รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16 - 20 มกราคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 23, 2017 13:51 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 88.5
  • GDP จีน ไตรมาสที่ 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกของสหภาพยุโรป เดือน พ.ย. 59 ขยายตัว ร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ การนำเข้าเดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกของอินเดีย เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัว ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.5
Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกแล้วพบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาส 4/59 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -2.3 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อไตรมาสหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทำให้ทั้งปี 59 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวทั้งสิ้นร้อยละ -1.6 ต่อปี

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกลับมาขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.1 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยขยายตัวทั้งในหมวดพืชผลสำคัญ (ร้อยละ 8.5) และหมวดประมง (ร้อยละ 9.9) โดยในสินค้าในหมวดพืชผลสำคัญที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ข้าวเปลือก และปาล์มน้ำมัน ขณะที่หมวดปศุสัตว์หดตัว (ร้อยละ -5.3) จากผลผลิตไก่ที่ลดลง ทั้งนี้ ในปี 59 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -1.2 หดตัวชะลอลงจากปี 58 ที่หดตัวร้อยละ -3.9 โดยปรับตัวดีขึ้นทั้ง 3 หมวดสินค้าเกษตร ได้แก่ พืชผลสำคัญ ปศุสัตว์ และประมง

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 59 ขยายตัว ร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญ (ร้อยละ 12.4) และหมวดประมง (ร้อยละ 14.0) โดยในหมวดพืชผลสำคัญ ราคาสินค้าที่มีการขยายตัวได้ดี อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทีราคาปรับขึ้นตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมทั้งราคากุ้งขาวแวนนาไมในหมวดประมงที่ราคาขยายตัวตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในปี 59 ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.0 กลับมาขยายตัวได้เป็นปีแรก หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่ปี 2545

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 88.5 ปรับตัวเพิ่มขึนจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 87.6 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 22 เดือน โดยมีปัจจัยบวกจากกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงสิ้นปี อาทิ งานมหกรรมยานยนต์ และมาตรการลดหย่อนภาษีในช่วงสิ้นปี อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยลบจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ที่ทำให้ผู้ประกอบขาดวัตถุดิบ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา และไม้ยางพารา ทั้งนี้ในปี 59 ดัชนีฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 85.9 สูงกว่าปี 58 เล็กน้อยที่อยู่ที่ระดับ 85.8

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายหมวดยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม และน้ำมันขายปลีก ที่เร่งตัวขึ้น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ผลจากการผลิตหมวดพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าคงทน ที่ขยายตัวเร่งขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 2.5 ปี จากราคาหมวดที่อยู่อาศัย การขนส่ง และค่ารักษาพยาบาลที่เร่งขึ้น

China: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ในช่วง 3 ไตรมาสแรก ทำให้ทั้งปี 59 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามเป้าหมายของทางการจีน ราคาบ้านใหม่ เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวชะลอลงครั้งแรกในรอบ 15 เดือน

Eurozone: improving economic trend

การส่งออก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยที่การส่งออกไปยังคู่ค้าหลักของยูโรโซนขยายตัวเร่งขึ้น การนำเข้า เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และดุลการค้า เดือน พ.ย. 59 เกินดุล 25.9 ล้านยูโร ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.6 เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 60 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบียนโยบายทั้ง 3 ประเภท และยังคงวงเงินมาตรการ QE ต่อไปจนถึงสิ้นปี 60

UK: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยที่ราคาหมวดยาสูบ การศึกษาและที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือน ธ.ค. 59 ที่ร้อยละ 4.6 4.4 และ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ด้านอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

Japan: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวจากที่หดตัวร้อยละ -1.5 ในเดือนก่อนหน้า

India: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 10.4 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 59 ขาดดุล 10.4 พันล้านรูปี

Hong Kong: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 59 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม จากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า

Singapore: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 9.5 จากช่วงดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 โดยการส่งออกสินค้าในหมวดน้ำมัน และการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 29.3 และ 17.9 ตามลำดับขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 โดยการนำเข้าสินค้าในหมวดเครื่องมือ อุปกรณ์การขนส่ง และเชื้อเพลิงธรรมชาติขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 1.1 และ 30.2 ตามลำดับทำให้ดุลการค้าเกินดุล 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Indonesia: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 15.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.4 โดยการส่งออกสินค้าในหมวดเหมืองแร่และเชื้อเพลิงขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 27.5 และการส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -83.6 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้าสินค้าในหมวดน้ำมันและแก๊ส หดตัวร้อยละ -6.0 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 60 ธนาคารกลางอินโดนีเซียคงอัตราดอกเบียนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี

Malaysia: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 60 ธนาคารกลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบียนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี

Australia: worsening economic trend

ยอดค้ายานพาหนะใหม่ เดือน ธ.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลหดตัวร้อยละ -4.0 หดตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับยอดค้ายานพาหนะใหม่อื่นๆ อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 5.8 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน พ.ย. 59 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ต่อกำลังแรงงานรวม

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลง โดย ณ วันที่ 19 ม.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,554.88 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 50,335 ล้านบาท จากแรงขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากดัชนีฯ ปรับขึ้นมามากแล้ว โดยแม้จะมีปัจจัยบวกจากถ้อยแถลงของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรี สหราชอาณาจักรที่เน้นย้ำการออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งช่วยลดความไม่แน่นอนให้แก่ตลาดได้ นอกจากนี้ สุนทรพจน์ของนางเจเนต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะนี้ใกล้เคียงเป้าหมาย และเชื่อมั่นว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดจับตามองพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 20 ม.ค. 60 (เวลาสหรัฐฯ) และประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน (บีอี) ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16 - 19 ม.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 4,268.5 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ค่อนข้างนิ่ง โดยปรับขึนเล็กน้อยประมาณ 0-1 bps โดยผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 ปีวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลมากถึง 2.83 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16 - 19 ม.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าพันธบัตรสุทธิ 19,011 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 19 ม.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 35.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.13 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินเยนและยูโรที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เงินสกุลอื่นในภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีอ่อนค่าลงร้อยละ 0.35 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ