค้าในหมวดอุปกรณ์การขนส่ง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรม ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตในหมวดอาหาร ผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน และเครื่องจักรไฟฟ้า
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ต.ค. 59 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึน โดย ณ วันที่ 12 ม.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,568.84 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 56,783 ล้านบาท จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ภายหลังจากที่ซาอุดิอาระเบียปรับลดปริมาณน้ำมันที่ขายให้เอเชีย อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์เนื่องจากการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 60 (เวลาสหรัฐฯ) มิได้มีรายละเอียดหรือความคืบหน้าของนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 - 12 ม.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,564 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณ 1-4 bps โดยผลการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล 1.76 1.72 1.29 และ 0.95 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 - 12 ม.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าพันธบัตรสุทธิ 3,683 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึนจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 12 ม.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 35.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.11 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวเงินสกุลหลักและภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีแข็งค่าขึนร้อยละ 0.47 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th